Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
ออสเตรเลีย             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Education




เมื่อไม่นานนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลียออกมาประกาศยุทธศาสตร์สำคัญว่า ประเทศของเขาจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคนี้

ยุทธศาสตร์นี้ดูจะมิใช่เรื่องใหม่นัก เนื่องจากในความเป็นจริงประชากรในเอเชียจำนวนไม่น้อยได้เข้าสู่ระบบการศึกษาของออสเตรเลียอย่างเด่นชัดและมีจำนวนมากขึ้นในหลายปีมานี้ ที่น่าสนใจของประเด็นใหม่น่าจะอยู่ที่ออสเตรเลียจะรักษาความเป็นผู้นำในเรื่องนี้อย่างไรต่างหาก

ออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ลงทุนกับการศึกษาอย่างมากให้กับประชากรของตนเอง และจากนั้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็เริ่มพัฒนาเข้าสู่ยุคใหม่ ในยุคการศึกษากลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูงมากทีเดียว ที่สำคัญกลายเป็นศูนย์การศึกษาสำคัญแห่งใหม่ของโลก รองจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่ง ออสเตรเลียพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อการส่งออก มีรูปแบบหลากหลายและเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

นี่คือประเด็นการปรับตัวที่น่าสนใจ และมีผลกระทบต่อทั้งภูมิภาค รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ประเทศออสเตรเลียมีระบบการศึกษาที่หลากหลาย หลายระดับ และมีสถาบันจำนวนมากพอที่จะเป็นสินค้าที่มีความหลากหลายของตนเอง ความหลากหลายนี้จึงกลายเป็น ความหลากหลายของนักศึกษาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้เกิดบุคลิกใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ที่ไม่สมดุลกับการพัฒนาทางการศึกษา การลงทุนเรื่องการศึกษากลายเป็นความจำเป็นที่รอไม่ได้ ตลาดใหญ่ย่านนี้จึงเป็นฐานที่สำคัญของออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม พลวัตของการศึกษาระหว่างประเทศก็ยังปรับตัวอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนนโยบาย กฎระเบียบ สถานการณ์ ของแต่ละประเทศ รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน ฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยของความไม่แน่นอนทั้งสิ้น มันเป็น "ความอ่อนไหว" ของอากัปกิริยาเคลื่อนย้ายของนักศึกษาที่แสวงหาการศึกษาในต่างประเทศทั้งสิ้น

ออสเตรเลียเป็นศูนย์กลางใหม่ มีการปรับตัวเร็วกว่าทุกที่ ก็ว่าได้โดยพยายามสร้างระบบการศึกษาที่เป็นเครือข่ายทั้งภูมิภาค มีการส่งออกความร่วมมือไปในย่านประเทศเป้าหมาย รวมทั้งตั้ง Campus ของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในภูมิภาค แม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ และโนว์ฮาวมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่งด้วย

การสร้าง Campus ใหม่ๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

นอกจากจะสร้างความหลากหลายของบริการการศึกษาแล้ว ในความหลากหลายที่สำคัญประการหนึ่งก็คือค่าใช้จ่าย เท่าที่ศึกษาพบว่า Campus ในมาเลเซียมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเรียนที่ออสเตรเลียมากกว่า 2 เท่า เช่นเดียวกับเวียดนาม ส่วนที่สิงคโปร์ประมาณ 1 เท่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นดูจะเป็นไปตามแนวความคิด Global Factory ของญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากค่าเงินเยนที่แข็งค่า ทำให้สินค้าญี่ปุ่นไม่สามารถรักษาตลาดสำคัญในย่านนี้ไว้ได้ ในที่สุดญี่ปุ่นก็ย้ายโรงงานไปที่ประเทศเป้าหมายเสียเลย

การศึกษาจากนี้ไปเป็นเรื่อง Globalization มากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ โครงสร้าง องค์กร และการบริหาร ซึ่งบังเอิญที่ประเทศเรามีความ "อ่อนแอ" มากที่สุดในเรื่องนี้เสียด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us