Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
finatiQ.com Virtual Bank             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ เอคเซนเชอร์
finatiQ Homepage

   
search resources

เอคเซนเชอร์
OCBC




OCBC กลุ่มธนาคารอันดับสองในสิงคโปร์ที่เติบใหญ่และมีจุดแข็งมาจากลูกค้าประเภท "Traditional Consumer" และธุรกิจ "Commercial Banking" ซึ่งพวกเขาพิจารณาแล้วว่า การทำงานอยู่บนแนวคิด "Conservative Bank" เป็นสิ่งที่มั่นคงและปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่มีผู้เล่นระดับโลกเข้ามาพร้อมกับนโยบายเชิงรุกสำหรับการแสวงหาโอกาส ซึ่งเป็นความท้าทายของ OCBC ครั้งสำคัญ เนื่องจากหากไม่ปรับตัว ไม่มีใบประกันถึงความอยู่รอดปลอดภัย พวกเขาจึงร่วมกับเอคเซนเชอร์ (Accenture) บริษัทที่ปรึกษา เพื่อสร้างธนาคารอินเทอร์เน็ต (Internet Bank)

finatiQ.com เป็นความสำเร็จของโครงการพัฒนากลยุทธ์ eCommerce ที่เอคเซนเชอร์ได้พัฒนาให้ธนาคาร OCBC ในปี 2542 แนวคิดเกิดจากความพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพ โดยใช้ใบอนุญาตประกอบการ (Dormant Banking License) จากการที่ OCBC ผนวกกิจการกับ Bank of Singapore โดยมีการแยกการให้บริการของธนาคาร และ finatiQ อย่างชัดเจน

OCBC ให้บริการต่างๆ เหมือนธนาคารพาณิชย์ปกติทั่วไป ขณะที่ finatiQ ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวโดยให้บริการความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้นการให้บริการดังกล่าวจึงต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการการเงินต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถหาผู้ให้บริการ ที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนตรงความต้องการได้

"เราเชื่อว่า Wealth Management เป็นช่องทางธุรกิจที่สามารถดึงดูดลูกค้าและ ช่วยสร้างการเติบโตที่มีเสถียรภาพ" เคนนาร์ด วอตโทวา (Kennard Wattowa) กรรมการกลุ่มปฏิบัติการธุรกิจสถาบันการเงิน และการธนาคารเอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการ finatiQ.com กล่าว

finatiQ เน้นที่ Wealth Management ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตในสิงคโปร์และภูมิภาคนี้ การให้บริการครอบคลุมถึงด้านออมทรัพย์ การลงทุนทรัสต์ออนไลน์และการซื้อประกันภัย โดยมีเครื่องมือสนับสนุน ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถกำหนดบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตามความต้องการของตนเอง

"การบริการมีความหลากหลายเป็น ทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนสิงคโปร์ต้องการและเห็น ว่ามีความคุ้มค่า" วอตโทวาเล่า "อย่างไรก็ดี กลุ่มลูกค้าจำเป็นต้องมีความพร้อมและ ความเข้าใจเพื่อช่วยในการตัดสินใจใช้บริการ และตัดสินใจที่จะลงทุนระยะยาวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น"

ภารกิจของวอตโทวา ที่ย้ายเข้ามาในเอเชียเมื่อ 3 ปีก่อน ก็คือ การจัดตั้ง "ธนาคารอินเทอร์เน็ต" ยังเป็นธนาคารที่ดำเนินการบนอินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบแห่งแรกของเอเชีย ให้กับกลุ่มธนาคาร OCBC หลังจากนั้นก็มีธนาคารอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกันนี้อีกหลายแห่งในญี่ปุ่นเข้ามาร่วมให้บริการ อาทิ ธนาคารเจแปนเน็ตแบงก์ (The Japan Net Bank) ธนาคารโซนี่แบงก์ (SonyBank) และอี-แบงก์ (eBank)

