Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
New era of content             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ ทีเอ ออเร้นจ์
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Hispeedworld Homepage
Ebook World Homepage
True World Homepage
UBCI Homepage

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ISP (Internet Service Provider)
Broadband




โลกของคนใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป เมื่อความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยี "บรอดแบนด์" เช่นเดียวกับโฉมหน้าของคอนเทนต์ ที่วันนี้ทำเอาหลายคนแทบจะตั้งตัวและเรียนรู้กันไม่ทันเลยทีเดียว

วิทยุเครื่องเก่าถูกทิ้งไว้บนชั้นวางของมุมห้อง โดยที่เจ้าของไม่ได้สังเกตเลยว่าฝุ่นจับจนเกรอะมากน้อยเพียงใด เสียงเพลงสลับ เสียงพูดจากับผู้ฟังของดีเจชายหญิงที่คุ้นหู แต่กลับถูกคั่นอารมณ์ด้วยโฆษณาที่ยืดยาวหลายนาที กลายเป็นเพียงความทรงจำสำหรับ ใครบางคนไปเสียแล้วในตอนนี้

ยามนี้หลายคนหันไปฟังวิทยุจากสถานี เพลงบนอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น เสียงเพลงที่คอยเปิดวนไปเวียนมานับร้อยนับพันเพลง โดยไม่มีเสียงดีเจ และโฆษณาคอยขัดจังหวะอารมณ์ของผู้ฟัง กลายเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดคนฟังได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง

ยิ่งข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพของเสียงที่ได้จะเทียบไม่ได้กับเพลงที่เปิดจากเครื่องเสียงหรือเครื่องเล่นเพลงโดยตรง เนื่องจากผ่านการย่อขนาดไฟล์ให้เล็กลงจนสามารถนำมาใส่ไว้ในเว็บไซต์ได้ทีละจำนวนมากๆ ถูกพังทลายลงหลังจากที่เมืองไทยเริ่มให้ความสำคัญในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์กันมากขึ้น แนวโน้มของสถานีเพลงแบบนี้ก็ยิ่งมีทีท่าว่าจะเติบโตได้อีกมากในทันที

เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา True เพิ่งจะเปิดเว็บท่า หรือ web portal แห่งใหม่ต่อสายตาสื่อมวลชนนับร้อย ภายใต้ชื่อ www. trueworld.net โดยที่ผู้บริหารระบุว่าเว็บท่าแห่งใหม่นี้โดดเด่นที่สุดในเรื่องการเป็น "สถานีเพลง" (Music Station) บนอินเทอร์ เน็ต

ต้องยอมรับว่าในวันนี้ www.true world.net กลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับการสร้างคอนเทนต์หรือเนื้อหาสำหรับโลกบรอดแบนด์ในประเทศไทย เนื่องจากประชากรเข้าถึงบรอดแบนด์ในบ้านเราจำนวนในระดับไม่ถึงครึ่งล้านจากประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 60 ล้านคน การผลักดันให้การใช้งานบรอดแบนด์เติบโต จึงต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กับคอนเทนต์ที่มีคุณภาพด้วยเช่นเดียวกัน

แม้ Trueworld จะรองรับการใช้งาน สำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ้านหรืออินเทอร์เน็ตโมเด็มปกติได้ แต่เนื้อหาคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะใช้ได้ดีสำหรับคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

True ต้องยอมควักกระเป๋ากว่า 200 ล้านบาทไปกับการสร้างระบบไอทีหลังบ้านใหม่เพื่อรองรับการสร้างคอนเทนต์ให้กับเว็บไซต์ใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ หรือกำลังคน

หน้าแรกของเว็บไซต์เต็มไปด้วยเมนูหลากหลายให้คนเยี่ยมชมได้เลือกสรร เริ่มตั้งแต่เมนูเด่นเมนูแรกอย่าง True Music เมื่อคลิกเข้าไป ผู้ใช้จะเตะตาทันทีกับเมนู "Music Station" ซึ่งจัดแบ่งประเภทของสถานีเพลงเป็นหลายๆ แบบทั้งสถานีเพลงรัก, เพลงฮิตติดชาร์ต, เพลงอกหัก, เพลงยุค 90's หรือแม้แต่สถานีเพลงยุคสตริงคอมโบ

เมื่อคลิกเลือกสถานีเพลงใดสถานีหนึ่งแล้ว หน้าต่างขนาดเล็กที่เรียกว่า Music Station Player ที่ได้รับการออกแบบใหม่จาก ทีมงานของ True จะแสดงผลขึ้นมา

เพลงแรกในสถานีจะเริ่มเล่นสลับไปมาทั้งเพลงไทยและสากล เพลงจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเพลงก่อนหน้านั้นจบลง ตามจำนวนเพลงในประเภทนั้นๆ ที่ทีมงานใส่เข้าไปในระบบ ซึ่งปัจจุบันมีนับแสนเพลง และจะเพิ่มเป็นนับล้านเพลงก่อนสิ้นปีนี้ จากค่ายเพลงในประเทศและทั่วโลก ซึ่งผู้บริหารของ True ลงทุนเจรจาเป็นรายๆ เพื่อขออนุญาตนำเพลงมาใช้กับ Station ของตนโดยเฉพาะ

