Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
La poste ไปรษณีย์ฝรั่งเศส             
โดย พฒนี หอมจิตต์
 

   
related stories

Japan Post : แปรรูปเพื่อปฏิรูป
Delivering More Than Ever
องค์การไปรษณีย์นิวซีแลนด์
ไปรษณีย์จีนกับพรมแดนธุรกิจใหม่
Royal Mail
Correos
ไปรษณีย์อเมริกา ทันสมัย ทันใจ
7-Eleven's Growth Business
Easy pay with CA Post
Seeking The succesful models
7-Eleven The Power of Network

   
search resources

Logistics & Supply Chain
La Poste




เมื่อนึกถึงการไปรษณีย์ แน่นอนเราต้องนึกถึงงานด้านจดหมาย พัสดุ โทรเลขและธนาณัติ สำหรับการไปรษณีย์ฝรั่งเศสหรือ La poste นั้น นับจากวันที่ได้ออกจากความควบคุมของรัฐบาลในปี 1991 ก็มีการคิดค้น พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ อยู่เสมอ

ลูกค้าอย่างผู้เขียนชอบที่จะมีตัวเลือกมากมาย ยกตัวอย่างการส่งจดหมายสักฉบับ นอกจากจะส่งในอัตราปกติ ยังสามารถเลือกส่งลงทะเบียนธรรมดา (Recommandee simple) หรือลงทะเบียนพิเศษ (Recommandee avec accusee de reception) ซึ่งแบบพิเศษนั้น ผู้ส่งจะได้รับใบยืนยันการ นำส่งเมื่อผู้รับได้รับจดหมายเรียบร้อยแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดทำจดหมายลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Lettre recommandee electronique) โดยที่ลูกค้าสามารถสั่งพิมพ์แบบฟอร์มได้จากอินเทอร์เน็ต และส่งลงในตู้จดหมายได้โดยตรง จดหมายลงทะเบียนชนิดนี้จำหน่ายได้ถึง 200,000 ฉบับ ภายในเวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น และเพื่อยืนยันการรักษาเวลาทางไปรษณีย์ฝรั่งเศสได้ทำ Tem'post ขึ้น โดยจดหมายจะไปถึงปลาย ทางตามเวลาที่กำหนดและจะมีการชดเชยหากไม่เป็นไปตามนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ การออก "แสตมป์ส่วนตัว" (le timbre personnalise) ตั้งแต่ปลายปี 2004 ลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตสามารถพิมพ์แสตมป์เอง โดยใช้รูปใดก็ได้ และใช้แสตมป์ส่วนตัวนี้ส่งจดหมายได้ตามปกติ

สำหรับการส่งพัสดุก็มีตัวเลือกไม่ด้อยกว่าบริการด้านจดหมายเลย ผู้ส่งสามารถทำหีบห่อเองและจ่ายค่าแสตมป์ตามน้ำหนัก หรือซื้อกล่อง Colissimo ที่คิดราคาแบบเหมาจ่ายก็ได้ กล่องนี้มีหลายขนาดและหลายราคา ตามแต่ประเทศปลายทางซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่ม เช่น ยุโรป เอเชีย อเมริกา

อีกบริการหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์มากคือ การจัดส่งจดหมายตามไปยังที่อยู่ใหม่ สิ่งที่ลูกค้าต้องทำมีเพียงแจ้งที่อยู่ไว้ที่ไปรษณีย์ใกล้บ้าน สัญญาฉบับแรกใช้ได้ 6 เดือน เมื่อครบระยะเวลาลูกค้าสามารถขอต่อสัญญาได้อีก 6 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ

ที่ทำการไปรษณีย์แทบทุกแห่งจะมีเครื่องอำนวยความสะดวก เพื่อให้ลูกค้าเสียเวลารอน้อยที่สุด โดยปกติแล้วจะมีเครื่องชั่งน้ำหนักและจำหน่ายแสตมป์ตามราคาที่ต้อง การ โดยเราสามารถจ่ายได้ด้วยเงินสดและ บัตรเครดิต หากครั้งใดที่เดินเข้าที่ทำการ ไปรษณีย์แล้วเห็นคิวยาวเหยียด ผู้เขียนจะเดิน ไปที่เครื่องนี้ทันที นอกจากนี้ยังมีเครื่องขายซองจดหมาย รวมทั้งเครื่องถ่ายเอกสารหยอด เหรียญไว้ให้บริการอีกด้วย หากเหรียญไม่พอ ลูกค้าสามารถแลกเหรียญได้ที่เครื่องแลกเหรียญอัตโนมัติ เครื่องต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่ แล้วจะอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน น้อยครั้งมาก ที่เครื่องเสียจะทำให้เสียอารมณ์

