Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 กันยายน 2548
เอฟทีเอการเงินไทย-สหรัฐฯไร้ข้อสรุป ขุนคลังย้ำจุดยืนได้ประโยชน์ทั้ง2ฝ่าย             
 


   
search resources

FTA
นริศ ชัยสูตร




คลังคุยผลการเจรจาเปิดเสรีการเงินไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 5 คืบหน้า เผยร่างความตกลงของทั้งสองฝ่ายมีประเด็นที่คล้ายกันแล้ว แต่ยังไร้ข้อสรุปในประเด็นหลัก เรื่องมาตรการระงับการโอนเงินกรณีประเทศประสบปัญหาดุลการชำระเงิน และมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ "ขุนคลัง" ย้ำจุดยืนต้องได้รับประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่าย ระบุเตรียมรวบรวมข้อมูลเพื่อเจรารอบต่อไปต้น ธ.ค.นี้

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย เปิดเผยถึงผลการเจรจาความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา วันแรก (23 ก.ย.) ว่า ในช่วงเช้า คณะผู้แทนไทยนำโดย นายเชิดชัย ขันธ์นะภา ที่ปรึกษาการคลัง กระทรวงการคลัง และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้พบกับผู้แทนสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯเพื่อสอบถามประเด็นที่เป็นอุปสรรคของการที่นักลงทุนไทยจะทำธุรกิจด้านหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายไทย ได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ให้การปฏิบัติ ต่อตราสารของหน่วยงานภาครัฐของไทยที่ออกในสหรัฐฯ เทียบเท่ากับตราสารของรัฐบาลสหรัฐฯ
นอกจากนี้ คณะเจรจาฝ่ายไทย ได้พบกับผู้แทน Federal Reserve Board และผู้แทน Office of Comptroller of Currency เพื่อ ซักถามในประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวกับความแตกต่างในการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้ให้ ความกระจ่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในระดับรัฐบาลกลาง และมลรัฐ
ในช่วงบ่าย เป็นการเจรจาการเปิดเสรีด้านการเงิน ณ ที่ทำการสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยคณะเจรจาฝ่ายไทยได้ยื่นร่างความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินของ ฝ่ายไทยฉบับที่ร่างโดยคณะทำงานฝ่ายไทย ซึ่งร่างดังกล่าวสะท้อนความต้องการของฝ่ายไทยในการเปิด เสรีบริการด้านการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับร่างความตกลงดังกล่าวไว้พิจารณา

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของร่างความตกลงดังกล่าว และเปรียบเทียบกับร่างฯ ที่ฝ่ายสหรัฐฯได้เคยนำเสนอต่อฝ่ายไทยในการเจรจาครั้งแรกที่มลรัฐฮาวาย ซึ่งในขั้นต้นทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะยังไม่มีการพิจารณาประเด็นเรื่องวิธีการเจรจาแบบ Positive List คือ เลือกบรรจุรายการที่ต้องการเปิดเสรี หรือแบบ Negative List คือเลือกบรรจุเฉพาะรายการที่ไม่ต้องการจะเปิดเสรีซึ่งเป็นประเด็นที่ยังมีความต่างกันระหว่างสองฝ่าย ในการใช้เป็นแนวทางยกร่างข้อตกลงฯ

อย่างไรก็ตาม นายนริศได้เน้นให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบว่า นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้แนวทางในการเจรจาไว้ว่า ใน ทุกกรอบการเจรจาจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย (win-win situation)จึงจะสามารถยอมรับ ข้อตกลงดังกล่าวได้
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาร่างความตกลงฯ ของทั้งสองฝ่าย พบว่ามีบาง ประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันหรือไม่แตกต่างกันมาก ได้แก่ 1. คำจำกัด ความของบริการด้านการเงิน (financial services) 2.ข้อบทด้านความ โปร่งใส ซึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล กฎระเบียบ (Transparency) และ 3.การตั้งคณะกรรมการด้านการเงิน (Financial Services Committee)

สำหรับประเด็นที่ยังมีความแตกต่างกันและต้องพิจารณาต่อไป ประกอบด้วย 1. บุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรี 2.การ เข้าสู่ตลาด (Market Access) 3.การ ปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) 4.การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment)

สำหรับการเจรจาการเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้เขตการค้า เสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ในวันที่สอง (24 ก.ย.) ณ ที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกา ที่ประชุมได้ มีการเจรจาต่อจากวันแรก โดยทางผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงท่าทีชัดเจนว่ามีความสนใจในการเปิดตลาดธุรกิจ ประกันภัย ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน และธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนในประเทศไทย

นายนริศกล่าวว่า การเจรจาใน วันที่สองมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้มีความเข้าใจ มากขึ้นในระบบการบริหารงานและกำกับดูแลในธุรกิจสถาบันการเงินของไทย ขณะที่ทางฝ่ายไทยยังได้ รับฟังการชี้แจงถึงกระบวนการระงับ ข้อพิพาทภายใต้ความตกลงด้านการเงินนี้ว่า ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในชั้นแรกจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับบริการด้านการเงิน (Financial Service Committee) ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของทั้งฝ่าย ทั้งนี้หากข้อพิพาทเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้มาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินก็ไม่อาจนับเป็นข้อพิพาทได้

อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักๆ ที่ยังไม่มีข้อยุติ ได้แก่ มาตรการระงับการโอนเงินกรณีประเทศประสบปัญหาดุลการชำระเงิน มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ที่คณะเจรจาฝ่ายไทยเน้นย้ำให้ต้องมีการระบุในข้อบทหลัก เนื่องจากมีความจำเป็นต่อประเทศขนาดเล็กที่ต้องดำเนินมาตรการเหล่านี้เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

ในช่วงสรุปของการเจรจาในวันที่สอง คณะเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่การเจรจามีความคืบหน้าได้ผลเป็นที่น่ายินดี ถึงแม้ว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติในรอบนี้ โดยนายนริศ ได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯมีหนังสือชี้แจงข้อขัดข้องในประเด็นต่างๆ ในรายละเอียด การเจรจารอบ ต่อไปคาดว่าจะมีขึ้นในประเทศไทยประมาณต้นเดือนธันวาคม 2548   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us