Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
Brokerage Return             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ หลักทรัพย์ ไซรัส, บมจ.

   
search resources

หลักทรัพย์ ไซรัส, บล.
โกลเบล็ก, บล.




ท่ามกลางซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจ ธุรกิจหลักทรัพย์ได้รับความเสียหายอย่างมาก และกลายเป็นตัวถ่วงให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายธุรกิจนี้ได้รับการจับตามองอีกครั้ง สังเกตได้จากการมีโบรกเกอร์รายใหม่ๆ เปิดตัวออกมาด้วยการซื้อใบอนุญาตจากบริษัทที่ถูกปิดกิจการ

ปีที่ผ่านมา มีโบรกเกอร์ 27 แห่งกับ ซับโบรกเกอร์อีก 10 แห่ง แต่มี Active จริงๆ เพียง 2-3 แห่งเท่านั้น และด้วยนโยบายจากทางการที่ต้องการยกระดับซับโบรกเกอร์ ประกอบกับการมีผู้เล่นรายใหม่ ทำให้ทุกวันนี้มีโบรกเกอร์ถึง 35 แห่ง เพิ่มขึ้น 30% ในระยะเวลาแค่ 8 เดือนขณะที่การเติบโตของตลาดหุ้นไทยแทบไม่เคลื่อนไหวเลย

การที่มีจำนวนโบรกเกอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้การแข่งขันลำบากและเชื่อกันว่าเป็นช่วงจังหวะที่ไม่น่าเข้ามาทำงานของรายใหม่ จากความย่ำแย่ของตลาดหุ้น ที่สำคัญอีก 2 ปีข้างหน้าทางการจะปล่อยเสรีค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชั่น) ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก

กระนั้นก็ดี ยังมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่มีองค์ประกอบการดำเนินธุรกิจสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นฐานเงินทุนและเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่ชอบแสวงหาความท้าทาย โดยมีธุรกิจหลักทรัพย์เป็นสิ่งเย้ายวนในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังปรับฐาน

เพียงแค่ 2 เดือนวงการตลาดหุ้นไทยมีโอกาสต้อนรับโบรกเกอร์น้องใหม่สัญชาติไทย 2 แห่ง ได้แก่ บล.ไซรัส และบล.โกลเบล็ก ฝ่ายแรกได้ซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ บล.วชิระ ซิเคียวริตี้ส์ จากธนาคารไทยธนาคารและทำการเพิ่มทุนอีก 200 ล้านบาท ทำให้มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ขณะที่ฝ่ายหลังซื้อใบอนุญาต จาก บล.บี ที เอ็ม จาก Bank of Tokyo-Mitsubishi แล้วทำการเพิ่มทุนจาก 100 ล้านบาท เป็น 250 ล้านบาท

หากพิจารณาถึงผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่มีใครปฏิเสธถึงบทบาทในการทำธุรกิจ เพราะล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มที่ยิ่งใหญ่ในประเทศไทยมาช้านาน โดย บล.ไซรัส ในภาษากรีก หมายถึง พระอาทิตย์ได้ทั้งตระกูลสิหนาทกถากุล, เจียรวนนท์, วัธน-เวคิน และเจียมอุดม ร่วมกันถือหุ้นในสัดส่วน 22.92 : 20 : 17.42 : 15 ตามลำดับ ส่วนด้าน บล.โกลเบล็ก เป็นการเข้า มาลงทุนทั้งหมด 100% ของกลุ่มเกรสเทส โกลด์ แห่งตระกูลคูหาเปรมจิต ผู้ผลิตทอง และเครื่องประดับรายใหญ่สุดของประเทศ

การตัดสินใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ของกลุ่มทุนดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการมองอนาคตของตลาดหุ้นที่คาดกันว่า จะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งและดูเหมือนว่าการพยากรณ์อยู่ในเส้นทาง ที่เชื่อถือได้ เพราะนับตั้งแต่ต้นปีปริมาณการซื้อขายหุ้นคึกคักเฉลี่ยต่อวันทะลุเลขห้าหลัก และดัชนีพุ่งทะยานอย่างต่อเนื่อง และในไตรมาส 2 บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์แทบทุกสำนักมั่นใจว่า ดัชนีหุ้นไทยจะทะลุ 500 จุดภายในสิ้นปี

จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ความไม่โปร่งใสของบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ใน อเมริกา รวมเข้ากับการประกาศถล่มอิรักของรัฐบาลอเมริกาส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยดิ่งหัวลง ซึ่งเพียงไม่กี่เดือนดัชนีไหลรูดลง ถึง 100 จุด แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับไม่เป็นที่กังวลใจของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์น้องใหม่

"พวกเราเป็นหลักทรัพย์เปิดใหม่จึงไม่อยากให้ตลาดก้าวไปเร็วมาก คิดว่าเป็น ช่วงจังหวะที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ท่าม กลางการชะลอตัวซึ่งเป็นโอกาสให้บริษัทค่อยๆ เติบโตและก้าวไปอย่างมั่นคง" พิษณุ วิชิตชลชัย กรรมการผู้จัดการบล.โกลเบล็ก กล่าว

