|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2548
|
|
เป็นคราวของ ปตท.ที่ต้องออกไปแสวงหาเงินทุนในตลาดต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากไม่กี่เดือนก่อน ไทยออยล์ซึ่งเป็นบริษัทลูกเพิ่งจะเรียกเครดิตจากนักลงทุนในต่างแดนกลับคืนมาได้
ความสำเร็จในการขายหุ้นในต่างประเทศของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่สร้างความฮือฮาให้แก่ นักลงทุนใน 3 ตลาดนั้น ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้บริษัท เจ.พี.มอร์แกน ประเทศไทย ฐานะที่เป็นผู้จัดวางกลยุทธ์วิธีจัดจำหน่ายในรูปแบบใหม่ให้กับ ปตท.
แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือการอาศัยความดีงามในชื่อเสียงของประเทศมาช่วยนำทางให้ ปตท. ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จได้เต็มภาคภูมิ เมื่อพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงที่ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่จะออกขายบอนด์ ระยะยาวถึง 30 ปีในตลาดต่างประเทศได้นั้น จะมีก็เพียงแต่รัฐบาลจากประเทศที่มีความมั่นคงในฐานะการเงินเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็ยังไม่มีแผนออกบอนด์รุ่นนี้ในต่างประเทศ
ราวกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปตท. และเจ.พี.มอร์แกน ประเทศไทย ได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ แบบไทย ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อฉลอง ความสำเร็จจากการระดมทุนขายหุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน วงเงิน 350 ล้านดอลลาร์ อายุ 30 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6%
หุ้นกู้ชุดดังกล่าวได้เสนอขายทั้งใน 3 ตลาด คือ เอเชีย สหรัฐฯ และยุโรป เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมูดี้ส์ อิสเวสเตอร์ เซอร์วิส จัดเรตติ้งความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้นี้ไว้ที่ A2 ซึ่งสูงกว่าอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ส่วนสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ จัดไว้ที่ AAA+ เป็นเรตติ้งที่เท่ากับประเทศไทย
พิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร ปตท. กล่าวตอนหนึ่งในงานเลี้ยงอาหารค่ำว่า ลำพังชื่อเสียง ปตท. พวกเขาไม่คิดว่าทำสิ่งนี้ได้เอง หากแต่ต้องอาศัยชื่อเสียงประเทศ ไทยเป็นตัวนำ และ ปตท.เป็นแต่เพียงผู้เดินตาม โดยสิ่งที่ได้ดำเนินการ ไปนั้น ถือเสมือนว่า ปตท.ขันอาสาทำหน้าที่สร้าง landmark สำหรับการเป็น benchmark ที่ทำในนามประเทศ
ที่มาในการตัดสินใจออกหุ้นกู้ประวัติศาสตร์นี้ เกิดจากความจำเป็นของ ปตท.ที่ต้องเตรียมจัดกลยุทธ์โครงสร้างบัญชีเงินทุนในอนาคต เพื่อที่ว่า ปตท.จะได้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนการเงินที่สูงเกินควร หลังภาระหนี้สินระยะสั้นทยอยลดลงในแต่ละช่วง
การจัดโครงสร้างทางการเงินใหม่ครั้งนี้ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร ปตท. บอกว่าได้พิจารณาถึงจำนวนเงินที่ต้องนำไปลงทุนในอนาคต ควรเป็นส่วนหนี้สินและทุนมากน้อยเพียงใด เมื่อ เห็นว่า ปตท.ยังน่าที่จะต้องมีหนี้สินคงค้างจำนวนหนึ่งอยู่ตลอดเวลาแล้ว ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเมื่อเทียบกับผลตอบแทน หากต้องรักษาโครงสร้างบัญชี ปตท.ก็น่าจะเลือกไปในหนี้ที่มีระยะเวลายาวที่สุดเท่าที่จะไปได้ และต้องได้ ดอกเบี้ยคงที่ด้วย
"ตอนแรกคิดกันว่าถ้าไปไกลจนถึง 50 ปีเลยจะไหวไหม แต่เห็นว่ามันน่าจะเกินตัว มีเหมือนกันที่บางแห่งมาเสนอโครงการให้เราออกเป็น bond ที่ไม่มีอายุชำระคืนเลย แต่แน่นอนว่าเมื่อพิจารณาแล้ว มันเกินความสามารถของเราอย่างมากแน่นอน" พิชัยกล่าว
ความสำเร็จในการขายหุ้นกู้ในต่างประเทศของ ปตท. ที่สร้างความฮือฮาในต่างประเทศครั้งนี้ เป็นผลของกำหนดกระบวนยุทธ์ การจัดจำหน่ายรูปแบบใหม่ จากบริษัท เจ.พี. มอร์แกนฯ ซึ่งชี้แนะให้ ปตท.ควรปรับวิธีการออกหุ้นกู้ใหม่
