Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กันยายน 2548
"ตาลขอนแก่น"รุกธุรกิจพลังงาน ทุ่ม350ล้านผลิต"เอทานอล"ปลายปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

น้ำตาลขอนแก่น, บมจ.
Oil and gas




"น้ำตาลขอนแก่น" รุกธุรกิจพลังงานทดแทน ทุ่มเงินลงทุนกว่า 350 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ที่จังหวัดขอนแก่น ตั้งเป้า ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล 150,000 ลิตร/วัน จาก วัตถุดิบกากน้ำตาล 400 ตัน/วัน พร้อมหาวัตถุดิบอื่น เสริมการผลิต คาดเดินสายผลิตภายในเดือนธันวาคม ปีนี้ ชี้อุปสรรคต้นทุนผลิตสูงไม่คุ้มผลิตเชิงธุรกิจยันต้องเจรจากับรัฐ ให้ลอยตัวราคาเอทานอลกับเบนซิน 95 ในราคา 3-4 บาท/ลิตร แต่ย้ำชัดเดินเครื่องผลิตเอทานอลแน่ แม้ยังไม่ได้ข้อยุติราคารับซื้อเอทานอล

นายณรงค์ จิตร์น้อมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายผลิต บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน"ถึงการตั้งโรงงาน ผลิตเอทานอลว่า บริษัทน้ำตาลขอนแก่นได้รับอนุมัติ ตั้งโรงงานผลิตเอทานอล จากคณะกรรมการเอทานอล แห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานและติดตั้ง เครื่องจักร บริเวณที่ตั้งโรงงานภายในบริเวณเดียวกับ โรงงานน้ำตาลขอนแก่น ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ทั้งนี้ บริษัททุ่มเงินลงทุนกว่า 350 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างโรงงานและเครื่องจักร ไม่รวมค่าที่ดิน ล่าสุดผลการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร ติดตั้งเครื่องจักร และระบบต่างๆ ภายในโรงงานคืบหน้ามากกว่า 82% คาดว่าภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ระบบ ต่างๆ จะติดตั้งแล้วเสร็จ พร้อมทดสอบเครื่องจักรประมาณต้นเดือนธันวาคม และสามารถเดินเครื่องผลิตเอทานอลได้ภายในเดือนธันวาคม 48

นายณรงค์กล่าวอีกว่า ศักยภาพการผลิต เอทานอล เบื้องต้นได้รับอนุญาตผลิตที่ 85,000 ลิตร/วัน ต่อมาบริษัทน้ำตาลขอนแก่นได้ขอขยายการผลิต เอทานอลเป็น 150,000 ลิตร/วัน โดยวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เป็นกากน้ำตาล หรือโมลาส ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลขอนแก่น มาใช้ผลิตในโรงงานเอทานอลที่อยู่ในบริเวณใกล้กัน ซึ่งต้องใช้กาก น้ำตาลสูงถึง 400 ตัน/วัน เพื่อแปรรูปเป็นเอทานอล 150,000 ลิตร ขณะเดียวกันสามารถใช้วัตถุดิบชนิดอื่นเสริมการผลิต ในกรณีที่เอทานอลไม่เพียงพอ

สำหรับเครื่องจักรผลิตที่นำมาใช้ผลิตเอทานอล เป็นเทคโนโลยีจากประเทศอินเดียซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตเอทานอล เครื่องจักรรุ่นที่ นำเข้านี้ มีความสามารถในการผลิตเอทานอลได้จาก วัตถุดิบหลากหลายชนิด ทั้งกากน้ำตาล น้ำเชื่อม มัน สำปะหลัง หรือแม้กระทั่งข้าวฟ่างหวาน โดยเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ จะใช้กากน้ำตาล เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

ที่ผ่านมา โรงงานน้ำตาลขอนแก่น ได้ทำความเข้าใจ กับชาวไร่อ้อยในเขตส่งเสริม ในพื้นที่หลายอำเภอของ จังหวัดขอนแก่น ให้เข้าใจถึงการขยายการลงทุนผลิต เอทานอล ที่ชาวไร่อ้อยจะได้ประโยชน์ต่อเนื่องจากการ ผลิตเอทานอล จะทำให้กลไกราคารับซื้ออ้อยปรับตัว สูงขึ้นตามความต้องการผลผลิตอ้อย โดยชาวไร่อ้อย ในเขตส่งเสริมจะขยายพื้นที่ปลูกอ้อยให้มากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการในทุกอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในอุตสาหกรรมผลิต เอทานอล ณ ปัจจุบันคือ ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่สอดคล้องกับราคารับซื้อเอทานอลที่รัฐบาลใช้นโยบายควบคุมราคาไว้ที่ 15 บาท/ลิตร โดย เฉพาะโรงงานเอทานอลที่ใช้วัตถุดิบจากกากน้ำตาล จะประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าวัตถุดิบชนิดอื่น เนื่องจากราคากากน้ำตาลปี 2548 ปรับตัวสูงขึ้นถึง 90 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หรือตันละ 3,600 บาท

นายณรงค์กล่าวว่า ราคากากน้ำตาลระดับดังกล่าว กระทบต่อต้นทุนการผลิตเอทานอล ปรับตัวสูงขึ้นถึง 18-19 บาท/ลิตร ขณะที่รัฐคุมราคาเอทานอลไว้ที่ 15 บาท/ลิตร ซึ่งไม่สอดคล้องกับต้นทุนผลิตที่แท้จริง โดยผู้ประกอบการผลิตเอทานอลจะเข้าไปหารือกับรัฐบาล เกี่ยวกับราคารับซื้อเอทานอล จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตเอทานอล

กรณีปัญหาราคารับซื้อเอทานอล รัฐบาลไม่ควรใช้มาตรการควบคุมราคารับซื้อไว้ แต่ควรเป็นในลักษณะลอยตัว ตามราคาน้ำมันเบนซิน 95 โดยกำหนดเพดานช่องว่างระหว่างราคาเอทานอลให้ต่ำกว่า เบนซิน 95 ประมาณลิตรละ 3-4 บาท ซึ่งปัจจุบันราคา เบนซิน 95 ปรับขึ้นไปถึง 26 บาท/ลิตร ช่องว่างราคา กับเอทานอลสูงถึง 11 บาท/ลิตร เชื่อมั่นว่า ช่องว่างราคาที่ระดับ 3-4 บาท ยังเป็นระดับราคาที่บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน สามารถกำหนดราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ 95 ต่างจากเบนซิน 95 ได้ในระดับ 1.50 บาทได้

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เผชิญปัญหาน้ำมันแพง และการรณรงค์ใช้พลังงานทดแทน ทำให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาใช้แก๊สโซฮอล์สูงเกินคาด จนผลผลิตเอทานอลไม่เพียงพอนำมาผลิตแก๊สโซฮอล์ จนต้องนำเข้าเอทานอลจากประเทศบราซิล และอินเดีย มาเสริมการผลิตในช่วงขาดแคลน

โดยบริษัท น้ำตาลขอนแก่น ยืนยันที่จะผลิตเอทานอล แม้ว่าระดับราคารับซื้อเอทานอลจะไม่คุ้ม กับต้นทุนการผลิตที่แท้จริง โดยจะดำเนินการผลิตไป ก่อนตามเป้าหมายการผลิตที่แจ้งไว้กับคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติ ขณะเดียวกันจะเร่งเจรจากับรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายราคารับซื้อเอทานอลให้มีความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงธุรกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us