|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2548
|
 |

การเข้าระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในตลาดเอเชียบอนด์ ของ JBIC นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามจากญี่ปุ่นที่จะผลักดันให้สถาบันการเงินของรัฐบาลเข้ามามีบทบาทชัดเจนมากขึ้นกับความร่วมมือในแผนการสร้างเขตระดมทุนเฉพาะของภาครัฐและเอกชน ในระดับภูมิภาคเอเชีย หลัง ADB องค์กรการเงินระหว่างประเทศที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เข้ามานำร่องทำหน้าที่นี้แล้ว
ความพยายามดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในงานแถลงข่าวความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์และซิตี้กรุ๊ปเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในฐานะผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรสกุลเงินบาท (baht bond) อายุ 5 ปี ของ JBIC ที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในวงเงินรวม 3,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.78% หรือเทียบเท่า 28 basis points บนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี
เงินที่ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้ JBIC จะใช้เป็นทุนเพื่อปล่อยกู้ต่อให้แก่ธุรกิจเอกชนญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในไทย โดย baht bond ของ JBIC ล็อตนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากที่ระดับสูงสุดของ Moody's และ AA- จาก Standard & Poor's
การเข้าระดมทุน JBIC ครั้งนี้ถือเป็นการออกพันธบัตรครั้งแรกของสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศในไทย ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดริเริ่มตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย (ABMI) ซึ่งญี่ปุ่น สมาชิกอาเซียน จีน และเกาหลี ได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือกันในการพัฒนา Asian Bond Market ตามแผนพัฒนาตลาดและคุณภาพตราสารที่ออกโดยกลุ่มประเทศเอเชีย และในอนาคต JBIC ยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรในประเทศต่างๆ ของทวีปเอเชียตามแนวทาง ABMI
"การกู้ยืมเงินโดยตรงจากท้องถิ่น ทั้งในกรณีขององค์กรระหว่างประเทศ หรือของธุรกิจเอกชนจากประเทศต่างๆ ที่ทำธุรกิจ อยู่ในแต่ละประเทศนั้น เป็นอีกคอนเซ็ปต์สำคัญใน Asia Bond Market โดยกรณี JBIC หากไม่มีตลาดนี้ให้ระดมทุนมาให้บริษัทญี่ปุ่นในไทยแล้ว พวกเขาก็ต้องไปกู้ข้างนอก และอาจต้องจ่ายแพงร่วมๆ 6-7% เมื่อบวกต้นทุนอื่นอย่างเช่น currency swap ด้วยแล้ว" เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตลาด Asia Bond กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ADB ซึ่งได้ออก Asia Bond ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3.8% เพื่อใช้พัฒนาโครงการสร้างเขื่อนน้ำเทินที่มีค่าใช้จ่ายในรูปสกุลเงินบาท
ความคืบหน้าการพัฒนาตลาดสู่การระดมทุนของเอกชนโดยตรงจากตลาด Asia Bond นั้นกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการ หารือกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อกำหนดเงื่อนไขอนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าระดมทุนจากตลาดนี้ โดยคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้ในสิ้นปีนี้
|
|
 |
|
|