เมื่อ Kim Seung-yu เข้ารับตำแหน่งประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ
Hana Bank ขณะที่อายุ 54 ปี ในปี 1997 ถือว่าเป็นแบงเกอร์หนุ่มที่เติบใหญ่อย่างรวดเร็วในวงการธนาคารพาณิชย์
เกาหลีใต้ แต่หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเป็นต้นมา ทุกวันนี้เขากลับดูเหมือนคน
สูงอายุ
แต่เรื่องดังกล่าวกลับไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ Kim ในการนำ Hana Bank ให้ขยายตัวมากกว่าในปัจจุบัน
และหลังซื้อ กิจการ Seoulbank สำเร็จสามารถขยับเป็นธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นใหญ่อันดับสามในฐานะผู้ให้กู้ทันที
"Hana Bank เลือกที่จะรวมกิจการ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในประเทศของพวกเรา"
Kim บอก "คุณไม่สามารถสร้างความได้เปรียบได้ นอกเหนือจากการมีบริการทางการเงินให้กับลูกค้าแบบ
one-stop service"
แนวคิดการรวมกิจการกับธนาคารพาณิชย์รวมถึงธุรกิจแขนขาอื่นๆ เช่น บริษัทหลักทรัพย์
ประกันภัย กองทุนรวม Kim จะพยายามทำให้การบริหารอยู่ภายใต้ บริษัทโฮลดิ้ง
"เมื่อพวกเราสามารถยกระดับการทำงานให้สูงขึ้นไปได้แล้ว ลูกค้าก็จะได้รับการบริการที่ดีตามไปด้วย"
เขาชี้ "องค์ประกอบที่ช่วยให้ Hana Bank เติบโต ต่อไปได้คือการรวมกิจการ"
นับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมาเมื่อรัฐบาลเกาหลีใต้กระโดดอุ้ม Seoulbank
โดยให้สถาบันประกันเงินฝาก (Korea Deposit Insurance Corp.) เข้าถือหุ้นทั้งหมด
เพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ พร้อมกับดำเนินการ เจรจาขายธนาคารดังกล่าวให้กับนักลงทุน
ที่สนใจทั้ง Deutsche Bank, HSBC Holding, Lone Star Fund และ Hana Bank
อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินแห่งที่ 1 และ 2 หยุดการเจรจาเมื่อพิจารณาแล้วว่าราคาของ
Seoulbank สูงเกินไป ขณะที่กองทุนจากอเมริกา Lone Star Fund ล้มเหลวการเจรจาแล้วพ่ายแพ้ให้กับ
Hana Bank เหตุการณ์นี้วงการการเงินภายในเกาหลีใต้เชื่อว่าเกิดจากแรงกดดันจากคณะรัฐบาลชุด
Kim Dae Jung
ดีลนี้ Hana Bank ต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้น 1.15 ล้านล้านวอน หรือประมาณ
965 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับรัฐบาลเกาหลีใต้ หลังรวมกิจการเสร็จเรียบร้อยสถาบันประกัน
เงินฝากจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 31% และ Allianz AG (ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ
Hana Bank) ถือ 8%
ความสำเร็จของการรวมกิจการครั้งนี้ส่งผลให้เกิดประหยัดต่อขนาด (Economies
of Scale) และศักยภาพต่อการดำเนินกิจการ อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ
การลดพนักงาน ลง "เป็นสิ่งจำเป็น" Yong Chung Mok นักวิเคราะห์แห่งไอเอ็นจี
แบร์ริ่งชี้ "ตัวเลข ของพนักงานและสาขาต้องถูกลดจำนวนลงอาจจะมากกว่า 10%"
เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะต้องถูกต่อต้านอย่างหนักจากพนักงานและสหภาพแรงงาน
"พวกเรารับไม่ได้กับการถูกเลิกจ้าง" โฆษกของสหภาพแรงงาน ใน Seoulbank กล่าว
ซึ่ง Hana Bank ต้องรับเอาสาขาทั้งหมดของ Seoulbank 294 แห่ง มาบริหาร จากเดิมที่มีอยู่แล้ว
303 แห่ง ขณะเดียวกันจะมีพนักงานรวมกันเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 คน
Hana Bank เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 1991 ถือเป็นธนาคารพาณิชย์น้องใหม่แห่งหนึ่ง
แต่อีก ปีถัดมามีเงินฝากทะลุ 3 ล้านล้านวอน และ ปี 1997 ตัวเลขนี้ทะลุ 15
ล้านล้านวอน แต่ ถัดมาอีกปีได้รับเงินช่วยเหลือจากบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ
(IFC) 152 ล้านเหรียญสหรัฐจากวิกฤติเศรษฐกิจ และรวมกิจการกับ Chung Chong
Bank แต่ถึงปี 2000 ถูก Allianz AG ยักษ์ใหญ่สัญชาติเยอรมันเข้ามาถือหุ้นใหญ่
11.8%