Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
ตำนานบ้านมะลิวัลย์             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

บ้านมะลิวัลย์




บ้านมะลิวัลย์เต็มไปด้วยร่องรอยของประวัติศาสตร์ มีเหตุการณ์สำคัญอันน่าประทับใจของบ้านเมือง เรื่องแล้วเรื่องเล่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ชายคาของบ้านหลังนี้

จากข้อมูลของหนังสือ "ตำนานบ้านมะลิวัลย์" ที่จัดพิมพ์เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้มีการบันทึกไว้ว่าอาคารหลังนี้ เดิมเป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ต้นราชสกุล กฤดากร พระองค์ท่านเป็นพระเจ้าลูกเธอลำดับที่ 17 หรือพระราชโอรสลำดับที่ 8 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดากลิ่น ประสูติ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2398

พระตำหนักเป็นอาคารแบบยุโรป ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หลังคาโรงปั้นหยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระตำหนักเดิม ข้างเรือนทรงไทยของเจ้าจอมมารดากลิ่น มีท้องพระโรงเป็นห้องโถงสูงใหญ่ มีเฉลียงรายรอบชั้นล่าง และมีระเบียงรายรอบชั้นบน บนเพดานห้องโถง และตามหัวเสาปั้นลายปูนเลียนแบบศิลปะขอมตามพระประสงค์อย่างวิจิตรบรรจง ด้วยกรมพระนเรศรวรฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรนครวัดในเขมรมาก่อน

นายเออโคล มันเฟรดี (เอกฤทธิ์ หมั่นเฟ้นดี) สถาปนิกชาวอิตาเลียน สังกัดกระทรวงโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบติดตั้งแผ่นทองแดงหลังคาโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างถวายจนแล้วเสร็จ ใน พ.ศ.2460

เมื่อตำหนักใหม่แล้วเสร็จ จึงได้ย้ายเข้าประทับอย่างมีความสุข บางวันโปรดเสด็จลงแพ ที่ผูกไว้ริมแม่น้ำหน้าวังเพื่อพักผ่อนอิริยาบถ การตั้งเครื่องเสวยนั้นจะตั้งในห้องเสวยชั้นล่าง และประทับราบกับพื้น ร่วมเสวยกับพระโอรส พระธิดา และเจ้าจอมมารดากลิ่น

บางครั้งบางคราตำหนักหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันงานนักขัตฤกษ์สำคัญต่างๆ

กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนักใหม่นี้ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2468 ก่อนมรณกรรมของเจ้าจอมมารดากลิ่นเพียงเล็กน้อย

หลังจากนั้นที่ดินพร้อมพระตำหนักได้ตกเป็นมรดกแก่บรรดาทายาท โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร พระโอรสองค์ใหญ่เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาได้ทูลเกล้าฯ ถวายขายที่ดินรวมเนื้อที่ 879 ตารางวา และบ้านทั้งหมดแก่พระคลังข้างที่ใน พ.ศ.2469 วังกรมพระนเรศรวรฯ จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมพระคลังข้างที่ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับมอบมาดูแล และจัดประโยชน์นับตั้งแต่ พ.ศ.2480 เป็นต้นมา

ในตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล บ้านมะลิวัลย์ได้ใช้เป็นที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เดือนมกราคม พ.ศ.2479 บ้านมะลิวัลย์ ได้กลายเป็นโรงเรียนสืบราชการลับตามที่กรมเสนาธิการทหารบกได้จัดตั้งขึ้น

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2484-2488) ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการฯ ผู้เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นศูนย์บัญชาการงานใต้ดิน ของฝ่ายสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทยกลางพระนคร

นายทหารจากหน่วยสืบราชการลับของอเมริกา (โอเอสเอส) ที่เข้ามาปฏิบัติงานใต้ดินในบ้านมะลิวัลย์นั้น มีชื่อของ พ.ต.เจมส์ ทอมป์สัน ผู้กลับมาภายหลังสงคราม และมาทำธุรกิจ ผ้าไหมไทย จิม ทอมป์สัน และอเล็กซานเดอร์ แมคโดแนลด์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมอยู่ด้วย ช่วงเวลานั้นเหตุการณ์สำคัญและน่าตื่นเต้นได้เกิดขึ้นในบ้านหลังนี้แทบทุกวัน

ต่อมาชาวบ้านแถวถนนพระอาทิตย์เริ่มรู้ว่าบ้านมะลิวัลย์เป็นที่ปฏิบัติงานใต้ดิน ปรีดี พนมยงค์ จึงย้ายฝ่ายข่าวของโอเอสเอส ไปอยู่วังสวนกุหลาบ และใช้วังสวนกุหลาบเป็นฐานบัญชาการงานใต้ดิน จนกระทั่งญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ยุติสงคราม ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2488

ภัยจากอริราชศัตรูได้หมดสิ้นลงในคราวนั้น แต่ภัยจากการเมืองภายในยังคงมีให้บ้านมะลิวัลย์หลังนี้มองเห็นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การบุกยึดทำเนียบท่าช้าง (เคยเป็นวังของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นที่พำนักของปรีดี พนมยงค์ และเป็นสำนักงานยูนิเซฟในปัจจุบัน) ในเช้าวันรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 เหตุการณ์การสู้รบระหว่างทหารเรือ และทหารบก ทั้งในลำน้ำเจ้าพระยาและท้องถนน ระหว่างเกิดเหตุกบฏแมนฮัตตัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2494

ในปี พ.ศ.2499 กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ได้ขอเช่าบ้านมะลิวัลย์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อใช้เป็นที่ทำการของเอฟเอโอ (FAO) และเดิมทีได้ใช้พระตำหนักเดิมของกรมพระนเรศรวรฤทธิ์เป็นที่ทำการ ต่อมาได้สร้างตึกที่ทำการ 4 ชั้นขึ้นใหม่ทางด้านเหนือ และตึกงานโครงการทางด้านใต้ ส่วนพระตำหนักเดิมได้กลายเป็นอาคารห้องสมุด โดยคงลักษณะเดิมไว้ทุกประการ

อย่างไรก็ตาม บ้านมะลิวัลย์ ก็ยังต้องร่วมรับรู้เหตุการณ์การเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งและปฏิวัติ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ.2500 วันมหาวิปโยคในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 วันสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ.2535

85 ปีที่ล่วงเลยไป หากบ้านมะลิวัลย์เป็นมนุษย์ ก็คงอยู่ในวัยที่อ่อนแรงเต็มที และคงหวังอย่างยิ่งว่า ไม่ต้องการเห็นเรื่องร้ายใดๆ ในบ้านเมืองนี้อีก เพื่อที่จะได้มีความสุขกับความทรงจำอันแสนสงบในช่วงแรกของชีวิต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us