Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
Baidu & Alibaba.com             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
www resources

โฮมพจ Alibaba.com
โฮมเพจ Baidu.com, Inc.

   
search resources

Web Sites
Alibaba.com
Baidu.com, Inc.




เดือนสิงหาคม สปอตไลต์ในแวดวงไอทีของประเทศจีน หนีไม่พ้นที่จะต้องส่องไปที่บุรุษสองคน และเว็บไซต์สองแห่ง...

บุรุษคนแรกมีนามว่า "หลี่เยี่ยนหง"

ผู้ก่อตั้ง Search Engine อันดับหนึ่งของประเทศจีน นาม 'ไป่ตู้' www.baidu.com

สาเหตุที่สปอตไลต์แห่งวงการไอทีจีนและไอทีโลก ต้องส่องแสงมายังหลี่และเว็บไซต์ของเขา ก็เนื่องมาจากเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา อันเป็นวันประเดิมเข้าตลาดแนสแดค (NASDAQ) ราคาหุ้นของ Baidu. com, Inc. (BIDU) กระโดดขึ้นจากราคา IPO ที่ 27 เหรียญสหรัฐ ขึ้นไปแตะที่ระดับ 151 เหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะลดระดับลงมาปิดตัวที่ 122.54 เหรียญสหรัฐ

แม้หลังจากนั้นราคาของหุ้น BIDU จะลดระดับความร้อนแรงลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ในช่วงต้นเดือนกันยายน แต่สำหรับนักลงทุนในตลาดแนสแดคแล้ว BIDU ถือว่าเป็นหุ้นที่เปิดตัวได้อย่างงดงามที่สุดตัวหนึ่งในรอบหลายปี

ในเวลาต่อมา ข่าวดีสำหรับ Search Engine แห่งนี้ยังคงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายงานที่ได้รับการยืนยันจากศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีนที่ระบุว่า ส่วน แบ่งตลาด Search Engine ในประเทศจีนของ 'ไป่ตู้' นั้นสามารถเอาชนะ 'กูเกิล (Google)' Search Engine อันดับหนึ่งของโลกได้

โดยตัวเลขในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ส่วนแบ่งของ 'ไป่ตู้' นั้นอยู่ที่ร้อยละ 37 ส่วน 'กูเกิล' นั้นตามมาห่างๆ ที่ร้อยละ 23 ขณะที่ยาฮู (Yahoo) ที่จับมือกับเว็บไซต์ท้องถิ่นคือ 3721.com นั้นอยู่ที่ร้อยละ 21 (บางสำนักระบุ ว่า ส่วนแบ่งการตลาดของ Baidu สูงถึงร้อยละ 45 เลยทีเดียว)

ความสำเร็จในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ประกอบเข้ากับการเข้ายึดครองตำแหน่ง Search Engine อันดับหนึ่งในประเทศจีนจากกูเกิล มาสู่มือเว็บไซต์ของคนจีนเองได้ส่ง ให้ไป่ตู้ได้กลายเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตจากจีนที่น่าจับตาที่สุดในเวลานี้ไปในทันที

ชาวไทยหลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่เคยได้ยินชื่อเว็บไซต์แห่งนี้มาก่อนเลย คำตอบก็คือ 'ไป่ตู้' เป็น Search Engine ที่ให้บริการ "ภาษาจีน" โดยเฉพาะโดยบริการที่นำเสนอนั้นครอบคลุมทั้งการค้นหาเว็บไซต์, ค้นหา Text, ค้นหารูปภาพ ข่าวพยากรณ์อากาศ เว็บบอร์ด พจนานุกรม เป็นต้น

ในจำนวนนี้บริการที่ถือเป็นเอกลักษณ์ที่กูเกิล, ยาฮู รวมถึงเว็บไซต์จากตะวันตกทั้งหลาย ยากที่จะเลียบแบบได้ก็คือบริการค้นหา-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ mp3, wma หรือเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือก็ตามที