สอดคล้องกับอนุชา สิหนาทกถากุล กรรมการผู้จัดการ บล.ไซรัส ที่มองว่าการเปิดตัวบริษัทในช่วงเวลานี้เป็นข้อดีอย่างยิ่ง "ทำให้มีเวลาในการสร้างฐานให้แข็งแกร่งและแผนการของพวกเรา คือ ช่วงแรกๆ ไม่รุกอะไรมากมาย แต่ต้องการจัดการกับกระบวนการทำงานให้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่าย"

โดยพวกเขาทั้งสองมองถึงการมีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคต แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดหุ้นซบเซา "เชื่อว่าต้นปีหน้าเราจะถึง จุดคุ้มทุน" อนุชาบอก ซึ่งขณะนี้ บล.ไซรัส มีลูกค้าเปิดบัญชีแล้วประมาณ 200 บัญชีโดยครึ่งหนึ่งทำการซื้อขายหุ้นแล้ว

"สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ภายในสิ้นปีนี้เราจะมีส่วนแบ่งการตลาด 0.5%" เขาเล่า

ขณะที่ บล.โกลเบล็กที่มองตัวเอง เป็นโบรกเกอร์ขนาดเล็กทำให้ต้นทุนการดำเนินงานควบคุมได้ "ในสภาพอย่างนี้เรา สามารถเลี้ยงตัวเองได้" พิษณุชี้ "บริษัทกำลังมองส่วนแบ่งการตลาด 1% จากปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวัน 5,000-6,000 ล้านบาท"

การแสดงความมั่นใจดังกล่าว เหตุผลหนึ่งมาจากการอาศัยศักยภาพของผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยกลุ่มเกรสเทส โกลด์ ที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับลูกค้าที่ค้าทองและอัญมณีโดยเฉพาะเชื้อสายจีน นั่นหมายถึงลูกค้าเหล่านี้ที่เคยซื้อขายกับโบรกเกอร์แห่งอื่นอาจจะโยกย้ายมาสู่ บล.โกลเบล็ก อีกทั้งธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคตจะเชื่อมโยงกับธุรกิจทองคำที่เป็นสินค้าอ้างอิง นอกเหนือไปจากดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันที่บรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติตราสารอนุพันธ์ และกำลังอยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภา

สำหรับฝ่าย บล.ไซรัสผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้ง 4 รายถือเป็นจุดแข็งอย่างยิ่ง "พวก เขามองว่าธุรกิจหลักทรัพย์เป็นสิ่งน่าสนใจและเป็นหน้าเป็นตา" อนุชากล่าว "ด้วยศักยภาพของผู้ถือหุ้นส่งเสริมให้บริษัทถูกจับตามองจากคู่แข่งอย่างมาก โดยเฉพาะการหาลูกค้าที่ต้องพึ่งพาเครือข่าย ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งจากผู้ถือหุ้น"

นี่คือข้อได้เปรียบที่คู่แข่งเริ่มเป็นกังวลถึงระดับการแข่งขันในอนาคต ไม่เฉพาะ การแย่งลูกค้ารายย่อยแล้วธุรกิจอื่นๆ ยังกระเทือนตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นขณะนี้ฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.ไซรัสกำลังพิจารณารายละเอียดที่จะนำบริษัท 2-3 แห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในฐานะ Lead Underwriting โดยลูกค้าที่ใช้บริการทั้งหมดมาจากการแนะนำของผู้ถือหุ้นใหญ่

และจากฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งส่งผลให้การได้มาซึ่งทีมงาน ที่มีประสบการณ์ทั้งตลาดในและต่างประเทศ โดยพิษณุเป็น อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บล.มอร์แกน เกรนเฟลล์ นอกจากนี้เขายังดึงนักวิเคราะห์ มาจากค่ายไอเอ็นจี แบร์ริ่ง และยังได้นักเศรษฐศาสตร์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิจัย

ส่วนด้าน บล.ไซรัสได้วาณิชธนกิจ มือดีมาจาก บล.พัฒนสิน ได้แก่ สมภพ กีระ สุนทรพงษ์, กัญญารัตน์ ประพิณวาณิชย์ และพณิตตรา รตานนท์ ส่วนฝ่ายวิเคราะห์ หลักทรัพย์ย้ายมาจาก บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ได้แก่ สิริณัฏฐา เตชะศิริวรรณ และจิตรา อมรธรรม

ขณะที่อนุชานั้นมีประสบการณ์ในตลาดนี้กว่า 20 ปี จากธนาคารกรุงเทพ 10 ปี แล้วไปอยู่สแกนดิเนเวีย ลิสซิ่ง 4 ปี และลาออกไปที่แปซิฟิค ไฟแนนซ์ 4 ปี ก่อนมาดูแล บล.ไซรัส ไปทำงานในบริษัทแคปปิตอล โฟกัส ดำเนินธุรกิจเวนเจอร์ แคปปิตอล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us