ในเวลาเดียวกันหากผู้ใช้ต้องการฟังเพลงสุดโปรดในความถี่มากกว่าเพลงอื่น เหมือนกับเป็นการโทรไปหาดีเจในคลื่นวิทยุ เพื่อขอฟังเพลงโปรดที่ต้องการ ผู้ใช้สามารถ เลือกโหมดการจัดอันดับเพลงที่ชื่นชอบหรือ Rate เพลงนั้นตามความชอบ ซึ่งแสดงผลเป็น รูปดาวเอาไว้ เมื่อเลือกดาวมากสุด เพลงนั้นก็จะถูกระบบจำว่า ผู้ใช้งานได้เลือกเพลงนี้วนมาให้ฟังบ่อยกว่าเพลง แต่ Rate ดังกล่าว จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เสียก่อน เพื่อให้ระบบระบุตัวตนการใช้งานได้ตรงกันนั่นเอง

หากคำบอกเล่าของอาจกิจ สุนทรวัฒน์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป-ธุรกิจด้านมัลติมีเดีย ทรู คอร์ปอเรชั่น ในวันนัดหมายเพื่อพูดคุยเรื่อง Trueworld เป็นจริง ภายในเดือนตุลาคมนี้ในหมวดของ Music Station จะเปิดให้บริการดาวน์โหลดเพลงนั้นมาเก็บไว้ฟังที่บ้านได้ด้วย

ในหน้าของ Music Station มีฟังก์ชัน ดาวน์โหลดเพลงติดตั้งเอาไว้อยู่แล้ว แต่ยังไม่เปิดให้บริการจนกว่าจะเจรจากับค่ายเพลง เป็นที่เรียบร้อยในเรื่องราคาการดาวน์โหลดเพลง และเรื่องระยะเวลา หรือแม้แต่การอนุญาตให้ใช้งานต่อหลังจากที่ดาวน์โหลดเพลงนั้นมาได้แล้ว

คอนเซ็ปต์ของการดาวน์โหลดเพลง ก็คือ ผู้ใช้เลือกเพลงที่ชอบ คลิกดาวน์โหลด เพลงดังกล่าวจะมีคุณภาพเทียบเท่ากับเพลงฟอร์แมต MP3 ที่ฟังกันจากคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นทั่วไป แต่ข้อดีอยู่ที่ผู้ใช้สามารถ เลือกเพลงได้อย่างที่ต้องการ โดยไม่ต้องซื้อแผ่นซีดีทั้งแผ่น เพื่อฟังเพลงโปรดเพลงเดียว กันอีกต่อไป

เพียงแต่ผู้ที่จะเลือกดาวน์โหลดเพลงได้ต้องเป็นผู้ใช้ตามบ้าน ซึ่งใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของค่าย True ด้วย เนื่องจากระบบการคิดเงิน เป็นการคิดต่อเพลงและ เรียกเก็บไปกับบิลค่าบริการรายเดือนของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนั่นเอง ขณะที่ผู้ใช้ตามหอพักหรือองค์กรคงต้องรอกันสักนิดสำหรับระบบการจัดเก็บเงินที่ True ต้องพัฒนาขึ้นมารองรับการใช้งานสำหรับกลุ่มเหล่านี้ด้วยในไม่ช้านี้

นอกจาก Music Station แล้วมุมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ "e-book" ซึ่งผู้ใช้ สามารถเข้าเว็บไซต์ www.ebookworld.in.th ได้อีกทางหนึ่ง

"ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับคนทั่วไปในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป หลายคนไม่ดูทีวี นี่คือความเป็นจริง ที่จะเกิดขึ้น คอมพิวเตอร์กลายเป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้คนทำอะไรหลายๆ อย่างได้พร้อมกัน บางคนแชตกับเพื่อน ขณะที่ดูคอนเสิร์ตถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ตไปพร้อมกับทำงาน หรือบางคนอาจจะเลือกฟังเพลงไปพร้อมกับการทำงาน"

คำพูดของอาจกิจนั้นสื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มรูปแบบได้เป็นอย่างดี แม้แต่การอ่านหนังสือหลายคนเลือกที่จะอ่านหนังสือผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปร้านหนังสือและซื้อกลับมาอ่านที่บ้านกันอีกต่อไป e-book จึงเป็น ทางออกการใช้งานดังกล่าว

เพียงแต่ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกและดาวน์โหลดโปรแกรม อ่านหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์มาติดตั้งและเลือกดาวน์โหลดหนังสือ ในเว็บไซต์มาเก็บไว้ในโปรแกรมดังกล่าว แค่นี้ก็สามารถอ่านหนังสือเล่มใหม่ที่เพิ่งวางแผง หรือหนังสือเก่าที่หาซื้อไม่ได้แล้วตามแผงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที

tv, movie, sport, fashion, game, animation, astro, shopping และ news & money คือเมนูที่เหลือในเว็บไซต์ trueworld ที่แต่ละมุมมีความสามารถในการรองรับการใช้งานที่มากกว่าเว็บไซต์ปกติธรรมดาทั่วไป

ตัวอย่างของ trueworld ทำให้เราได้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์งานกันอีกเท่านั้น แต่ยังทำตัวเป็นตู้เอทีเอ็ม, ร้านค้า, วิทยุ, เครื่องเสียง, โรงภาพยนตร์ส่วนตัว ขณะที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น เป็นตัวช่วยสำคัญทำให้ คอมพิวเตอร์เป็นอีกหลายๆ อย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึง ส่วนใครอยากจะใช้คอมพิวเตอร์ เป็นอะไรบ้าง ก็ต้องเลือกและสัมผัสสิ่งนั้นด้วยตนเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us