ผมรู้จัก Baidu.com มาได้สัก 3 ปีแล้ว หลังจากที่เว็บไซต์แห่งนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2542 (ค.ศ.1999) โดยเมื่อลองใช้แล้ว ก็ต้องนับถือในความเก่งกาจของผู้ก่อตั้งคือ หลี่เยี่ยนหง และ ดร.สีว์หย่ง ที่สามารถสร้าง Seach Engine ภาษาจีนให้มีความสามารถเหนือกว่าเว็บไซต์ Search Engine ระดับตำนานอย่างกูเกิลได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้หากมองทางด้านฐานลูกค้า 'ไป่ตู้' ที่แม้จะให้บริการเฉพาะภาษาจีน ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอย่างไรเลย เนื่องจากภายในสิ้นปีนี้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 134 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้บรอดแบนด์ 37 ล้านคน ขณะที่นิตยสาร BusinessWeek ฉบับ 22-29 สิงหาคม 2005 ที่ผ่านมายังคาดการณ์ไว้ด้วยว่า ภายในสองปีนี้ จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ในประเทศจีนจะแซงสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน

สำหรับประวัติของหลี่เยี่ยนหง ผู้ก่อตั้งไป่ตู้นั้น ปัจจุบันมีอายุเพียง 37 ปี (เกิดปี 2511) จบการศึกษาจากคณะบริหารจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในปี 2534 ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก วิทยาเขตบัฟฟาโล

หลังจากจบการศึกษา หลี่ได้อยู่ทำงาน กับบริษัทในสหรัฐฯ โดยมีผลงานกับบริษัทต่างๆ มากมาย และการที่เขาคลุกคลีอยู่กับธุรกิจอินเทอร์เน็ต โดยมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ Search Engine เจ้าแรกๆ อย่าง Infoseek และ Go.com เป็นแรงผลักดันให้เขาก่อตั้ง Search Engine ที่เป็นของคนจีนขึ้นได้เองในที่สุด

บุรุษคนที่สองที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญในแวดวงไอทีจีนมีนามว่า "หม่าหยุน" หรือ "Jack Ma" ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนาม 'Alibaba.com' (อาลีบาบา เป็นชื่อตัวละครจากนิทานอมตะ 'อาหรับราตรี' ตอน'อาลีบาบากับโจรทั้งสี่สิบ' โดยหม่าระบุว่า ที่ใช้ชื่อนี้ก็เพื่อให้ดูแหวกแนวและจำง่าย)

ประวัติชีวิตของหม่าหยุน มิได้สวยหรูและโรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนกับซีอีโอหนุ่มหล่อแห่งไป่ตู้ เพราะก่อนหน้าที่จะกระโดดเข้าสู่วงการธุรกิจอินเทอร์เน็ต หม่ามีปูมหลังเป็นเพียงแค่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม หม่าก็ทดแทนส่วนที่เขาขาดด้วยชีวประวัติ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ที่ดึงดูดความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน ทั้งในประเทศจีนและตะวันตกได้ชะงัด

หม่าเกิดที่เมืองหางโจว เมื่อปี 2507 หลังจากจบจากชั้นมัธยมปลาย หม่ายอมเสียเวลาถึง 2 ปี เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย จนในที่สุดเขาก็สอบเข้าวิทยาลัยครูหางโจวได้สำเร็จ และจบการศึกษาในปี 2531

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือหม่าให้สัมภาษณ์กับสื่อทั้งตะวันตกและในจีนเองว่า เรื่องราวในการเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเขานั้น "น่าทึ่งราวกับหนังฮอลลีวูด!"

ผมเคยชมหม่าหยุนให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Up Close ทาง CCTV-9 ช่องภาษาอังกฤษของ CCTV สมกับที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษมาก่อน หม่าสามารถโต้ตอบกับพิธีกรเป็นภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วราวกับเป็นเจ้าของภาษา แน่นอนว่า เขาย่อมกล่าวถึงชีวิตราวหนังฮอลลีวูดที่เขาเป็นผู้นำแสดงเองด้วย

หม่าเล่าว่า ในปี 2538 เขาเดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อช่วยทวงหนี้จากนักธุรกิจชาวอเมริกันให้กับบริษัทจีนบริษัทหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อไปถึงบ้านพักของนักธุรกิจผู้นั้นที่ชายหาดมาลิบู ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เขากลับถูกขู่ด้วยปืน และถูกขังไว้ในห้องเป็นเวลาถึง 2 วัน ก่อนที่ต่อมา เขาจะใช้ฝีปากเจรจากับนักธุรกิจผู้นั้น จนได้รับการปล่อยตัวออกมา โดยเขาเปิดเผยว่า ในการเจรจาเขาให้คำมั่นกับนักธุรกิจ อเมริกันผู้นั้นว่า จะช่วยเริ่มธุรกิจอินเทอร์เน็ตในจีนให้ ทั้งๆ ที่ตัวหม่าเองในตอนนั้นยังไม่รู้จักธุรกิจอินเทอร์เน็ตเสียด้วยซ้ำ

หลังจากรอดชีวิตมาได้ หม่าก็บินต่อไป หาเพื่อนยังเมืองซีแอตเทิล เพื่อรู้จักกับสิ่งที่เขาเรียกว่า 'อินเทอร์เน็ต'...