โดยแทนการออกไปทำ road show ที่ต้องใช้เวลานาน 1-2 สัปดาห์ เพื่อเดินสายประกาศราคาหุ้นกู้ดังเช่นในอดีต ปตท.ควรใช้วิธีประกาศยอดวงเงินรวมที่ต้องการกู้จากตลาดอย่างเช่นอดีต เพื่อหยั่งเสียงตอบรับจากนักลงทุนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงค่อยกลับมา กำหนดวงเงินกู้กันใหม่อีกครั้ง ก่อนที่จะนำหุ้นกู้ กลับออกไปขายให้กับนักลงทุนในท้ายที่สุด
"เดิมเราเสนอไปแค่ 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตอนแรกก็ไม่มั่นใจว่าจะขายได้หรือเปล่า แต่น่าประหลาดใจ หลังจากที่เราไม่ได้ออกตลาดมานานนักลงทุนยังให้ความสนใจ มีคนขอจองสูงถึง 2 เท่า ทำให้คิดว่าเราน่าจะมีโอกาสเพิ่มขนาดได้ถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร ของ ปตท.กล่าว
ทั้งนี้ เจ.พี.มอร์แกนฯ ได้เตรียมกระบวนการจัดจำหน่าย หุ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 เดือนครึ่ง นับจากเข้าประเมิน สถานะการเงินของ ปตท. จนถึงการจัดทำ filing เพื่อเสนอตลาด ก่อนจะพา ปตท.ออกไปขายหุ้นกู้ในวงเงินใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากความสนใจของนักลงทุนซึ่งมีให้กับปตท.เป็นทุนเดิมนั้น ยังช่วย เจ.พี.มอร์แกนฯ สามารถปิดการขายลงได้ภายในเวลา 2 วัน
วรภัค ธันยาวงษ์ ผู้จัดการใหญ่ เจ.พี.มอร์แกนฯ ชี้ว่าเป็น ที่รู้กันในตลาดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ผู้กู้ทุกรายจะกลับออกมาพร้อมความสำเร็จในแบบเดียวกับ ปตท. หากโครงสร้างและฐานะ การเงินไม่แข็งแกร่งมากพอจนถึงระดับที่นักลงทุนไว้เนื้อเชื่อใจ
อีกทั้งเงื่อนไขการกระจายหุ้นเข้าสู่ตลาดต่างๆ ยังเป็นอีกประเด็นที่ต้องคำนึงถึง เพราะความสำเร็จนี้จะเป็นไปได้มาก ขึ้น หากนักลงทุนในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักที่ต้องเจาะเข้าไปให้ได้นั้น มีทีท่าตอบรับอย่างดีกับหุ้นกู้ของกิจการนั้นๆ ด้วย
"ตามเงื่อนไขหุ้นกู้ของบริษัทที่จะออกยาวๆ อย่าง ปตท. ต้องขายใน 3 ตลาด คือที่สหรัฐฯ 70% ส่วน 20% จะแบ่งมาที่เอเชีย อีก 10% ไปที่ยุโรป นับแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีแค่ 5 ราย ที่ทำได้เมื่อนับรวมถึง ปตท.ด้วย โดยก่อนหน้าเป็นหุ้นกู้จากบริษัท เอกชนของจีนและฮ่องกง" ผู้จัดการใหญ่ เจ.พี. มอร์แกนฯ กล่าว
การตัดสินใจเข้าระดมทุนของ ปตท.ในต่างประเทศ จึงถือเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยตลาด off shore ค่อยๆ ปรับฐานขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเฟด ฟันด์ เรต จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
โดยคนในตลาดเก็งกันว่า เฟด ฟันด์ เรต น่าจะขยับขึ้น ไปอยู่ที่ 4-4.5% เมื่อถึงปลายปีนี้ จากที่ไต่ขึ้นไปที่ 3.5% ในปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 30 ปีของปตท. กับดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน จึงถือได้ว่าตลาดได้เสนอเงื่อนไข ที่ดีให้แก่ ปตท.
"เมื่อมองที่ return on equity ของ ปตท.ที่ 33% ในปัจจุบัน แม้จะ discount ต้นทุนเงินกู้ยืมใหม่ 6% return on equity เขาก็ยังเหลือ 27% ซึ่งถือว่าสูงมาก" วรภัคกล่าว
เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปตท.เคยขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกันอายุ 10 ปี วงเงิน 4,040 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.75% ให้แก่นักลงทุนสถาบัน โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ชุดนี้ ทั้ง ปตท. ยังได้ทำธุรกรรม Cross Currency Swap เป็นสกุลเงินดอลลาร์ สหรัฐ จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราดอกเบี้ย 4.55%
โดยฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ได้จัดเรตติ้งความน่าเชื่อถือของหุ้นนี้ไว้ที่ระดับ AA+ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเท่าที่บริษัทไทยได้รับในปัจจุบัน
|
|
|
|
|