Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
สาวนักช้อปกับหนุ่มนักซื้อ             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Retail




ในเวลาว่างจากการทำงานและการเรียน โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์ กิจกรรมหนึ่งที่ผมมักจะทำเสมอก็คือ การออกไปจับจ่ายซื้อสินค้า หรือชอปปิ้งนั่นเอง

และสถานที่ชอปปิ้งที่ขึ้นชื่อในหมู่นักเรียนต่างชาติในออสเตรเลีย ก็หนีไม่พ้น แหล่งซื้อขายสินค้าประเภทอาหารสดและแห้ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดนัดวันอาทิตย์ หรือไชน่าทาวน์

หรือจะสะดวกสบายขึ้นมาหน่อย ก็เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงห้างสรรพสินค้า และดิสเคาน์สโตร์

ซึ่งผมก็ไปสัมผัสมาทุกอย่าง บางที่ก็สัมผัสโดยตรง โดยลงไปซื้อสินค้ามาเอง แต่ บางที่ก็ได้แต่มองครับ

มีรายงานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดค้าปลีกของประเทศออสเตรเลียที่ค่อนข้างย่ำแย่ โดยสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ที่มีผลต่อการดูดเงินส่วนเกินออกจากกระเป๋าของคนออสเตรเลีย ทำให้คนออสเตรเลียที่แต่เดิมมีเงินเหลือเฟือ และสามารถจับจ่ายใช้สอยได้เป็นจำนวนมาก ต้องหันมารัดเข็มขัดกันจนตึง

ตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย หรือ ABS (Australian Bureau of Statistics) แสดงให้เห็นว่า ยอดค้าปลีกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาไม่กระเตื้องขึ้นเลย โดยยอดซื้อขายยังคงนิ่งอยู่ที่ 17,100 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (หนึ่งเหรียญ ออสเตรเลียประมาณ 31-32 บาทไทย) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ทำนาย ไว้จากที่อัตรายอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา โดยยอดค้าปลีกในรัฐนิวเซาต์เวลส์และวิกตอเรีย ซึ่งมีเมืองหลักอย่างซิดนีย์และเมลเบิร์นตั้งอยู่เป็นสองรัฐหลักที่มียอดตกลง โดยลดลงในเดือนกรกฎาคม 1.1% และ 0.8% ตามลำดับ

ในขณะที่ยอดค้าปลีกในรัฐควีนส์ แลนด์ซึ่งมีเมืองบริสเบน เมืองอันดับสามของ ออสเตรเลียตั้งอยู่กลับเพิ่มขึ้น 2.1% ในเดือน กรกฎาคม

การที่อุปสงค์ของผู้บริโภคต่อสินค้าปลีกลดลงนี้ คาดการณ์ว่าจะมีผลต่อเนื่องไปอีกในช่วง 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งทำให้บริษัทค้าปลีกสินค้าหลายชนิดที่อยู่ในตลาดหุ้นออสเตรเลีย หรือ ASX (Australian Stock Exchange) ต่างปรับตัวเลขคาดการณ์ ผลกำไรก่อนที่จะถึงฤดูรายงานผลประกอบการประจำปี โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง Coles Myer ซึ่งมีซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Coles และร้านจำหน่ายสินค้าหรูๆ ที่ตั้งอยู่ตามห้างสรรพ สินค้าใหญ่ๆ อย่าง Myer ที่รายงานถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลงในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา และไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของพวกเขา

ในขณะที่ Harvey Norman ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงอุปกรณ์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ต่างๆ รายงานถึงผลกำไรที่ลดลง 2.26% หรือคิดเป็น 171.4 ล้านเหรียญ ออสเตรเลีย นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็สามารถทำได้ตามเป้าที่คาดไว้ ยกตัวอย่างเช่น JB Hi-Fi ซึ่งขายสินค้าประเภทเอ็นเตอร์เทนเมนต์ แต่ผู้บริหารบริษัทก็บอกว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ลำบากของพวกเขาเช่นกัน

เพื่อที่จะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและยอดกำไร เหล่าบริษัทค้าปลีกจึงต้องปรับปรุงเรื่องอื่นๆ เพื่อลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการสต็อกสินค้า, การบริหารสินค้าคงคลัง และการจัดสินค้าสำหรับขายให้พอเพียงตลอด เวลา

สำหรับเจ้าของห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็น เจ้าของพื้นที่ให้เช่าค้าปลีก อย่าง Westfield Group ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่อย่าง Westfield ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ออสเตรเลีย ก็ทำนายถึงสภาพการณ์ที่ยากเย็นสำหรับอีก 6 เดือนข้างหน้า หลังจากยอดขายที่น่าผิดหวังในกลุ่มสินค้าปลีก โดยพวกเขาวิเคราะห์ถึงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การใช้จ่ายของนักช้อปลดลง คือ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เมื่อบวกกับสภาพการณ์ที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคจึงขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจ จึงทำให้พอจะสรุปได้ว่า อัตราการเติบโตจะลดลงในครึ่งหลังของปี 2005 นี้

