Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
สิ่งไร้ค่าเป็นสิ่งล้ำค่า สู่ภาพมรดกไทย มรดกโลก             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

บุญถึง ฤทธิเกิด
Art




ถัดไปใกล้ๆ กันเป็นบ้าน 2 ชั้น ที่อาศัยของศิลปินท่านนี้ ชั้นล่างในห้องรับแขกจะเต็มไปด้วยผลงานในอดีตและปัจจุบัน นอกจากงานสีน้ำ สีอะคริลิกแล้ว เขายังได้คิดค้นเทคนิคการวาดภาพ ด้วยมูลช้าง เศษผ้า กระดูกสัตว์ และเส้นผม เป็นการนำสิ่งไร้ค่ามาสร้างสรรค์ใหม่เป็นสิ่งที่ล้ำค่าได้อย่างน่าอัศจรรย์

วัย 74 ของเขา ดูเหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในโลกแห่งศิลปะแต่อย่างใด

ผลงานแสดงภาพเขียนด้วยมูลช้างที่ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ 1-30 มิถุนายน 2545 ที่ผ่าน มานั้น มีสถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่นมาถ่ายทำผลงานและประวัติของเขาไปเผยแพร่

ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสมาคมวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงบ้านสวน เพื่อเลือกซื้อผลงานไปหลายชิ้น สำนักข่าวเอพีก็ได้ให้ความสนใจ เข้ามาสัมภาษณ์ และทางจังหวัดนนทบุรีเองก็มีแนวความคิดที่จะจัดบ้านหลังนี้ ให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งสำหรับโปรแกรมของนักท่องเที่ยว

"ผมจะทำบ้านเป็น Gallrey of the Sun" บุญถึงวาดฝัน โดยวางแผนจะสร้างบ้านหลังเล็กๆ อีกหลังหนึ่ง มุงหลังคาด้วยมูลช้าง และกระป๋องน้ำอัดลม

ในปีนี้เขาได้รับเกียรติจากสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ให้เป็นศิลปินดีเด่นสาขาทัศนศิลป์ และรับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

บุญถึง ฤทธิเกิด คือศิลปินคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบรางวัลเกียรตินิยมแห่งชาติ เหรียญทองแดง ติดต่อกันถึง 4 ปีซ้อน คือ ในปี พ.ศ.2493, 2494, 2495, และ 2498

แต่ดูเหมือนว่าในระยะหลังๆ จะไม่ค่อยได้เห็นผลงานของเขามากนัก เพราะหลังจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว เขาก็ได้เข้าไปเป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ให้กับทีวีช่อง 4 (ช่อง 9 ปัจจุบัน) และยังเป็นผู้จัดรายการดังในอดีตคือ "วรรณทัศน์สังคีต" เคยทำภาพยนตร์ในนาม จิตรศิลป์ภาพยนตร์ และจากผลงานสะบัดปลายพู่กันลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ พร้อมกับการขับร้องเพลงไทยประกอบในช่วงเวลา "ลอดลายพู่กัน" ของรายการในโทรทัศน์ ทำให้ทูตวัฒนธรรมจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เชิญเขาไปแสดงการวาดภาพตามรัฐต่างๆ ในอเมริกาอยู่นาน จนถึงปี 2531 ก็ถึงจุดพลิกผันครั้งสำคัญของชีวิต

"ต้องขอบคุณเหตุการณ์ เมื่อปี 2539 เพราะถ้าไม่เกิดปัญหาทางด้านการเงิน ปิดธนาคาร ปิดสถาบันการเงินขึ้นมา ผมคงไม่เกิดปัญญาที่จะมาเขียน ภาพดีๆ ใหม่ หรือมาสรรค์สร้างภาพจากมูลช้าง"

อดีตในวันเวลาที่ผ่านเลยนั้น บุญถึงได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใส และความจำที่แม่นยำ แม้ในบางครั้งจะน้ำเสียงจะสั่นเครือไปบ้างเมื่อพูดถึงบางเรื่อง ที่ประทับใจและผูกพันเป็นพิเศษ

โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ชีวิตของเขาอาจจะเหมือนลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์อีกหลายท่านที่มาจากต่างจังหวัด ฐานะไม่ดีนัก แต่ มีฝีมือในการวาดภาพ และอาจารย์ศิลป์คอยสนับสนุนและช่วยเหลือในหลายๆ เรื่อง จนจบมหาวิทยาลัยศิลปากร

ปี 2531 บุญถึงยังตระเวนวาดภาพอยู่ในอเมริกา แต่แล้วก็มีคนติดต่อขอซื้อ ที่ดินของเขาแปลงหนึ่งที่หาดแม่รำพึง ในจังหวัดระยอง ในช่วงเวลานั้น ราคาที่ดินแถบ ชายทะเลยุคพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี กำลังเบ่งบานรับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด บุญถึงเองเมื่อกลับมาเมืองไทยหลงใหล ได้ปลื้มกับอาชีพด้านพัฒนาที่ดินอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่ง ฟองสบู่แตกธนาคารเริ่มระงับการให้สินเชื่อโครงการ เหตุการณ์เลวร้ายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากชำระสะสางเรื่องการเงินและที่ดินเสร็จสรรพ เขาก็เลยกลับมามุ่งมั่นกับงานเขียนรูปอีกครั้ง

การสร้างสรรค์ผลงาน คือจิตวิญญาณของศิลปิน ในห้วงเวลาของการทำธุรกิจที่ดิน อารมณ์ต้องการวาดรูป ก็กลับมาเป็นระยะๆ แต่หลายครั้งหลายคราเมื่อลงมือจรดปลายพู่กัน จิตใจยังที่ยังหมกมุ่นขุ่นมัวกับงานธุรกิจ ทำให้เขาไม่สามารถทำงานได้ หรือแม้ว่าทำได้ก็เป็นภาพที่ไม่ดีเอาเสียเลย

เมื่อตั้งใจจะเขียนรูปอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2539 เขาก็พบว่า ราคาสีน้ำมันแพงขึ้นมากจนเขาซื้อมาวาดรูปแทบไม่ได้เสียแล้ว ความคิดที่จะหาวัสดุมาทำงานศิลปะแทนสีน้ำมันเลยเข้ามาในช่วงนั้น ครั้งแรกเป็นผลงานที่เกิดจากเศษผ้าที่ทางร้านเขาใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว เอามาตัดเป็นชิ้นโดยจะเขียนเป็นสีน้ำก่อน แล้วเอาเศษผ้าที่มีสีเฉดเดียวกับสีที่เเขียนแล้วแปะลงไป มีเส้นผมด้วย

"ต้องใจเย็นมากๆ ตอนทำชิ้นแรกๆ อยากจะเห็นผลงานเร็วๆ ผมเอามาวางไว้บนตักเอามานอนทำเลย พอง่วงก็นอน พอตื่น ก็ทำต่อ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนต่อ 1 รูป เพราะผ้าที่ตัดละเอียด ยิบเลย บางทีต้องการสีทองก็ไปซื้อผ้าสีทองมาดึงเอาเส้นด้าย เส้นเดียวมาติดต่อๆ กัน ตอนหลังต้องยอมรับว่าทำด้วยเศษผ้ามันช้า มาก ในขณะที่ขายได้ราคาพอๆ กับสีน้ำมัน"

จนกระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างขับรถไปพัทยาเพื่อเอางานเขียนไปฝากแกลลอรี่ของเพื่อนๆ ขาย เขาก็พบช้างเชือกหนึ่งเดินอยู่บนถนนนาจอมเทียน ช้างเดินไปก็ถ่ายมูลออกมา แวบแรกที่เขาเห็นก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า มูลช้างส่วนใหญ่เป็นพืชมีเส้นใย น่าจะเอามาทำเป็นกระดาษ หรือส่วนผสมในการทำงานศิลปะได้

