|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นกแอร์รื้อแผน เลื่อนบินเส้นทาง เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน อย่างไม่มีกำหนด พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารทั้งของนกแอร์ การบินไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด เคลียร์กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง หวังทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่การ บินไทยหยุดบินและให้นกแอร์บินแทน ต้องศึกษา ตลาดก่อนกำหนดแผนงาน คาด 2-3 สัปดาห์รู้ผลด้าน CEO นกแอร์ จับมือ 5 พันธมิตร ขยายเครือข่าย ช่องทางจัดจำหน่ายและชำระค่าตั๋วผ่าน ATM เคาน์เตอร์เซอร์วิสพลัส และโทรศัพท์มือถือ
นายสีหพันธุ์ ชุมสาย ณ อยุธยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด สายการบิน นกแอร์ เปิดเผยว่า บริษัทจะยังไม่เปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ซึ่งจากกำหนดเดิมที่จะเริ่มบินในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ แทนการบินไทยที่จะหยุดบินในเส้นทางดังกล่าว ทั้งนี้เพราะในการเปิด เส้นทางบินเส้นนี้เป็นการเปิดเพื่อมาแทนการบินไทย ที่จะหยุดบินเพราะประสบภาวะขาดทุนมาก ดังนั้น จึงจะขอเวลาทำความเข้าใจและตกลงกับลูกค้าผู้ใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ ล่าสุดได้ ส่งคณะผู้แทนคือนายปิยะ ยอดมณี รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ สายการบินนกแอร์ พร้อมตัวแทนจากการบินไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปเจรจาทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ประท้วง ตลอดจนศึกษาตลาดอย่างละเอียด คาดว่าใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ จะได้ข้อมูลครบถ้วน
ดังนั้นจึงยังไม่สามารถตอบได้ว่า นกแอร์จะเปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอนได้เมื่อใด คงต้องรอผลศึกษา แล้วนำมาประเมินแผนงานและกลยุทธ์ก่อน แต่แน่นอนว่าราคาของตั๋วเครื่องบินในเส้นทางนี้จะต้องสูงกว่า 1,500 บาทต่อที่นั่ง เพราะเราต้องคำนวณหาต้นทุนก่อนกำหนดราคา ซึ่งนกแอร์ ได้เตรียมใช้เครื่อง ATR-72 ขนาด 66 ที่นั่ง สำหรับบินในเส้นทางดังกล่าว
ปัจจุบัน เส้นทางเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน มีการบินไทยเพียงสายเดียวที่บินอยู่โดยประสบภาวะขาดทุนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในอดีต การบินไทยกำหนดราคาตั๋วที่ 800 บาทต่อที่นั่ง และมาปรับเพิ่มเป็น 1,500 บาทต่อที่นั่ง โดยการปรับเพิ่มมาจากค่าเซอร์ชาร์จน้ำมัน และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ให้บริการวันละ 4 เที่ยวบิน
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเรียกร้องของผู้ชุมนุมประท้วง ไม่ยอมรับสายการบินนกแอร์เพราะไม่พอใจที่จะต้องใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์ โดยอ้างเหตุผลว่า ออกบินไม่ตรง เวลา และไม่มีบริการขณะอยู่บนเครื่องบิน ไม่เหมือนการบินไทย ประกอบกับมองว่าราคาตั๋วที่การบินไทยกำหนดอยู่ปัจจุบันนี้เหมาะสม เพราะระยะทางบินสั้น แต่นกแอร์ซึ่งเป็นโลว์คอสต์กลับย้ำชัดเจนว่าจะกำหนดราคาค่าตั๋วสูงกว่าการบินไทย จับมือ 5 พันธมิตรชำระค่าตั๋วนกแอร์
ทางด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร สายการบินนกแอร์ เปิดเผยถึงแผนการตลาดในด้านช่องทางจัดจำหน่ายว่า ล่าสุด นกแอร์ ได้จับมือพันธมิตร 5 รายเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการ จองและชำระค่าบริการเที่ยวบิน (ค่าตั๋ว) ผ่านเครือข่าย ประกอบด้วย เคาน์เตอร์ เซอร์วิส พลัส ณ ร้าน 7-อีเลฟเว่น, ชำระผ่านตู้ ATM ของ 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และแอดวานซ์ เอ็มเปย์ (เอไอเอส) ซึ่งเป็นการชำระผ่านโทรศัพท์มือถือในระบบแว็บ
โดยก่อนหน้านี้ นกแอร์ เปิดให้บริการชำระค่าตั๋วเครื่องบินผ่านเคาน์เตอร์ เซอร์วิส พลัส ณ ร้าน 7-อีเลฟเว่น และตู้ ATM ของธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ยังต้องการให้ลูกค้าสะดวกสบายยิ่งขึ้น จึงได้เจรจากับธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย รวมถึงแอดวานซ์ เอ็มเปย์ เพื่อให้ลูกค้านกแอร์ สามารถชำระเงินผ่านระบบเครือข่ายได้เพิ่มเติมสอดคล้องไลฟ์สไตล์ของคนไทยในยุคปัจจุบัน เพราะจากฐานข้อมูลของนกแอร์ พบว่าลูกค้า 60% ของนกแอร์ มีการจ่ายเงินแบบไม่ใช้บัตรเครดิต สำหรับ ขั้นตอนการสำรองที่นั่ง ให้ใช้คอลเซ็นเตอร์ เบอร์ 1318 เพื่อสำรองที่นั่งจากนั้นลูกค้าจะได้หมายเลข PAY CODE เพื่อมาชำระผ่าน ตู้ ATM
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ นกแอร์จะเร่งเพิ่มคุณภาพบริการให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเข้ามาเป็นลูกค้าประจำของนกแอร์ สำหรับแผนการเปิดเส้นทางบินไปต่างประเทศ จะเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันแพง ทำให้บริษัทต้องทบทวนต้นทุน ก่อนวางแผนในการดำเนินธุรกิจ สำหรับในประเทศปัจจุบันนกแอร์บินอยู่ 4 เส้นทาง คือ ภูเก็ต อุดรธานี หาดใหญ่ และเชียงใหม่
|
|
|
|
|