สำหรับการทำงานของพนักงาน คงไม่ สามารถบอกได้ว่า พนักงานฝรั่งเศสให้บริการ ดีหรือแย่กว่าพนักงานไทย เพราะขึ้นอยู่กับตัว บุคคล แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากให้พนักงานไทยปรับปรุง คือการให้คำแนะนำกับลูกค้าถึงตัวเลือกของสินค้าและบริการ

ในเมืองไทย บ่อยครั้งที่ต้องถามเองว่า มีบริการอื่นหรือไม่ เป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ข้อมูล พวกนี้พนักงานน่าจะเป็นฝ่ายแนะนำให้ลูกค้า

ก้าวสำคัญของไปรษณีย์ฝรั่งเศส คือการเปิดให้บริการด้านการเงิน (Services financiers) เริ่มจากการธนาคาร โดยในปี 2004 มีการเปิดบัญชีกระแสรายวัน (Compte courant) 130,000 บัญชี ทำให้ยอดรวมบัญชี กระแสรายวันมีถึง 10.9 ล้านบัญชีเลยทีเดียว หนึ่งในสาเหตุของความสำเร็จนี้ คือความหลากหลายของสินค้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เหมาะกับลูกค้ากลุ่มอายุต่างๆ (ต่ำกว่า 16 ปี, 16-25 ปี, 25 ปีขึ้นไป)

ทั้งนี้เจ้าของบัญชีจะมีรหัสเพื่อสามารถ ตรวจสอบ รวมถึงดำเนินการต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ส่วน การเข้าถึงตัวเงินนั้น นอกจากเครื่อง ATM (Distributeurs de billets) ที่มีอยู่ถึง 4,678 เครื่องแล้ว ผู้ใช้บริการยังสามารถเข้าไปถอนเงินได้โดยตรง ณ ที่ทำการไปรษณีย์อีกด้วย ข้อได้เปรียบคือ ทั่วประเทศฝรั่งเศสมีที่ทำการ ไปรษณีย์ รวมทั้งไปรษณีย์อนุญาตอยู่กว่า 20,000 แห่ง เรียกได้ว่าไม่ว่าจะไปส่วนไหนของ ประเทศ ก็จะหาไปรษณีย์เจอได้ไม่ยากเย็นนัก

นอกจากนี้ไปรษณีย์ฝรั่งเศสยังมีบริการ ด้านการเงินอย่างครบวงจร ได้แก่

1. การออมทรัพย์ (Epargne) ซึ่งนอกจากบัญชีออมทรัพย์แบบทั่วไปแล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นๆ ดังนี้

- บัญชีซึ่งกำหนดไว้ว่าเงินที่สะสมได้จะถูกนำไปให้ธนาคารโลกกู้ยืม โดยรับประกัน ว่าจะได้เงินคืนเต็มจำนวน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นก็ตาม

- บัญชีออมทรัพย์เพื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมี 2 ตัวเลือก ประเภทแรก ลูกค้าต้องฝาก ประจำทุกเดือนจนครบตามระยะเวลา จึงสามารถกู้เงินออกมาได้ ประเภทที่สอง เมื่อเปิดบัญชีลูกค้าต้องฝากเงินไว้ตามกำหนด แต่ ไม่มีข้อผูกมัดให้ฝากประจำทุกเดือนและเมื่อครบ 18 เดือนจึงสามารถกู้เงินได้

นอกจากนี้ยังมีกองทุนทั้งหลายให้เลือก ได้อีกด้วย เช่นกองทุนรวมเพื่ออสังหาริมทรัพย์

2. การกู้ยืมเพื่ออสังหาริมทรัพย์ (Credit immobilier)

มีสินค้าให้เลือกถึง 8 ชนิด แล้วแต่จุด ประสงค์ของการกู้ เช่น สร้างใหม่ ซื้อ หรือปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือน การกู้ยืมแต่ละแบบจะแตกต่างกันไป อาทิ กำหนดรายละเอียดทุกอย่างไว้แต่ต้น เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้ยืม กำหนดการชำระ ยอดที่ต้องชำระ หรือปรับเปลี่ยนข้อกำหนดต่างๆ ได้ใน ภายหลัง ในที่นี้ขอยกมา 2 ตัวอย่างเท่านั้น