โดยในแต่ละปีชาวออสเตรเลียมีการจับจ่ายซื้อสินค้าปลีก 172,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย โดย 41.3% เป็นการชอปปิ้งที่ศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า ในขณะที่ศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้านี้มีพื้นที่ขายปลีกคิดเป็น 31.4% ของพื้นที่ขายทั้งหมด

นอกจากนี้ ราคาซื้อขายบ้านในออส เตรเลียและการก่อสร้างบ้านเพิ่มก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากวันชื่นคืนสุขเมื่อสองสามปีก่อนหน้านี้ที่ภาวะฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ เป็นไปอย่างเร่าร้อน ส่งผลให้อุปสงค์ต่ออุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านลดลงเช่นกัน ทำให้บริษัทอย่าง Athlete's Foot, King of Knives และ Amazing Paints ซึ่งขายสินค้าเกี่ยวกับบ้านมียอดขายต่ำกว่าเป้ากว่า 10%

ร้านค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอีกกลุ่มหนึ่ง คือ สินค้าประเภทเสื้อผ้า จากอำนาจการซื้อที่ลดลง และการรีรอช่วงลด ราคาที่จัดเป็นประจำสำหรับสินค้าประเภทนี้

สำหรับราคาน้ำมันที่แพงขึ้นนี้ นอก จากทำให้ผู้บริโภคยังคงอึกอักที่จะจับจ่ายใช้สอย ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นยังส่งผลต่อแผน การยกเลิกการตัดลดภาษีของภาครัฐบาลซึ่งวางแผนจะทำในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ผู้อำนวยการของ Access Economics ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจมองว่า การกล่าวโทษแต่ผลกระทบจากราคาน้ำมันดูจะเกินเลยความจริงไป เขา เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป น่าจะมาจากความมั่งคั่งของประชาชนที่ลดลง รวมถึงการสิ้นสุดของราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้าที่ผ่านมามากกว่า

เขายังทำนายว่า ยอดขายปลีกจะตกลงจนถึงจุดต่ำสุดในปีหน้า แต่สถานการณ์การซื้อขายบ้านจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้ ยอดขายตีกลับขึ้นมาเพิ่มขึ้นได้ต่อไป ราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถกู้ยืมเงินได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่ออำนาจซื้อที่เพิ่ม ขึ้นเช่นกัน และนักวิเคราะห์หลายๆ คนก็มอง ถึงจุดต่ำสุดของวงจรธุรกิจของอสังหาริมทรัพย์ กันแล้วว่า กำลังจะผ่านพ้นไปและถ้าเป็นจริง นั่นหมายถึงว่า ยอดขายปลีกจะกลับคืนสู่ภาวะเติบโตอีกครั้งก่อนกลางปีหน้าแน่นอน ตามทฤษฎีของ Access Economics

นั่นคือในมุมมอง Access Economics การฟื้นคืนชีพของภาคค้าปลีกขึ้นกับราคาบ้าน, การก่อสร้างบ้าน และการปรับปรุงบ้านใหม่

อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าทุกธุรกิจค้าปลีก จะย่ำแย่ไปเสียหมด ร้านค้าปลีกบางรายก็สวนกระแส โดยเฉพาะ Noni B ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกแฟชั่นสำหรับผู้หญิง รายงานผลกำไรเพิ่มขึ้น 41.3% ในขณะที่ Reject Shop ซึ่งเป็นดิสเคาน์สโตร์ก็มียอดขายเพิ่ม 12.5% และกำไรเพิ่มขึ้น 26.5% ซึ่งทำได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2 ปีซ้อน แล้ว

อย่างไรก็ดี ตัวเลขล่าสุดของยอดค้าปลีกในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ชาวออสเตรเลียใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าปลีกมากขึ้น หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องมา 4 เดือน โดยดัชนี Cashcard Retail Activity ซึ่งเป็นดัชนีที่วัดการใช้จ่ายซื้อสินค้าปลีกของชาวออสเตรเลียโดยวัดจากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต หรือ EFTPOS พบว่า เพิ่มขึ้น 0.4% คือ ขึ้นไปถึง 17,100 ล้านเฉพาะในส่วนบัตรเดบิตในเดือนสิงหาคม

ซึ่งส่งสัญญาณที่ค่อนข้างดีสำหรับตลาดค้าปลีกออสเตรเลีย

ไม่ว่าจะเป็นสาวนักช้อป หรือหนุ่มนักซื้อ ต่างต้องคำนึงถึงเงินในกระเป๋าทุกครั้ง ที่จะควักออกมาจับจ่ายใช้สอย

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าทั้งสิ้น

ถึงตอนนี้ ผมอาจจะเดินมองสินค้ามากขึ้น แต่ซื้อจริงน้อยลงไปมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us