จากประสบการณ์การเปิดตัวธุรกิจธนาคารอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ที่วอตโทวาเคยดำเนินการ ทำให้ได้รับการแต่งตั้งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ finatiQ หน้าที่ของเขา คือ การปรับกลยุทธ์ให้ดีขึ้นและดูแลการพัฒนาความสามารถ โดยส่วนใหญ่แล้ว finatiQ ใช้โครงสร้างที่แยกจากโครงสร้างพื้นฐานของธนาคาร OCBC โดยเด็ดขาด

ในด้านราคาค่าบริการ finatiQ ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ว่า โครงสร้างราคาค่าบริการนั้นจะไม่ทำให้ผู้ให้บริการเหล่านั้น เกิดปัญหาการสูญเสียรายได้ในการทำธุรกรรมประเภทเดียวกัน ผ่านสาขาของผู้ให้บริการเอง ส่วนการตั้งชื่อว่า finatiQ จากการรวมเอาคำว่า Finance และ IQ เข้าด้วยกัน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะในด้านการเงิน

การเปิดตัวแบรนด์ใหม่นี้เป็นเรื่องที่ใครๆ พูดถึงกันมากในสิงคโปร์ เพราะทำให้เกิดความสนใจอย่างมาก และยังคงดำเนินการ เพื่อสร้างตลาดลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น โดยจัดการสัมมนาและการสร้างเสริมการขายแบบ Street Promotion

ความสำเร็จของธนาคารที่ดำเนินการและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของการให้บริการซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะตัดสินว่า ประเทศไทยพร้อมหรือยังสำหรับธุรกิจนี้ อีกทั้งปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา คือ ความพร้อมของลูกค้า "เราเชื่อว่าตอนนี้ถึง เวลาแล้วที่ธนาคารชั้นนำของไทยจะขยายการให้บริการมาสู่ Wealth Management เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้" วอตโทวาบอก

อย่างไรก็ดี เขายังไม่คิดว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่สร้างความสำเร็จได้ในไทยขณะนี้ จากธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มบริการและข้อเสนอมากขึ้น ทำให้ธนาคารที่ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวประสบปัญหา "ไม่สามารถขยายฐานลูกค้าและความหลากหลายของการให้บริการ เพื่อแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ได้"

อนึ่ง เขาเชื่อว่า จากการใช้อินเทอร์เน็ตและความรู้ด้านการเงินในไทยกำลังขยายตัวและพัฒนาขึ้น ธุรกิจธนาคารอินเทอร์เน็ตจะประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

"ไม่มีเหตุผลใดที่ธนาคารไทยจะไม่สามารถให้บริการที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ แต่ข้อสำคัญ คือ ความพร้อมของลูกค้าในการใช้บริการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน" วอตโทวากล่าว

ถ้าพูดถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งพื้นฐาน เช่น สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีลูกค้า การทำธุรกรรมต่างๆ นั้น นับได้ว่าธนาคารส่วนใหญ่ในโลกสามารถให้บริการได้พอๆ กัน แต่ความแตกต่างจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเริ่มเปรียบเทียบความสามารถในเชิงลึกของการทำธุรกรรม

"Wealth Management ออนไลน์ ธนาคารชั้นนำระดับโลกสามารถให้ คำปรึกษา และเครื่องมือต่างๆ ในการวางแผนด้านการเงินออนไลน์ได้ ธนาคาร ระดับภูมิภาคยังไม่สามารถดำเนินการได้ ยกเว้น finatiQ ผมยังไม่เคยได้ยินว่าธนาคารไทยรายใดให้บริการออนไลน์เต็ม รูปแบบได้เช่นกัน และไม่คิดว่าขณะนี้เป็น ช่วงเวลาเหมาะสมสำหรับการลงทุนสร้าง ขีดความสามารถที่จะให้บริการเต็มรูปแบบ"

กระนั้นก็ดี ไม่สามารถอธิบายถึง ความแตกต่างระหว่าง finatiQ กับอินเทอร์เน็ตแบงก์ของธนาคารพาณิชย์ไทยได้ เนื่องจาก finatiQ ไม่ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อทำธุรกรรมและให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ เช่นเดียวกับธนาคารทั่วไป ขณะที่ธนาคารของไทยให้บริการพื้นฐานออนไลน์ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us