Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
Modern Thai Heritage Branch             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
Architecture




ย้อนอดีตกลับไปเมื่อปี 2474 ภาพคฤหาสน์หลังงามสีเหลืองอมชมพู ประกอบด้วยลวดลายปูนปั้น ดูโดดเด่นเป็นสง่า ท่ามกลางต้นลั่นทมที่สลัดใบมีแต่ดอกขาวสะพรั่งริมถนนเพชรบุรี

ในช่วงเวลานั้นถนนเพชรบุรีเป็นเพียงถนนลาดยางสายเล็กๆ ร่มรื่นด้วยเงาต้นจามจุรีที่ปลูกเรียงราย 2 ฝั่งถนน ขนาบด้วยคูน้ำเล็กๆ ใสสะอาด บ้านหลังนี้เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของมหาอำมาตย์โท พระยามหินทรเดชานุวัฒน์ (ใหญ่ ศยามานนท์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ ออกแบบและก่อสร้างโดยนายสมัย และนายจินเอง บนที่ดินขนาด 1 ไร่ 258 ตารางวา โดยราคาที่ดินทั้งหมดในสมัยนั้นเพียง 20,000 บาท และค่าก่อสร้างอีกประมาณ 30,000 บาท

เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 7 อีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี ตัวอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐฉาบปูน หลังคาปั้นหยา มีมุขยื่นมาทางด้านหน้าจากสองปีกของอาคาร หลังคามุขด้านหนึ่งเป็นจั่วปาดมุม อีกด้านหนึ่งทำราวลูกกรงล้อมหลังคา เป็นแบบที่ต่างจากอาคารแนวคลาสสิกในยุคก่อนหน้านี้

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2514 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ขอซื้อและปรับปรุงเป็นที่ทำการธนาคาร และได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ ไปเมื่อปี 2538 และล่าสุดใช้เงินประมาณ 20 ล้านบาท ปรับปรุงระบบแอร์ ระบบไฟฟ้า ทาสีภายในภายนอก และตกแต่งภายในใหม่หมด โดยบริษัท P49 รวมทั้งตัดต้นหูกวางใหญ่ด้านหน้า เพื่ออวดรูปลักษณ์ใหม่ให้กระจ่างตา

ส่วนภายในก็ตกแต่งให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่ผ่านมา โดยจัดบรรยากาศ ให้ใกล้เคียงกับธนาคารในยุคสมัยดังกล่าว เลือกใช้วัสดุที่เป็นทองเหลือง ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้และผ้าไหม ที่โดดเด่นมากๆ ก็คือเคาน์เตอร์ที่ให้บริการเป็นแบบสมัยโบราณรูปทรงสูง ฐานทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายเป็นรูปใบโพมีระแนง ทองเหลืองกั้นระหว่างพนักงานกับลูกค้า มีช่องเล็กๆ ให้สามารถยื่นรับส่งเงินได้ ส่วนเคาน์เตอร์อื่นๆ ก็เป็น โต๊ะไม้แบบโบราณ

พื้นห้องปูด้วยกระเบื้องเลียนแบบของเดิมที่ปูไว้เมื่อปี 2538 ส่วนด้านนอกอาคารกระเบื้อง ที่ปูเป็นของเก่าดั้งเดิมที่ติดมากับตัวตึก มีบันไดไม้สักขึ้นสู่ชั้นบนซึ่งเป็นห้องรับรองเล็กๆ ที่ตกแต่งแบบไทยอย่างสวยงาม เชื่อมต่อกับพื้นที่อเนกประสงค์ อีก 2 ห้องและมีระเบียงกว้างด้านนอก

เหมืองเพชร วิจิตรานนท์ ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์สาขาถนนเพชรบุรี ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า พื้นที่บริเวณนี้อาจจะเป็นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับงานศิลปะต่างๆ หรือให้ลูกค้าหรือสาขาใช้เป็นพื้นที่จัดงาน หรือการประชุมต่างๆ ได้

ด้านนอกอาคารทาสีเหลืองมุงหลังคาสีแดง ด้านหน้าปูสนามหญ้า มีน้ำพุที่เปลี่ยนสีได้ 5 สี และตั้งเวลาให้เปิดในเวลาย่ำค่ำของทุกวัน ส่วนหนึ่งของสนามได้ตัดแต่งต้นไม้เป็นรูปใบโพ รวมทั้ง การจัดหาต้นไม้ที่มีดอกสีม่วง เช่น ต้นบลูฮาวาย และฟ้าประทาน เป็นต้น

อาคารธนาคารไทยพาณิชย์สาขาถนนเพชรบุรีแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2525 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

หากวันนี้มหาอำมาตย์โท พระยามหินทรเดชานุวัฒน์ ยังคงมีชีวิตอยู่คงต้องภูมิใจอย่างมาก ที่บ้านของท่านมีคนรุ่นหลังให้ความสำคัญในการเก็บรักษาคุณค่าและความเป็นอาคารในรูปแบบศิลปะ และสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อสืบทอดเป็นประวัติศาสตร์ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us