Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
Logistics Army             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.




เมื่อมองจากภายนอก ศูนย์กระจายสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไปแห่งที่ 4 (Distribution Center 4 : DC4) ของบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ตั้งอยู่ริมถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรีในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ไม่แตกต่างจากโกดังสินค้าที่มีอยู่ทั่วไปแต่ที่สะดุดตาเป็นพิเศษเห็นจะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้า ซึ่งขุดขึ้นเพื่อเตรียมน้ำเอาไว้สำหรับกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ สระแห่งนี้มีความลึก 2 เมตร จุน้ำได้ 80,000 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอสำหรับใช้ดับเพลิงได้นาน 2-3 วัน นอกจากนี้ยังมีแท็งก์น้ำขนาด 800 ลูกบาศก์เมตรที่เตรียมเอาไว้ต่างหากอีกด้วย

ที่ต้องเตรียมพร้อมขนาดนี้ เพราะสินค้าที่เก็บไว้ใน DC แห่งนี้มีมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และศูนย์แห่งนี้ยังเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่รับผิดชอบนำส่งสินค้าให้กับร้าน 7-Eleven ตั้งแต่เหนือสุดแดนสยามที่แม่สาย จ.เชียงราย จนถึงใต้สุดที่สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ยกเว้นอีสานเพียงแห่งเดียวที่อยู่ในความดูแลของศูนย์กระจายสินค้าที่ จ.ขอนแก่น หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นที่นี่จะส่งผลต่อสินค้าภายในร้านทันที 2,000 กว่าสาขา

"ความเสี่ยงที่สุดของที่นี่คือไฟไหม้ เราห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ถ้าเจอพนักงานสูบบุหรี่ให้ออกเลย ถ้าเป็นรถซัปพลายเออร์มาส่งของก็ให้กลับไปเลยไม่ต้องเอาของลง และถ้ายังเจออีกก็จะตัดสิทธิ์ไม่ให้ขายในร้านเซเว่นฯ อีก" นิกร ชยานุวัชร ผู้จัดการทั่วไป ฝ่าย Distribution กล่าว

DC4 แห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2539 เนื้อที่กว่า 20,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างไม่รวมค่าที่ดินเกิน 200 ล้านบาท สามารถให้บริการร้าน 7-Eleven ได้สูงสุด 3,000 สาขา และเพื่อรองรับการขยายสาขาตามเป้าหมาย 5,000 สาขาภายในปี 2550 จึงได้มีการลงทุนก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ (DC5) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ในทำเลใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยงบประมาณลงทุน 835 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่ง DC แห่งนี้จะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าให้กับร้าน 7-Eleven ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคอีสานตอนใต้

แนวความคิดในการจัดการระบบกระจายสินค้าของ 7-Eleven เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของการดำเนินงาน เนื่องจากประสบปัญหาในการบริหารสต็อกสินค้า เพราะไม่สามารถควบคุมการจัดส่งสินค้าของซัปพลายเออร์ได้ตามกำหนด จึงเริ่มทดลองศูนย์กระจายสินค้าแห่งแรกที่บริเวณบางจาก มีขนาดพื้นที่ไม่กี่ร้อยตารางเมตร หลังจากนั้นก็เริ่มขยายมาสู่ DC2 และ DC3 ที่โชคชัยร่วมมิตรและประเวศ จนกระทั่งตัดสินใจสร้างศูนย์ DC4 จึงได้ยุบ DC1 และ DC3 ไป คงเหลือเพียง DC2 ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กระจายสินค้าในกลุ่มนิตยสาร หนังสือพ็อกเกตบุ๊คและเบเกอรี่

"ตอนแรกต้องไปคุยกับซัปพลายเออร์นานมากและยากมาก ไม่มีใครอยากให้เรามาจัดการสินค้าเอง ทุกคนก็คิดว่าของเขาดีอยู่แล้ว เพราะเมื่อสิบกว่าปีก่อนร้านที่เป็นเชนสโตร์มีน้อยมาก แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเรา จริงๆ ไม่ใช่โนว์ฮาวใหม่ เพราะที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่กับเรายังเป็นของใหม่" พิทยา เจียรวิสิฐกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้าของ 7-Eleven บริหารจัดการสินค้าเองถึง 90% ของสินค้าทั้งหมดภายในร้าน ที่เหลือจะเป็นสินค้าที่จัดการยาก เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม หรือสินค้าภายในท้องถิ่น ที่ผู้ผลิตสามารถจัดส่งเองได้ รวมทั้งสินค้าบางชนิดที่ผู้ผลิตยังจัดส่งเอง แต่ในอนาคตมีการตั้งเป้าให้จัดส่งผ่านศูนย์ DC ของ 7-Eleven ทั้งหมดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด

ทุกวันนี้ศูนย์ DC4 มีรถวิ่งเข้าออกตลอดเวลา ทั้งรถส่งสินค้าจากซัปพลายเออร์และรถขนสินค้าไปยังร้าน 7-Eleven ซึ่งแต่ละวันต้องใช้รถปิกอัพกว่า 300 คัน และรถบรรทุก 6 ล้อ อีก 150 คัน เมื่อรวมกับพนักงานภายใน DC ที่มีอีก 1,200 คน กองกำลังขนาดนี้เปรียบได้กับกองทัพขนส่งเลยทีเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us