Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กันยายน 2548
ธุรกิจ"น้ำประปาทะเล"บูมเล็งขยายสู่แหล่งท่องเที่ยว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์

   
search resources

ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์, บจก.
Water Supply and Irrigation




เอกชนสยายปีกผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล เจาะแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญของประเทศ หลังลงทุนเกาะสีชัง-เกาะสมุยได้ผลเกินคุ้ม เล็ง "ภูเก็ต-เกาะช้าง-เกาะพงัน" คิวต่อไป แนะภาคอุตสาหกรรมหวังพึ่งน้ำธรรมชาติอย่างเดียว ไม่ได้ ต้องนำระบบสกัดน้ำทะเลไปใช้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง

นายไพโรจน์ สัตยสัณห์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี้ส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ผู้จัดการรายวัน" เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทในการ นำเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลมาใช้ในประเทศว่า การดำเนินงาน ของบริษัทในการขายน้ำจืดที่ได้จากการสกัดน้ำทะเลได้ผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในแง่การ ลงทุนและในแง่ของการช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ปัจจุบันบริษัทผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล โดยใช้ระบบ "รีเวอร์ส ออสโมซีส" หรือ "RO" จ่ายน้ำให้กับ เทศบาล ต.เกาะสีชัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จำนวน 500 ลบ.ม./วัน ขณะเดียวกันบริษัทยังจ่ายน้ำให้กับ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 2,500 ลบ.ม./วัน ด้วยวิธีเดียวกัน ทำให้เกาะสีชังและเกาะสมุยไม่ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำเหมือนแหล่งอื่นๆ ของประเทศ

นายไพโรจน์ กล่าวว่า น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะ ต้นทุนถูกกว่า แต่ในสภาพภูมิประเทศบางแห่งที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและมีผู้คน อาศัยอยู่เยอะ มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ จึงต้องนำเทคโนโลยีมาสู้กับธรรมชาติ

"เกาะสีชังเป็นภูเขาหมดพื้นที่ราบที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำไม่มีเลย ไม่สามารถทำน้ำประปาได้ ส่วนการทำท่อมีข้อเสียคือใช้เงินลงทุนสูง ประกอบกับเกาะสีชังเป็นเกาะที่มีการทอดสมอเรือสินค้า อาจโดนท่อแตกได้ ส่วนที่เกาะสมุยนักท่องเที่ยว เยอะน้ำไม่พอใช้ การพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมคือการสกัดน้ำทะเลเป็นน้ำจืด" นายไพโรจน์ กล่าว

สำหรับต้นทุนการผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำจืดประมาณ 40 บาท/ลบ.ม. แต่ต้นทุนดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ขณะที่ราคาขายน้ำของทุกโครงการจะคำนวณกำไรประมาณ 10% หรือ 44-45 บาท/ลบ.ม แต่ราคาขายอาจมากขึ้นถ้าต้องจ่ายน้ำถึงบ้านเรือนของผู้ใช้ เพราะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า โครงการของบริษัททั้งสองแห่งสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 5-7 ปี โดยบริษัทเตรียมลงทุนอย่างต่อเนื่องตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ซึ่งโครงการต่อไปของบริษัทจะลงทุนที่เกาะล้าน และเกาะช้าง นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างทำการศึกษาความคุ้มค่าต่อการลงทุนที่เกาะพงัน และเกาะภูเก็ตด้วย

"การบริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบ RO ร่วมกับการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องออกแบบว่าจะใช้น้ำธรรมชาติกี่เปอร์เซ็นต์และจะต้องใช้ RO กี่เปอร์เซ็นต์ โดยพิจารณาจากสภาพของแต่ละพื้นที่ อย่างเกาะสีชังต้องใช้ RO เกือบ 100% เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติไม่มีเลย ส่วนที่เกาะสมุย ใช้ระบบ RO 15% และที่เกาะล้าน ปัจจุบันใช้การขนน้ำจืดทางเรือ 100% แบบนี้ใช้ RO ดีกว่า" นายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวถึงการนำระบบ RO มาใช้แก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรมว่า หากภาคอุตสาหกรรมนำวิธี RO ไปใช้เพื่อสกัดน้ำจืดให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแน่นอน แต่สาเหตุที่ปัจจุบันยังไม่ทำ เนื่องจากต้นทุนสูงมากกว่าการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีราคาประมาณ 11 บาท/ลบ.ม. แต่ถ้าหากน้ำวิกฤตจนต้องหยุดเครื่องจักร การสกัดน้ำทะเลถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก

นอกจากนี้ ในแต่ละวันภาคอุตสาหกรรมปล่อยน้ำทิ้งออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งน้ำเหล่านั้นสามารถใช้กรรมวิธี RO สกัดเป็นน้ำบริสุทธิ์ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้น้ำทิ้งจากโรงงานมาสกัดยังมีผลดีในแง่ใช้แรงดันในการสกัดน้อยกว่า ทำต้นทุนการผลิตต่ำกว่า การสกัดจากน้ำทะเลอีกด้วย ดังนั้น RO เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในสภาวะที่รถขนน้ำวิ่งกันอยู่อย่างนี้

"ในอีกแง่หนึ่งถ้าวันที่ขาดน้ำจริงๆ และหยุดเครื่องจักรไม่ได้ ถ้าต้องสกัดน้ำทะเลก็คุ้ม ซึ่งระบบ RO นี้ เป็นระบบที่เหมาะสำหรับเป็นแบ็กอัพ คือ ทำให้ เกิดเสถียรภาพต่อการใช้น้ำ หรือเป็นการป้องกันความ เสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ระบบหลักผมยังเชียร์การใช้น้ำธรรมชาติดีกว่าเพราะต้นทุนถูกกว่า" นายไพโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us