Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
Katrina : America's Real Face             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

 
Charts & Figures

The Gulf of New Orleans


   
search resources

Environment




ต้นฉบับฉบับนี้เขียนหลังจากที่เฮอริเคน Katrina ถล่มตอนใต้ของอเมริกาไปแล้วได้ 2 สัปดาห์ จากเวลานับสิบวัน นั่งดูข่าว ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ เศร้าใจ ท้อแท้ หมดหวังในระบบการเมือง...อเมริกา... แผ่นดินผืนนี้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย เป็นชาติที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มีอำนาจที่สุดในโลก ล้วนเป็นภาพลวงตา... ความล้มเหลวของมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลังเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติครั้งนี้

นับลงมาตั้งแต่ระดับรัฐบาลกลาง ระดับรัฐ และระดับท้องถิ่น เป็นข้อพิสูจน์ข้อหนึ่งว่า อเมริกา...ไม่ได้ดีไปกว่าประเทศอื่นเลย โดยเฉพาะรัฐบาลชุดนี้ การบริหารงานต่างๆ ส่วนใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้เป็นไปในลักษณะของระบบศูนย์รวมอำนาจ (Cen-tralization) ซึ่งต่างจากความเข้าใจตามที่ร่ำเรียนมาด้านรัฐศาสตร์ที่ว่า กุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่ทำให้รัฐหนึ่งๆ เป็นรัฐที่ดี (Good Governance) ได้นั้นจะต้องมีการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentralization)... แต่จากกรณีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเฮอริเคน Katrina เป็นไปในทางตรงกันข้าม... The Federal Emergency Management Agency หรือ "สำนักงานจัดการฉุกเฉินกลาง" (ฟีม่า) มีรูปแบบการบริหารที่ขึ้นตรงกับอำนาจกลางคือ อยู่ภายใต้ "กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ" (The U.S. Depart-ment of Homeland Security) ก่อให้เกิดความล่าช้า (Red Tape) อันเป็นจุดบอดหนึ่ง ที่ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในระยะเริ่มต้นประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง...ช็อกกันไปตามๆ กันทั่วโลก...

ตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 9/11 ผู้เขียนเกิด ความเบื่อหน่ายกับรายการข่าวโทรทัศน์ที่มุ่งประเด็นส่วนใหญ่ไปที่ War on Terror สงครามในอิรักและการก่อการร้าย ช่อง FOX นี่ไม่ต้องเปิดไปเลย ส่วน CNN America ก็เป็นอีกสถานีหนึ่งที่น่าเบื่อมาก ต่างจาก CNN International โดยสิ้นเชิง (เชื่อหรือไม่ คนใน อเมริกาส่วนใหญ่ไม่ได้ดูข่าวจาก CNN Inter-national เลย) ข่าวที่รายงานภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นทั่วไป ไม่มีการวิเคราะห์อะไร มากมาย ถ้ามีวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็เป็นการ Propaganda ให้แก่รัฐบาล แต่หลังจากเฮอริเคน Katrina ถล่มตอนใต้ในบริเวณเมืองชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก และเมืองที่โดนหนักที่สุดคือ New Orleans มลรัฐ Louisiana การนำเสนอข่าวของ CNN เปลี่ยนไป...

ในช่วง 2-3 วันแรกจนถึงวันนี้ ผู้สื่อข่าวทุกคนพร้อมใจกันตั้งคำถามที่ไม่ไว้หน้ารัฐบาลแล้วว่า ทำไมไม่มีการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่สามารถอพยพออกจากพื้นที่ได้ ฟีม่าทำอะไรอยู่ รัฐบาลทำอะไรกันอยู่ ทำไมการช่วยเหลือล่าช้ามาก ไม่มีอาหาร น้ำ สถานที่รองรับผู้คนเหล่านี้เลย จากภาพสดใน จอทีวี เห็นลูกเล็กเด็กแดง คนเฒ่าคนแก่ อยู่ในสภาพอิดโรย คิดดูถ้าต้องให้นั่งตากแดดร้อนประมาณบ้านเราทั้งวันโดยไม่มีอาหารถึงท้อง น้ำสักหยดก็ไม่มี ใครจะทนได้นาน จะกลับบ้านก็ไม่ได้ เพราะน้ำท่วม ท่วมแบบไม่น่าจะท่วม เพราะกำแพงที่กันน้ำพัง กำแพงกั้นน้ำหรือที่เรียกว่า Levee นี้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวที่แดงขึ้นหลังจากที่เมืองโดนพายุถล่มได้เพียง 1 วันว่า รัฐบาลนี้ตัดเงินสำหรับโครงการสร้างกำแพงกั้นน้ำนี้ ทำให้โครงการไม่สามารถสำเร็จสมบูรณ์อย่างทันการณ์...เป็นความผิดของใคร...

