|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
คณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาท ปัญหาดอนเมืองโทลล์เวย์ สรุป 2 แนวทางเสนอ รมว.คลัง-คมนาคม สัปดาห์นี้ ทางแรกขยายระยะเวลาสัมปทาน 6 ปี แลก ลดค่าผ่าน 5 ปี ส่วนแนวทางที่สองคือ เสนอ ซื้อหุ้นคืนทั้งหมด ในราคาตั้งแต่ 5 บาท ถึง 9 บาท เพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ อย่างเบ็ดเสร็จ
นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง ในฐานะคณะกรรมการเจรจาเรื่องการแลกการขยายระยะเวลาสัมปทานกับการลดค่าผ่านทางของบริษัททาง ด่วนยกระดับดอนเมือง จำกัด หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้คณะกรรมการฯ จะเสนอผลสรุปแนวทางของเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนที่จะเสนอให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
โดยแนวทางที่จะเสนอนั้น จะมี 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การขยายระยะเวลาสัมปทานให้อีก 6 ปี เพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทาง 5 ปี คือ อัตรา 20 บาทตลอดเส้นทางในช่วงปีแรก และในอัตรา 20 บาท กับอีก 10 บาทในส่วนต่อขยาย ในช่วง 4 ปีถัดไป
ส่วนแนวทางที่สอง คือ การขอเสนอซื้อหุ้น จากบริษัทฯ ทั้งหมดจำนวน 450 หุ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุมทั้งในเรื่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรแบบเบ็ดเสร็จในอนาคต การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างภาครัฐและบริษัทฯ และสุดท้าย คือ แก้ปัญหาให้แก่ผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ต้องการจะขายหุ้น คืนให้แก่ทางการ ซึ่งแนวทางนี้จะมีการเสนอราคา ซื้อไว้หลายราคา ได้แก่ ราคาหุ้นละ 5 บาท 6 บาท 7 บาท และ 9 บาท ขึ้นอยู่กับตัวแปร 2 ตัวที่แตกต่างกัน คือ 1. ความเสียหายที่แท้จริง และ 2. ปริมาณการจราจรในช่วงระยะเวลาสัมปทานที่เหลืออีก 17 ปี
"ที่ต้องเสนอราคาซื้อไว้หลายช่วง ก็เพราะเราไม่รู้ว่าความเสียหายจริงๆ เนื่องจากไม่รู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของใคร อย่าง เรื่องการสร้างทาง Local Road ที่ทางบริษัทมองว่าภาครัฐทำให้เขาเกิดความเสียหาย เช่นเดียวกับเรื่องปริมาณการจราจรที่ไม่แน่นอน ในช่วงระยะเวลาสัมปทานที่เหลืออีก 17 ปี ซึ่งทาง บริษัทฯ ใช้ตัวเลขความเสียหาย 15,000 ล้านบาท บวกกับมูลค่าทางธุรกิจในการคำนวณ ทำให้ราคา หุ้นสูงถึง หุ้นละ 18-19 บาท แต่เขาเสนอขายในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท แต่ราคาที่เราประเมินว่าเหมาะสมอยู่ที่ 5 บาทกว่าๆ เท่านั้น"
นางสุภา กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยส่วนตัวมองว่า ถ้ามีงบประมาณจำกัด ควรเลือกแนวทางแรก เพราะการนำเงินงบประมาณมาซื้อหุ้นเท่ากับเป็นการผลักภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีทั้งประเทศ ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์ คือ ผู้ที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น และแม้ว่าจะใช้เงินของกรมทางหลวงที่มีอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาทก็ตาม เพราะเงินจำนวนนี้ ควรนำไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนรวมของประเทศมากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากเลือกแนวทางนี้ ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติต้องการขาย และปัญหา ข้อพิพาทระหว่างบริษัทและภาครัฐในอนาคต เช่น บริษัทฯ อาจฟ้องร้องภาครัฐอีกหากมีการสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินไปรังสิต เป็นต้น
|
|
 |
|
|