"ผมเลยขับรถไปซื้อกระสอบเก่าๆ มา โกยขี้ช้างใส่ ควาญช้างเลยบอกว่าหากต้องการเยอะๆ ก็ให้เข้าไปที่ปางช้าง ที่นั่นเยอะเลย ก็เลยไปเอา แล้วไปหาความรู้กับนายแพทย์คนหนึ่งที่รู้จักว่าจะทำความสะอาดอย่างไร ก็ทราบว่าต้องเอาไปแช่ฟอร์มาลีนไว้ก่อน 2 คืน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและดับกลิ่น แล้วเอามากรองล้างน้ำ ใส่โซดาไฟต้มจนขาวแล้วก็บด หลังจากนั้นก็เอามาทำเป็นกระดาษ ผสมกาวโปะลงไป และไปเอาเศษผ้ามาขึงเป็นเส้น เป็นตะแกรง โปะมูลช้างลงไปกลายเป็นแผ่นกระดาษแข็ง แล้ว ระบายสีทับ ขรุขระนิดหน่อย หากต้องการให้หนาให้นูนก็เอาสีมาผสมกับขี้ช้าง แล้วก็เอามาเขียนแบบ สีน้ำมันเลย มันก็จะนูนขึ้นมาเป็นสีน้ำมัน พอเขียนก็จะเจอทักษะใหม่ เจอไอเดียใหม่ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ"

ต้นกล้วยกับเปลือกมันสำปะหลังเป็นวัสดุอีกอย่างหนึ่ง ที่มีเส้นใยและมีกาวเยอะมาก เอามาบด รวมกับมูลช้าง ด้วยวิธีการอย่างนี้ทำให้ไม่ต้องใช้สีน้ำมันอีกต่อไปแต่ใช้สีฝุ่นอย่างเดียว

งานนิทรรศการภาพเขียนจากมูลช้าง ของบุญถึง ฤทธิเกิด จัดขึ้นครั้งแรกที่เขาดิน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2541

หลังจากนั้น ชไมพร กัลยาณมิตร เจ้าของร้านอาหารไทย "ศาลาไทย" ในรัฐแคลิ ฟอร์เนีย ก็ได้ติดต่อเขาไปเขียนรูปบนฝาผนังในร้านที่นั่น ต่อด้วยไปเขียนภาพให้เศรษฐีอเมริกันรายหนึ่ง ที่มาเห็นภาพที่ร้านศาลาไทยแล้วประทับใจ

ผลงานในช่วงนั้นที่อเมริกาหามูลช้างและสารเคมีดับกลิ่นค่อนข้างลำบาก วัสดุที่บุญถึงเอามาดัดแปลงก็คือ ใบไม้ ใบหญ้า ในสวนหลังบ้านของชไมพรนั่นเอง โดยเอามาบดผสมกับกาวแห้งและน้ำแทนมูลช้าง แล้วนำไปเขียนรูป

บุญถึงกลับมาอยู่เมืองไทยจริงๆ อีกครั้งเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2543 แล้วเริ่มทำงานภาพด้วยมูลช้างอย่างจริงจัง รวมทั้งรับสอนถ่ายทอดวิชาให้กับเด็กๆ ตัวเล็กๆ ด้วย

ชีวิตของเขาในวันนี้ยังคงมีความสุขกับการเขียนรูปทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นภาพดอกไม้ และทิวทัศน์ท้องทุ่ง และได้วางแผนการไว้ว่าเร็วๆ นี้จะไปวาดรูปที่จังหวัดอยุธยา และน่าน เพื่อที่จะวาดดอกชมพูภูคา ที่จะออกดอกเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น พร้อมๆ กับเตรียมจัดงานนิทรรศการอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2545 นี้ ในหัวข้อ "สิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งล้ำค่า จากมูลช้างสู่ภาพมรดกไทยมรดกโลก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us