Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 กันยายน 2548
ธนาคารกรุงเทพชี้บัตรเครดิตปีหน้าแข่งดุอัดแคมเปญแจกรถยนต์กระตุ้นยอดบัตร             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
โชค ณ ระนอง
Credit Card




แบงก์กรุงเทพ แจงปรับดอกเบี้ยบัตรเครดิตขึ้น 0.75% เป็นไปตามต้นทุนธุรกิจ ระบุไม่กระทบต่อลูกค้าที่ชำระปกติ เผยอีก 2 สัปดาห์เตรียมออกแคมเปญแจกรถยนต์ฮอนด้า แจ๊ซ กระตุ้นยอดบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตร ตั้งเป้าเพิ่มยอดใช้จ่ายกว่า 10% จากปัจจุบันมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 5.6 พันบาทต่อบัตร แนะธุรกิจบัตรเครดิตปีหน้าแข่งดุ ผู้ประกอบการหากต้องการเพิ่มมาร์เกตแชร์ครองความเป็นหนึ่งต้องยอมรับความเสี่ยงในอนาคตด้วย ส่วนแบงก์กรุงเทพมีนโยบายเพิ่มฐานบัตรอย่างมีคุณภาพ ไม่จำเป็น ต้องก้าวเป็นอันดับหนึ่งของธุรกิจ

นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอีก 0.75% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 16 ตุลาคม 2548 จากเดิมที่ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 17.25% เพิ่มขึ้นเป็น 18% สาเหตุที่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้น เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผล กระทบจากราคาน้ำมัน กระทบต่อ สินค้าและราคาบริการต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ค่าไปรษณีย์ การส่ง mail ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารครั้งนี้ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเลย จนทำให้การหารายได้จากส่วนบัตรเครดิตน้อย มากเมื่อเทียบกับรายได้จากปีที่ผ่านมา

สำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตดังกล่าว ถืออยู่ระดับเพดานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด ซึ่งเชื่อว่าลูกค้าที่มีการชำระเงินอย่างปกติ ไม่มียอดค้างชำระจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ ส่วนลูกค้าในกลุ่มที่มีการผ่อนชำระเงินต้นกับธนาคารนั้น ขณะนี้มีสัดส่วนผ่อนชำระประมาณ 50% ของยอดบัตรเครดิตทั้งหมด คงจะต้องพิจารณา ถึงภาระของเงินที่ต้องชำระกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมองว่าอัตราดอกเบี้ยระดับ 18% ต่อปี ถือว่าเป็นระดับดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยอื่น

หลังจากที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าเริ่มปรับขึ้น ทำให้ต้นทุนแบงก์เพิ่มขึ้น จึงต้องปรับดอกเบี้ย แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับต้นทุนที่เพิ่มสูงได้ ทำให้ความสามารถการหารายได้ของแบงก์ลดลงกว่าช่วงปีที่ผ่านมา

จากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น ธนาคารจึงเพิ่มแผนการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดสมาชิกบัตรเครดิตและกระตุ้นการใช้จ่ายผ่าน บัตรของลูกค้าเดิม ซึ่งภายใน 2 สัปดาห์นี้ธนาคารจะมีการออกแคมเปญใหม่อีกรอบ เพื่อมอบสิทธิพิเศษและกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของธนาคาร ซึ่งได้ตั้งเป้าจากการออกแคมเปญ นี้จะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 10% จากปัจจุบันมี ยอดเฉลี่ยใช้จ่ายผ่านบัตรเดือนละ 5,600 บาทต่อบัตร และตั้งแต่ต้นปียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของธนาคารได้เพิ่มขึ้น 18%

"ธนาคารได้ออกแคมเปญกระตุ้นยอดบัตรเครดิตอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 ผู้ที่สมัครบัตรเครดิตใหม่มีสิทธิในการชิงรางวัลฮอนด้า แจ๊ซ 15 คัน นับเป็นการคืนกำไรให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะทำให้ยอดบัตรเครดิตสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 750,000 บัตร จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 650,000 บัตร"

สำหรับแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตในปี 2549 นั้น คาดว่าจะยังคงมีการแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเกณฑ์ของ ธปท. ในการถือบัตรเครดิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องมีการแย่งชิงลูกค้าเพื่อให้มีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งธนาคารพาณิชย์ใดหรือผู้ประกอบการบัตรเครดิตรายใดหากต้องการที่จะเพิ่มฐานลูกค้า เพื่อเป็นที่หนึ่งของธุรกิจก็จะต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย แต่ธนาคารเองไม่มีนโยบายที่จะแย่งชิงลูกค้าขอขยายฐานบัตรเครดิตเป็นอันดับหนึ่ง โดยต้องการที่จะขยายฐานลูกค้าอย่างมีคุณภาพ และมีศักยภาพในการผ่อนชำระเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระในอนาคต

ปัจจุบันธนาคารมียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากธุรกิจบัตรเครดิตน้อยมาก อยู่ที่ระดับ 1.2-1.3% ของยอด สินเชื่อบัตรเครดิต ซึ่งเป็นผลจากนโยบายของธนาคารที่ต้องการจะขยายฐานบัตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งธนาคารมีการทบทวนกลุ่มลูกค้าบัตร หากมองว่ามีโอกกาสที่จะผิดนัดชำระ ธนาคารจะไม่มีการต่อสัญญาบัตรอีก รวมทั้งมีการเช็กเครดิตบูโรอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ การที่ธนาคารได้รับเป็นชิปการ์ดถือว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับลูกค้าและของธนาคารเองด้วย

สำหรับกรณีที่ ธปท.ได้ให้ ผู้ประกอบการรายงานต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และมีการแจกแจงรายละเอียดทั้งหมดนั้น มองว่าเป็นไปได้ยาก เพราะถือว่าเป็นข้อมูลและความลับทางธุรกิจ ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ อาจจะมีผลกระทบต่อแผนธุรกิจหรือกลยุทธ์ต่างๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us