เรื่องราวเหลือเชื่อของหม่า ยังคงเป็น "เครื่องหมายคำถาม?" ในหมู่สื่อมวลชนจีนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่พิสูจน์ถึงความไม่ได้เป็นเพียงแค่นักปั้นเรื่องราวของหม่าก็คือ ในปีที่เขาเป็นผู้กระโดดเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตเป็นคนแรกๆ ของประเทศจีน ในปี 2538 จนในเวลาต่อมากระทรวงการค้าต่างประเทศและองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน (MOFTEC) เชิญเขาไปร่วมงาน ก่อนที่ในปี 2542 (ค.ศ.1999) หม่าจะออกมาตั้ง Alibaba.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งของประเทศจีนในปัจจุบัน ที่ให้บริการทั้งด้านอีคอมเมิร์ซแบบ B2B, B2C, C2C

ขณะที่ถัดมาอีกสี่ปี หม่าก็เปิด Taobao. com เว็บไซต์ประมูลขึ้นมาอีก เพื่อประชันกับยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง eBay ที่กำลังรุกคืบเข้ามาในจีน

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สปอตไลต์ได้ฉายมาที่หม่าหยุนอีกครั้ง ด้วยผลจากข่าวคราวอันโด่งดังจากดีลครั้งประวัติศาสตร์ของวงการอินเทอร์เน็ตจีน เมื่อ Yahoo Inc. ตกลงใจเซ็นสัญญาความร่วมมือกับ Alibaba.com ด้วยมูลค่าสัญญา 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นมูลค่าการลงทุนสูงสุดของบริษัทต่างชาติ ที่ลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน

ทั้งนี้ในการลงทุนดังกล่าว แบ่งเป็นการที่ยาฮูเข้ามาถือหุ้นร้อยละ 40 ของ Alibaba.com พร้อมกับยกสิทธิ์ Yahoo China ที่มีมูลค่าราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับหม่าเข้าไปบริหาร

ดีลนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น Sweet Deal แห่งปีนี้เลยก็ว่าได้

เพราะเหล่านักวิเคราะห์ต่างมองว่า หม่านอกจากจะได้เงินสดจากยาฮูมาหล่อเลี้ยง และขยายธุรกิจกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว เขายังได้คู่หูทางธุรกิจที่มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งอีกด้วย (โดยที่หม่ายังไม่ต้องนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ดังเช่นที่บริษัทไอทีจีนนิยมทำกันอยู่ในเวลานี้เสียด้วยซ้ำ โดยคาดการณ์กันล่วงหน้าว่า หาก Alibaba เข้าตลาดหลักทรัพย์ก็น่าจะมีมูลค่าราว 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ)

อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จทางธุรกิจอันโด่งดังของดาวรุ่งอย่าง "หลี่เยี่ยนหงกับ Baidu" และ "หม่าหยุนกับ Alibaba" ยังคงมีข้อแม้ต้องพิสูจน์อีกมาก

อย่างเช่นในแง่ของการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มากกว่าการเป็นผู้ลอกเลียนแบบ หรือในด้านธุรกิจที่มีข้อครหาจากหลายฝ่ายว่า รายได้ของทั้งสองบริษัทที่ผ่านมานั้น ดูไปแล้วยังห่างไกลจากราคาคุยมากนัก เนื่องจากในแต่ละปี บริษัททั้งสองยังมีรายได้ไม่ถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐเสียด้วยซ้ำ โดยปี 2547 Baidu มียอดขายเพียง 14 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน Alibaba นั้นมีรายได้เพียง 46 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

หลายคนหวังว่า 'ดาวรุ่ง' ทั้งสองแห่งวงการอินเทอร์เน็ตจีนในวันนี้ สุดท้ายคงไม่กลายเป็น 'ดาวตก' ดังเช่นอดีตดาวรุ่ง Dot Com รุ่นพี่หลายดวงที่ร่วงลับฟ้าไปก่อนหน้านี้แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us