|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2548
|
|
อินเดียอาจได้เปรียบจีนเพราะมีผู้บริหารที่สามารถและเป็นสากลกว่า แต่อย่าประมาทจีน ซึ่งมีวิญญาณของนักบุกเบิก
หนึ่งในข้อได้เปรียบอันน้อยนิดที่อินเดียมีเหนือจีนคืออินเดียไม่ขาดแคลนผู้จัดการที่สามารถ ทั้งยังมีชื่อเสียงในระดับโลกมากกว่าจีน
CEO ของจีนที่นับว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดอาจจะมีเพียง Fu Chengyu แห่ง Cnooc แต่ก็ถูกมองว่าเป็นหน้าฉากให้แก่รัฐบาลจีนที่กำลังหิวกระหายน้ำมัน ในการพยายามเสนอซื้อบริษัทน้ำมัน Unocal แต่ล้มเหลวเมื่อไม่นานมานี้
ตรงข้ามกับ Nandan Nilekani CEO ของ Infosys บริษัทที่ปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของอินเดีย ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคู่แข่งจากภาคเอกชนที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง โดยไม่ได้เป็นหน้าฉากให้แก่รัฐบาลอินเดีย ในการปั้นธุรกิจ outsourcing จนโด่งดังไปทั่วโลก
ระบบการดำเนินธุรกิจแบบตะวันตกของอินเดีย ทำให้ CEO อินเดียปรับตัวเข้ากับวงการธุรกิจโลกได้ง่ายกว่า CEO จีนมากนัก แม้ว่าอินเดียจะเข้าสู่ยุคปฏิรูปเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีหลังจีนถึง 10 ปี
อินเดียยังมีภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่และมีมานานก่อนจีน มีมหาวิทยาลัยธุรกิจที่ให้การศึกษาแบบตะวันตกมากมาย และมีผู้บริหารที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งสร้างชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาจากความรู้และชาญฉลาดทางด้านการเงินของตน
Nilekani มองว่า ผู้บริหารจีนมีความสามารถในการคิดในภาพรวม และมีแรงขับดันภายในมหาศาล รวมทั้งลงมือทำรวดเร็ว แต่ขาดประสบการณ์ในการจัดการกับตลาดหุ้นโลกการตลาด การสร้างผลกำไร และการสื่อสารในเรื่องวิสัยทัศน์
อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมานานหลายสิบปี โดยเกือบร้อยละ 50 ของ GDP ของอินเดีย มาจากภาคเอกชน เทียบกับร้อยละ 33 ของจีน อินเดียมีประสบการณ์กับความผกผันในตลาดหุ้นมายาวนาน ในขณะที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ถูกสั่งปิดไปกว่า 40 ปี และเพิ่งเปิดใหม่ในปี 1984 แต่ตลาดหุ้นบอมเบย์เป็นตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดของเอเชียโดยก่อตั้งในปี 1875
โดยสรุปคือ อินเดียมีประวัติ ศาสตร์ทางธุรกิจที่ยาวนานกว่าจีน มีวัฒนธรรมการบริหารบริษัทแบบครอบครัวมาหลายชั่วอายุคน แต่สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจในจีนยังใหม่มาก และยังมีผู้ประกอบการที่กระจัดกระจาย
มหาวิทยาลัยธุรกิจแห่งแรกของอินเดียได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่กว่า 40 ปีก่อน โดยร่วมมือกับ Harvard University กับ MIT ตั้งแต่แรก และสถาบันการบริหารจัดการของอินเดีย (IIM) แห่งแรก ที่เมือง Kolkata (Calcutta) ก็ได้กลายเป็นต้นแบบให้แก่สถาบันแบบเดียวกันทั่วประเทศ CEO อินเดียจึงได้เปรียบจีน เพราะได้เรียน MBA มานานแล้ว และผู้บริหารอินเดียจำนวนมากยังไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ ในขณะที่จีนเพิ่งจะมีการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ และเพิ่งอนุญาตให้นักศึกษาไปเรียนต่อในต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้
อินเดียมีหลักสูตรด้านการบริหาร 600 หลักสูตรและผลิตนักศึกษา 5,000 คนต่อปี แต่จีนมีเพียง 95 หลักสูตร และผลิตนักศึกษา MBA น้อยกว่า 20,000 คนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่จีนขับไล่บริษัทข้ามชาติออกไปในช่วงทศวรรษ 1930 แต่ช่วงเวลาเดียวกันนั้น อินเดียกลับอ้าแขนรับบริษัทข้ามชาติทั้ง Brooke Bond, Philips และ Unilever และ CEO อินเดียที่เก่งฉกาจทุกวันนี้ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับการฝึกฝนมาจากการทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า จีนจะตามอินเดียทันในเวลาไม่นาน และ Partha Ghosh อดีตหุ้นส่วนใหญ่ของ McKinsey & Co. และที่ปรึกษาคนหนึ่งของรัฐมนตรีคลังอินเดียเตือนว่า CEO อินเดียสามารถอยู่ได้อย่างสบายในสภาพแวดล้อมของตะวันตก ซึ่งใช้กฎเกณฑ์แบบตะวันตก และสามารถจะประสบความสำเร็จภายใต้กฎเกณฑ์นั้น แต่จีนมีวิญญาณของนักบุกเบิกเส้นทางใหม่ กล่าวคือเป็นผู้นำที่พร้อมจะสู้ตายกับความท้าทายสุดยอดของโลก แม้ว่าโลกจะไม่รู้จักแม้แต่ชื่อเสียงเรียงนามของพวกเขา
|
|
|
|
|