Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 กันยายน 2548
“กัลฟ์แอร์”คลิกไอเดียบริการแนวใหม่เซอร์ไพร์สลูกค้าบนเครื่อง             
 


   
search resources

Aviation
สายการบินกัลฟ์แอร์




ทิศทางของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงไม่หยุด แน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินจนทำให้ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและสิ่งที่ “กัลฟ์แอร์”สายการบินที่มาจากตะวันออกกลางกำลังจะดำเนินการในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยรูปแบบการให้บริการถึงลูกถึงคนไม่ว่าจะเป็นการให้เชฟขึ้นไปบนเครื่องเพื่อปรุงอาหารหรือแม้แต่ให้บริการดูแลเด็กอ่อนบนเครื่องแบบเนสเซอรี่ อาจจะพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการบินเช่นกัน

ธุรกิจการบิน....สิ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของตัวแบรนด์คือการให้บริการบนเครื่องซึ่งแต่ละสายการบินก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป สายการบิน กัลฟ์แอร์ จึงเจาะจงใช้ยุทธวิธีที่แปลกใหม่ไม่มีใครทำมาก่อนประเดิมนำร่องเพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและนั่นหมายถึงการสร้างความจดจำให้กับลูกค้าที่เดินทางต่อไปในอนาคตอีกด้วย

สอดคล้องกับคำพูดที่ว่า ‘การเลือกเครือข่าย ลูกค้าและจุดหมายปลายทางให้เหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจการบิน’ของ แดนนี่ บาเรนเจอร์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการขายของสายการบินกัลฟ์แอร์

ขณะที่แนวคิดนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและประเพณีของคนในแถบเอเชียด้วยกันและเพื่อสร้างความประทับใจโดยที่ลูกค้าไม่ทันได้รู้ตัวจะสร้างความจดจำที่ดีอย่างหนึ่ง ดังนั้นการหาเส้นทางที่เหมาะสมจึงเป็นแผนกลยุทธ์ที่ถูกวางไว้ให้ประสบความสำเร็จและบทสรุปของโครงการจึงมาจบลงด้วยการเลือกประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชียของกัลฟ์แอร์เพื่อนำร่องโครงการนี้ ขณะเดียวกันสายการบินกัลฟ์แอร์หวังที่จะดูดนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจชาวตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา ให้เดินทางระหว่างประเทศกันมากขึ้น

กอปรศักยภาพของตัวสนามบินสุวรรณภูมิที่สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้มากกว่า 50 ล้านคนและการมีสาธารณูปโภครวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงภายในตัวสนามบินเอง บวกกับโลเคชั่นที่เอื้ออำนวยในการบินไปยังภูมิภาคต่างๆ ในแถบเอเชีย ส่งผลให้กัลฟ์แอร์เลือกไทยเป็นฮับการบินไปยังตะวันออกกลาง เอเชียใต้และแอฟริกา

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อลดต้นทุนในธุรกิจการเลือกไทยเป็นยุทธศาสตร์ในการบินถือว่าช่วยลดต้นทุนได้มาก เนื่องจากเส้นทางบินที่เดินทางมาไทยเป็นเส้นทางที่สามารถสร้างเม็ดเงินและผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมากทำให้นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเข้ามาประเทศไทย

ตัวเลขที่ผ่านมาของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกกลางเดินเข้ามาเที่ยวในไทยมีอัตราการเติบโตสูงถึงกว่า 40 % เมื่อเทียบจากปีก่อนๆ อาจเกิดมาจากเป็นเพราะกัลฟ์แอร์คือสายการบินเดียวที่ครอบคลุมภาคพื้นตะวันออกกลางทั้งหมด จึงสามารถขนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางมาเที่ยวเมืองไทยได้เป็นจำนวนไม่น้อย บวกกับนโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ที่เห็นโอกาสทางการตลาดสบช่องหวังดึงนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางเข้ามาอยู่แล้วทำให้ธุรกิจนี้เรียกได้ว่า win win

และด้วยศักยภาพความพร้อมของจุดหมายปลายทางที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการรองรับนักท่องเที่ยวอย่างเพรียบพร้อม ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางก็เต็มใจที่จะเดินทางมาเที่ยว ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยได้ประโยชน์ จากกัลฟ์แอร์ ครั้งนี้จึงถือว่าเป็นการเกื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

นอกจากบทบาทหน้าที่สำคัญของ สจ๊วต และ โฮสเตส ที่มักเห็นให้บริการกันบนเครื่องบินจนเป็นภาพที่ชินตาไปแล้วนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์ของแต่ละสายการบิน ดังนั้นการจุดกระแสเพื่อสร้างความแตกต่างบนเครื่องบินจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทุกสายการบินพยายามค้นหาและหยิบนำมาใช้หวังให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกระทั่งสายการบินกลัฟ์แอร์ได้ออกแคมเปญใหม่แกะกล่องภายใต้ชื่อ ‘Sky Chef’ ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างความพึงพอใจและความรู้สึกที่แตกต่างให้กับผู้บริโภค โดยกัลฟ์แอร์จะใช้พ่อครัวจำนวน 120 คนจาก 35 ประเทศ เพื่อออกแบบและทำอาหารให้ตรงกับความต้องการของผู้โดยสารในแต่ละประเทศ โดยบริการนี้จะอยู่ในชั้น first class ซึ่งเป็นชั้นที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 30-35 %

นอกจากนี้ยังมี ‘Sky Nanny’ สกายแนนนี่ที่เป็นบริการสำหรับครอบครัวและเด็กโดยเฉพาะ เพื่อหวังใช้เจาะกลุ่มเป้าหมายที่มาเป็นแบบครอบครัว อย่างน้อยค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบเดี่ยวกับการเดินทางเป็นกลุ่มครอบครัวนั้น ตัวเลขรายรับบวกค่าใช้จ่ายที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันแน่นอน

กลุ่มเป้าหมายที่สายการบินกัลฟ์แอร์หวังไว้สำหรับปีนี้จึงไม่ไกลเกินเอื้อม ด้วยยอดตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการกัลฟ์แอร์บินเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 114,000 คนต่อปี และมีรายได้คิดเป็น 800 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา สำหรับสิ้นปีนี้แล้วแผนการฉุดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาใช้บริการจึงถูกตั้งเป้าไว้โดยมียอดตัวเลขของรายได้สูงถึง 1,000 ล้านบาททีเดียว แสดงว่าจะต้องมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวในไทยไม่น้อยกว่า 125,000 คน หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงถึง 10%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us