|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*ระบุพื้นที่ลาดกระบัง วัดศรีวารีน้อย แจ็คพอตโดนเวนคืนเพิ่ม 4,000 ไร่ ใน 15 ปี
*เตือนเจ้าของที่ดิน ไม่ควรปลูกสร้างอาคารถาวร เพราะอาจอยู่ในแนวเวนคืน
*ดีเดย์ 26 ก.ย.นี้ นายกฯทักษิณ ชินวัตร ชี้ขาดใช้ผังเมืองเฉพาะ หรือปรับปรุงผังเมืองสมุทรปราการ
สนามบินสุวรรณภูมิที่กำลังจะเปิดให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เที่ยวบินแรก ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ ยังมีปัญหาคาราคาซังอีกหลายอย่างที่รอการแก้ไข อาทิ ปัญหามลพิษทางเสียง ทางอากาศ แนวรันเวย์ และล่าสุด การเวนคืนที่ดิน ที่มีแนวโน้มที่จะต้องเวนคืนที่ดินรอบ ๆ นครสุวรรณภูมิอีกราว 4,000 ไร่ ในอนาคต
สุวัฒน์ วาณีสุบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิจะต้องมีการตั้งบรรษัทพัฒนาเมืองขึ้นมาดำเนินการเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
นอกจากนี้การพัฒนาเมืองควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่มีความลงตัว และสวยงาม รวมถึงไม่ให้เกิดปัญหาตามมา โดยจะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มในอนาคตอีก 4,000 ไร่
สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในแนวเวนคืน เป็นพื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของสนามบินช่วงระหว่างลาดกระบัง-วัดศรีวารีน้อย ซึ่งในอนาคตจะมีการออกกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ดังนั้น ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวจึงไม่ควรปลูกสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือสิ่งปลูกสร้างถาวร หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ของสนามบิน เพราะในอีก 15 ปีข้างหน้าภาครัฐต้องเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าว เพื่อใช้ก่อสร้างรันเวย์ที่ 5 รองรับการขยายตัวของสนามบิน
เสนอ“แม้ว”ชี้ขาด
ส่วนความคืบหน้าการจัดทำผังเมืองสุวรรณภูมินั้น สว่าง ศรีศกุน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯเตรียมนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการทำผังเมืองเฉพาะสุวรรณภูมิต่อคณะกรรมการบริหารสนามบิน ซึ่งมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยจะเสนอ 2 แนวทางในวันที่ 26 ก.ย.นี้ ได้แก่ การออกผังเมืองเฉพาะ และประกาศปรับปรุงผังเมืองสมุทรปราการใหม่ เพื่อสนับสนุนพื้นที่รอบสนามบินเป็นนครแห่งการบิน
กรมฯ เห็นว่าควรประกาศเป็นผังเมืองเฉพาะ เนื่องจากสามารถควบคุมการขยายตัวของพื้นที่ และจัดทำรูปแบบผังเมืองให้มีความสวยงามและมีประสิทธิภาพมากกว่าการปรับผังเมืองใหม่ ซึ่งหากประกาศเป็นผังเมืองเฉพาะจะทำให้เกิดความล่าช้า เพราะต้องใช้ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอย่างน้อยอีก 1 ปีจึงจะมีผลบังคับใช้ โดยในช่วงที่ยังไม่มีการประกาศใช้ผังดังกล่าวสามารถนำผังเมืองสมุทรปราการมาใช้แทนได้
“เป็นการเสนอผลการศึกษาให้รัฐตัดสินใจ ถ้ารัฐไม่เห็นด้วยจะต้องมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาแก้ไข และเชิญชวนประชาชนมาร่วมแสดงความคิดเห็น จากนั้นจะต้องผ่านความเห็นจากบอร์ดผังเมือง ผ่านกระบวนการกฤษฎีกา ส่ง 2 สภา และถวายลงราชกิจจานุเบกษา แล้วจึงจะประกาศใช้ได้”
ระบบขนส่งพร้อมเชื่อมสุวรรณภูมิ
ด้านจตุพร สุวรรณปากแพรก นักวิชาการขนส่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงแผนดำเนินการโครงข่ายระบบจราจรและขนส่งเพื่อพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินว่า จะมีระบบทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link สายพญาไท-สุวรรณภูมิ ก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก รวมระยะทาง 28 กม. ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ทำการออกแบบและก่อสร้าง เป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนวิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร หรือรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โดยมีสถานีรถไฟฟ้าใต้อาคารผู้โดยสาร ประกอบด้วย 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน/อโศก รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที
นอกจากนั้นยังมี รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เริ่มที่สถานีมักกะสัน/อโศก ถึงสุวรรณภูมิ ระยะทาง 25 กม. ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาที และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองตั้งอยู่รวมกับสถานีมักกะสัน/อโศก ซึ่งผู้โดยสารสามารถที่จะเลือก Check-in บัตรโดยสารเครื่องบินและสัมภาระล่วงหน้า
สำหรับระบบการคมนาคมที่เชื่อมเส้นทางเข้าสู่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย ถนนยกระดับและถนนที่เชื่อมเส้นทางเข้าสู่ท่าอากาศยานจาก 5 ทิศทาง ได้แก่ ทิศเหนือ เป็นถนนยกระดับขนาด 8 ช่องจราจร จากถนนกรุงเทพ – ชลบุรีสายใหม่ เข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 6 ช่อง เชื่อมกับทางยกระดับจากถนนร่มเกล้าและถนนกิ่งแก้ว ทิศใต้ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนบางนา – ตราด และทางด่วนบูรพาวิถี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนอ่อนนุช และทิศตะวันตก เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนกิ่งแก้ว
ขณะที่โครงข่ายทางหลวง ประกอบด้วย
1.โครงการรัชดาภิเษก-รามอินทรา ตอนแยกทางหลวง 351 – บรรจบทางหลวง 304 (รามอินทรา)
2.โครงการเชื่อมต่อสุขาภิบาล 1 - วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
3.โครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ตอน สุขสวัสดิ์ – บางพลี
4.โครงการขยายถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ตอน ธัญบุรี - บางพลี
5.สายมีนบุรี-ลาดกระบัง
6.โครงการท่าอากาศยานฯ –ชลบุรี
7.โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 34 8.โครงการสาย 3256 แยกทางหลวง 34(บางนา-ตราด) - บรรจบทางหลวง 3268 (เทพารักษ์)
|
|
|
|
|