|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทหลักทรัพย์ไทยตบเท้าดึงพันธมิตรต่างประเทศเข้ามาช่วยเกื้อหนุนธุรกิจตลาดอนุพันธ์ เหตุเป็นธุรกิจใหม่หวังให้ถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมเรียกร้องให้จัดตั้งระบบไอทีพูลเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน
นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สินเอเซีย จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทจากต่างประเทศแห่งหนึ่งเพื่อที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในด้านตลาดอนุพันธ์คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าว่าภายในปีแรกบริษัทจะเป็นโบรกเกอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดติด 1 ใน 5 เพราะเชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรจากต่างประเทศเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ เชื่อว่าโบรกเกอร์ในตลาดอนุพันธ์ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยนั้นจะต้องหาพันธมิตรจากต่างประเทศเข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ให้เพราะตลาดอนุพันธ์ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยขณะที่ในต่างประเทศจะมีประสบการณ์เป็นอย่างดี ขณะที่โบรกเกอร์ที่มีต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็จะใช้เทคโนโลยีของผู้ถือหุ้นเข้ามาสนับสนุน
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บล.ภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจกับเมอร์-ริลลินช์จะครอบคลุมที่จะร่วมทำธุรกิจในด้านตลาดอนุพันธ์ด้วยซึ่งเชื่อว่าจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ โดยลูกค้าของเมอร์ริลลินช์ที่ต้องการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ก็สามารถซื้อขายผ่านบริษัทได้
สำหรับการเตรียมความพร้อมนั้นขณะนี้ได้มีบุคลากรที่จะเข้ามารองรับแล้วและอยู่ระหว่างการเลือกระบบการซื้อขายว่าจะใช้ระบบใด เพราะขณะนี้มี 3 ระบบที่จะใช้ โดยภายในปีแรกนั้นบริษัทคาดว่าจะเติบโตในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปโดยกลุ่มลูกค้าจะเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ที่ต้องการใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
นางอัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการ บล. ธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธุรกิจอนุพันธ์ของบริษัทนั้นจะร่วมกับ กลุ่มบีเอ็นพี พารีบาส์ที่ได้ร่วมทำธุรกิจด้วยกันหลายด้าน ทั้งในส่วนของธุรกิจนายหน้า, งานวิจัยและวาณิชธนกิจโดยในส่วนของตลาดอนุพันธ์นั้น บริษัทหวังจะที่ให้กลุ่มบีเอ็นพีพารีบาส์เข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าว่าภายในปีแรก น่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 5% โดยพิจารณาจากโบรกเกอร์ที่มีอยู่ 20 ราย ดังนั้นส่วนแบ่งการตลาดโดยเฉลี่ยน่าจะได้รายละประมาณ 5% และบริษัทตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีแรกของการประกอบธุรกิจน่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนได้ ส่วนการแข่งขันในธุรกิจอนุพันธ์นั้นคาดว่าในช่วงแรกไม่น่าจะมากนักเพราะโบรก-เกอร์แต่ละแห่งคงจะดูแลฐานลูกค้าเดิมของตนเองเป็นหลัก
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการ บล.กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจอนุพันธ์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และขอเข้าเป็นบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์กับบริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) ไม่ทัน เนื่องจากบริษัทอยู่ในช่วงเพิ่งเปิดดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บริษัทก็สนใจที่จะประกอบธุรกิจดังกล่าวเพราะจะได้ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างครบวงจร
ทั้งนี้ บริษัทเตรียมที่จะยื่นขอใบอนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต.ภายในเร็วๆ นี้ ซึ่งถ้าได้รับใบอนุญาต แต่ยังไม่ได้เป็นโบรกเกอร์ ก็อาจจะส่งคำสั่งซื้อขายผ่านไปยังบริษัทหลักทรัพย์อื่น ที่ได้เป็นโบรกเกอร์ได้เช่นกันเหมือนในลักษณะเป็นซับโบรกเกอร์
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ควรที่จะจัดระบบไอทีแบบพูล เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน และจะได้สามารถแข่งขันกับ ต่างประเทศได้
"เราไม่ควรที่จะแข่งขันกันเองในด้านของไอที แต่ควรที่จะร่วมมือกันในส่วนของไอทีพูล แต่ควรที่จะหันไปขยายตลาดโดยเฉพาะการ ขยายฐานนักลงทุนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
อนึ่งก่อนหน้านี้บริษัททรีนีตี้ วัฒนาได้ร่วมกับกลุ่ม Polaris จากไต้หวันในการทำธุรกิจอนุพันธ์โดยบริษัททรีนีตี้วัฒนาได้จัดตั้งบริษัทย่อยคือบริษัททรีนีตี้ ฟิวเจอร์ส โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ถือหุ้น 75.5% และกลุ่ม Polaris ถือหุ้นในสัดส่วน 24.5% ขณะที่บริษัทอยุธยาดิริฟวทีฟส์ในเครือบล.กรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำธุรกิจอนุพันธ์เช่นกันและมีแผนที่จะดึงต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นรวมถึงบล.แอ๊ดคินซัน ที่มีแผนที่จะดึงพันธมิตรจากไต้หวันเข้ามาช่วยในธุรกิจอนุพันธ์
|
|
|
|
|