|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2548
|
|
"ช่วงนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับบริการเสริมบนโทรศัพท์มือถือ ยังไม่มีอะไรใหม่หรือหวือหวามากนัก เช่นเดียวกันกับราคาค่าบริการ ที่มีแนวโน้มจะลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นไม่แปลกที่โอเปอเรเตอร์ส่วนใหญ่จะนำโปรโมชั่นหรือแคมเปญต่างๆ เข้าช่วยกระตุ้นตลาดบริการเสริมของตน" พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการมัลติมีเดีย บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด บอกเล่ากับสื่อมวลชนหลายชีวิต ที่ไปร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญใหม่ของค่ายเมื่อไม่นานมานี้
คำพูดของพิรุณได้ชี้ให้เห็นสภาพการแข่งขันในตลาดบริการ เสริมบนโทรศัพท์มือถือที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป หลายครั้งก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคมักเห็นการแข่งขันการเปิดตัวบริการรูปแบบใหม่ ขณะที่ช่วงปีนี้ แคมเปญหรือการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการใช้งานของผู้บริโภคกลับโดดเด่นและเห็นได้ชัดที่สุดมากกว่าอย่างอื่น
เช่นเดียวกัน "Metamormusic" ถือเป็นแคมเปญล่าสุดที่ออเร้นจ์เพิ่งจะเปิดตัวออกไปสู่สายตาของผู้บริโภค การทำกิจกรรมเฉพาะกลุ่มคนรักเสียงเพลง โดยนำศิลปินชื่อดังขวัญใจวัยรุ่นมาร่วมเปิดคอนเสิร์ตในแนวเพลงแบบใหม่เฉพาะคอนเสิร์ตในครั้งนี้ภายใต้การดูแลของคลื่นวิทยุ 104.5 Fat Radio
สำหรับออเร้นจ์ "ดนตรี" เปรียบเสมือนคอนเทนต์เบอร์หนึ่ง ที่บริษัทให้ความสำคัญมากที่สุด การทำตลาดในกลุ่มบริการเสริมที่เกี่ยวเนื่องกับดนตรีจึงไม่เพียงแต่บ่อยครั้งกว่าบริการอื่นๆ เท่านั้น แต่ ยังได้รับการประชาสัมพันธ์หรือโปรโมตมากกว่าด้วยในเวลาเดียวกัน
ความแตกต่างของการจัดแคมเปญดังกล่าวเมื่อเทียบกับค่ายอื่นๆ ที่เคยทำกันมาตลอด เหมือนกับเป็น Music marketing อย่างที่รู้จักกันดีก่อนหน้านี้ เห็นจะเป็นการเปิดโอกาสให้เฉพาะคนที่ใช้บริการเสริมที่เกี่ยวกับดนตรีของออเร้นจ์ หรือบริการของทรู บริษัทในเครือเดียวกันเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสได้เข้าร่วมคอนเสิร์ตศิลปินขวัญใจของตนเอง
ไม่ว่าจะผ่านวิธีการเข้าไปเล่นเกมกับบริการ Music Gangster 5555 หรือผ่าน Music by Trueworld บนเว็บไซต์ www.trueworld.net ซึ่งรวบรวมเพลงนับแสนนับล้านเอาไว้ให้ผู้บริโภคได้ฟังและเลือกดาวน์โหลด ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา หรือชิงบัตรชม คอนเสิร์ตผ่านบริการ SMS ของออเร้นจ์ในรายการวิทยุของคลื่น 104.5 Fat Radio ซึ่งล้วนแต่ผ่านการใช้บริการเสริมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีของ บริษัทแทบทั้งสิ้น
พิรุณยอมรับว่ากลุ่มชุมชนหรือ Community ของคนรักดนตรี ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด การทำกิจกรรมหรือแคมเปญจอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดนตรีกับคนกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่ขยายไปในวงกว้างเท่านั้น แต่ยังเข้ากับนโยบายของบริษัทที่ให้ความสำคัญในเรื่องของดนตรีมากที่สุดในเวลาเดียวกันด้วย
การทำ synergy ระหว่างบริษัทในเครือ อาทิ ออเร้นจ์กับทรู ก็กลายเป็นหนึ่งในแนวความคิดที่จะเกิดขึ้นและมีให้เห็นกันชัดเจนยิ่งขึ้นในการทำตลาดกับกลุ่มคนรักดนตรี
เมื่อแผนการเปลี่ยนชื่อหรือรีแบรนด์ "ออเร้นจ์" เสร็จสิ้น ไม่ว่ามือถือค่ายนี้จะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรก็ตาม ทุกบริการหรือเว็บไซต์ของออเร้นจ์จะผูกรวมเข้าไปอยู่ภายใต้ www.trueworld.net แทบทั้งหมด เพื่อให้เกิดการ synergy ระหว่างกันมากที่สุด
พิรุณยกตัวอย่างของการ synergy ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมออเร้นจ์เข้าไปอยู่ภายใต้ทรูซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดก็คือการที่ไม่เพียงแต่ลูกค้า จะเลือกดาวน์โหลดเพลงมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับฟังเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังสามารถดาวน์โหลดเข้าเครื่องมือถือ, ดาวน์โหลด ริงโทน, เสียงพักสาย และอื่นๆ อีกมากมายในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเข้าหาช่องทางหลากหลายแตกต่างจนทำให้เกิดความสับสน
ที่สำคัญก็คือ ช่วยเอื้อให้ทำกิจกรรมหรือแคมเปญในรูปแบบใหม่ สำหรับกลุ่มลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
|
|
|
|
|