นอกจากนี้วันที่ 4 หลังพายุถล่มผู้เขียนได้อ่านข่าวต่างประเทศในเว็บไซต์ผู้จัดการที่ว่า "นายแจน เอจแลนด์ หัวหน้าฝ่ายกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวว่า พายุเฮอริเคน Katrina นับเป็นหนึ่งในพิบัติภัยธรรมชาติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าเหตุคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเอเชียเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา" อ่านแล้วปลง...เพราะนั่นไม่เป็นความจริงอย่างยิ่ง ผู้เขียนได้สอบ ถามผู้เชี่ยวชาญทางภัยธรรมชาติ ได้คำตอบว่า หากเทียบความรุนแรงแล้ว สึนามิที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงมากกว่า Katrina หลายสิบเท่าในแง่ของ Magnitude ของภัยธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้น การรับมือกับสถานการณ์ที่ตามมา หลังจากนั้นยังมีผู้วิจารณ์ว่า ในกรณีนี้ประเทศไทยยังมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าอเมริกา

ยิ่งกว่านั้น นายแจน เอจแลนด์ ยังกล่าวอีกว่า "แต่ด้วยการเตรียมการรับมือเป็น อย่างดีและการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยก่อนล่วงหน้าของทางการสหรัฐฯ จึงทำให้ความสูญเสียชีวิตผู้คนน้อยกว่าภัยพิบัติสึนามิถล่มเอเชีย ซึ่งตรงนี้ต้องยกความดีให้แก่ความพยายามของทางการสหรัฐฯ ในการเตือนประชาชนถึงภัยที่จวนเจียนจะถึงตัวและความสำเร็จในการอพยพ" ถูกอยู่ที่มีการเตือนภัยล่วงหน้าทำให้คนบางส่วนอพยพไปนอกพื้นที่ได้ แต่ก็เพียงแค่ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีแหล่งที่พักอยู่ที่อื่นอยู่แล้วก็สามารถกลับไปภูมิลำเนาของตนได้

คนที่มีเงิน มีญาติพี่น้อง ที่อยู่ที่อื่นก็ไปขออาศัยอยู่ก่อนได้ แต่สำหรับคนจนหาเช้า กินค่ำ คนแก่ ลูกเล็กเด็กแดง ที่ไม่มีที่จะไป ไม่มีเงิน ไม่มีที่พึ่งพิงอื่น คนเหล่านี้ไปไหนไม่ได้เป็นหมื่นๆ คน และกำลังจะตาย วันที่สี่แล้ว อาหารไม่มีให้กิน น้ำไม่มีให้ดื่ม อนาถ โหดร้ายยิ่งกว่าสึนามิ ในแง่นี้ แง่การวางแผน รับมือหลังสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ New Orleans เมืองที่ Katrina ไม่ได้ถล่มตรงๆ แค่เฉียดๆ เท่านั้น ซึ่งตอนนี้เมืองนี้เหลือแค่ความทรงจำเท่านั้น รัฐบาลยังไม่ทำอะไร (เมื่อวันที่ 4 หลังพายุ) นอกจากออกมา โฆษณาชวนเชื่ออยู่ การช่วยเหลือเป็นไปอย่าง ช้ามาก หากใครได้ดู CNN America ในช่วง แรกๆ จนถึงประมาณวันที่ 10 หลังจากพายุถล่ม อาจจะรับความจริงไม่ได้และชวนให้คิดว่า รัฐบาลนี้กำลังเพิกเฉยต่อประชากรของตนเองอย่างเลือดเย็น เพียงเพราะพวกเขา ผิวดำ และจน...กระแสวิพากษ์รัฐบาลในประเด็นนี้ออกมาค่อนข้างแรง...

รัฐบาลออกมาโต้กลับว่า การทำงานที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพนี้ไม่ใช่เกิดจากการเหยียดสีผิวหรือการแบ่งชนชั้น ไม่ใช่เพราะคนส่วนใหญ่ที่นั่นเป็นคนผิวดำและยากจนมาก แต่เป็นเพราะอะไรยังตอบไม่ได้... ลองพิจารณาคำพูดของอดีตสุภาพสตรีหมาย เลขหนึ่งของสหรัฐฯ ผู้เป็นมารดาของผู้นำคนปัจจุบัน กล่าวถึงผู้ประสบภัยนับพันๆ คน ที่ถูกย้ายไปพำนักชั่วคราวในสนามกีฬา Astro dome ใน Houston มลรัฐ Texas น่าจะสะท้อนอะไรบางอย่างได้บ้าง..."Everyone is so overwhelmed by the hospitality. And so many of the people in the arena here, you know, were underprivileged anyway, so this is working very well for them." แปลตรงๆ คือ "ทุกคนในที่นี้ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นอย่างท่วมท้น และคนส่วน ใหญ่ที่อยู่ในสนามกีฬาแห่งนี้ ก็เป็นพวกด้อยโอกาสยากจนอยู่แล้ว ดังนั้นที่อยู่ชั่วคราวแห่งนี้ก็เหมาะสมกับพวกเขาแล้ว"

...ไม่มีอะไรดีไปกว่าการ "ตบหัวแล้วลูบหลัง"... วันนี้ (16 วันหลังจากพายุถล่ม) ในที่สุดประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาออกมายอมรับผิดชอบต่อการทำงานที่ล้าช้าไร้ประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย... อเมริกาจะเป็นอย่างไร... ประชาชนจะเจ็บแล้วจำ หรือจะลืมกลบกลืนไปกับภาพลวงตาต่อไป...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us