- กู้ยืมเพื่อซื้อบ้านใหม่ โดยอยู่ระหว่าง ดำเนินการขายบ้านเก่า ในการนี้ลูกค้าสามารถ รับเงินสูงถึง 80% ของราคาบ้านเก่า โดยมีระยะเวลาในการกู้ยืมสูงสุดที่ 24 เดือน

- เงินกู้ดอกเบี้ย 0% ซึ่งเป็นการช่วยเหลือจากรัฐบาลให้ประชาชนได้มีบ้านเป็นของตัวเอง โดยยอดเงินที่จะได้รับการอนุมัตินั้นขึ้นอยู่กับรายได้ จำนวนคนในครอบครัว รวมถึงทำเลของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ยังเสนอประกันให้กับผู้กู้อีกด้วย โดยประเภทแรกหากผู้กู้เสีย ชีวิตหรือพิการ บริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายที่ยังเหลืออยู่ให้กับการไปรษณีย์ ทำให้ผู้กู้หรือญาติไม่ต้องรับภาระนี้ต่อไป ประเภทที่สองหากผู้กู้ว่างงาน ก็จะไม่ขาดรายได้เสียเลยทีเดียว

3. บัญชีสำหรับเกษียณ (Retraite)

การไปรษณีย์จัดทำการออมทรัพย์เพื่อให้ผู้ที่เกษียณอายุมีรายได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยมีการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละบุคคล

4. ประกันภัย (Prevoyance)

นอกจากการประกันอุบัติเหตุ และประกันชีวิตซึ่งคนไทยรู้จักกันดีแล้ว ที่ฝรั่งเศส ยังมี

- ประกันสุขภาพ ซึ่งนอกจากการจ่าย ค่าสินไหมแล้ว ยังมีการช่วยเหลือด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น ดูแลบุตรในระหว่างที่ผู้ปกครอง เข้ารับการรักษา หรือดูแลเด็กป่วยเพื่อให้พ่อแม่ไม่ต้องลางาน

- ประกันให้พึ่งตนเองได้ (Independance) การที่จะเข้าใจการประกันชนิดนี้ ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าคนฝรั่งเศส (อาจรวมถึง คนตะวันตกทั่วไป) ไม่ต้องการเป็นภาระของผู้อื่น ไม่ว่าจะในยามชราหรือยามเจ็บป่วยจึงมีประกันนี้ขึ้นเพื่อให้คนเหล่านี้มีรายได้สามารถ พึ่งพาตนเอง ไปรษณีย์เสนอประกันนี้ให้กับคนอายุระหว่าง 18-74 ปี โดยในตอนแรกจะได้รับเงินก้อน และจะได้รับเงินต่อไปทุกเดือน

- ประกันเพื่อเตรียมวงเงินสำหรับงานศพ (Obseque) หลักการของประกันนี้ เหมือนกับการประกันให้พึ่งตนเองได้ กล่าวคือ เจ้าตัวเตรียมเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อจัดการงานศพของตัวเอง เพื่อไม่ให้ญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบรายจ่ายนี้ น่าคิดเหมือนกันว่าหากมีประกันชนิดนี้ที่เมืองไทย จะมีผู้ซื้อหรือไม่

จะเห็นได้ว่า ความหลากหลายที่ทางไปรษณีย์มีเสนอนั้น สามารถตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้อย่างครอบ คลุม แต่หากต้องการผลักดันบริการด้านการเงินต่อไป จำเป็นจะต้องตั้งธนาคารขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมาย การไปรษณีย์จึงได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลเมื่อเดือนมกราคม 2004 เพื่อดำเนินการจัดตั้งธนาคารไปรษณีย์ (Banque postale) โดยจะอยู่ในความดูแลและใช้พนักงาน รวมถึงเครือข่ายการดำเนินงานของการไปรษณีย์ ธนาคารแห่งใหม่นี้จะเปิดตัวขึ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2006 เป็นอย่างช้า

คงต้องคอยดูกันว่า ธนาคารไปรษณีย์ นี้จะมีผลการทำงานเป็นที่น่าพอใจ และดึงดูด ลูกค้าใหม่ได้มากน้อยเพียงใดและ La poste จะมีสินค้าตัวใดมาเสนอให้กับผู้ใช้บริการอีกในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us