|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แกรมมี่ ซื้อหุ้นกิจการ มติชนและบางกอกโพสต์ สะท้อน ภาวะผู้นำของผู้บริหารแกรมมี่ บนความขัดแย้งของ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ที่จะกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กรทั้งสองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร หัวหน้ากลุ่มวิจัยภาวะผู้นำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวแสดงความเห็นถึงกรณี บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ แกรมมี่ ภายใต้การนำของ 'ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม' ที่ซื้อหุ้น 2 กิจการสื่อใหญ่ คือ บริษัม มติชน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ในวงเงินร่วม 2,000 ล้านบาท พร้อมยังประกาศว่าจะยึดครองหุ้นใหญ่ของกิจการของสื่อ ท่ามกลางกระแสต่อต้านและวิเคราะห์ในหลายๆประเด็น
รูปแบบการลงทุนเพื่อขยายกิจการของ บริษัทแกรมมี่ในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้นำ ที่มีผลต่อ วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม และความยั่งยืนขององค์กร ทั้งของกลุ่มแกรมมี่เอง และกลุ่มบริษัทสื่อทั้งสองกิจการที่บริษัทพยายามก้าวเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
แกรมมี่จะไม่เกิดปัญหาขึ้นเลย หากบริษัทเข้าไปลงทุนหรือควบรวมในกิจการหนังสือพิมพ์หัวสี หรือหนังสือพิมพ์ทางด้านบันเทิงสักฉบับ เพราะเป็นประเภทสื่อที่เอื้อและอยู่ในขั้วเดียวกันกับธุรกิจของแกรมมี่โดยรวม และจะสามารถลดต้นทุนเรื่องสื่อโฆษณาได้ตามที่ผู้บริหารแกรมมี่ออกมาให้เหตุผลในความต้องการเป็นเจ้าของสื่อหนังสือพิมพ์
แต่การซื้อหุ้นในเครือมติชนที่มีสื่อหลักในเครืออย่างหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ มติชน ข่าวสด เป็นตัวยืน และหุ้นกลุ่มบางกอกโพสต์ที่มีหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษบางกอกโพสต์ และภาษาไทยโพสต์ทูเดย์ เป็นตัวยืนนั้น เมื่อดูจากสื่อหนังสือพิมพ์หลักของทั้งสอง ล้วนไม่ใช่สื่อที่สอดคล้องกับธุรกิจของแกรมมี่เลย เมื่อเทียบในเรื่องของการลงทุนแล้ว การไปลงทุนในธุรกิจอื่นดูจะได้ประโยชน์มากกว่า นี่ยังไม่นับถึงปัญหาการต่อต้านที่ตามมาในทันที ดังที่เป็นข่าวมาตลอดในช่วงอาทิตย์นี้
และหากแกรมมี่ยังคงมุ่งหน้าต้องการควบรวมกิจการของกลุ่มมติชน และบางกอกโพสต์ต่อไป ปัญหาที่แกรมมี่จะต้องเผชิญต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ ความแตกต่างและขัดแย้งระหว่าง ปรัชญา วัฒนธรรม และค่านิยมแห่งองค์กร ทั้งจากธุรกิจของแกรมมี่เอง และธุรกิจใหม่คือสื่อที่เน้นรายงานความเป็นจริงของสังคม และธุรกิจ
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์จากรูปแบบธุรกิจของกลุ่มแกรมมี่ คือการสร้างสรรค์ความเพลิดเพลินให้กับประชาชน บุคลากรของแกรมมี่ คือ นักร้องนักแสดง วัฒนธรรม คือ สร้างสีสัน ความบันเทิง กระแสแฟชั่น และความนำสมัย ภารกิจของผู้นำแกรมมี่ที่ผ่านมา ก็คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ความคาดหวังของผู้ถือหุ้น ก็คือ แกรมมี่ต้องพยายามหาสินค้าและบริการ ตลอดจนการเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่ทำกำไรสูง หรือมีกระแสรายได้ในขณะนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่กลับคืนมาสู่ผู้ถือหุ้น ในรูปผลกำไรของเงินปันผล
ขณะที่รูปแบบและเป้าหมาย นับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิของสื่อในกลุ่มมติชนและบางกอกโพสต์ คือ การรายงานความจริงให้กับประชาชน ให้กับสังคม ลักษณะของธุรกิจจะมีเรื่องของจรรยาบรรณและวิชาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัด พนักงานจะมีความเป็นตัวของตัวเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และมีอุดมการณ์ รูปแบบของธุรกิจมุ่งในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลให้ภารกิจของผู้นำในการบริหาร ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียวแต่จะมุ่งในเรื่องของผลประโยชน์ของสังคมควบคู่กันไปด้วย การรับรู้ของผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้คาดหวังว่าหุ้นของธุรกิจนี้จะทำกำไรที่สูงหวือหวา หรือเพียงเข้ามาลงทุนเพื่อมุ่งแสวงหารายได้เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และความเด่นชัดในเรื่องจริยธรรมของบุคลากรของในธุรกิจสื่อ นับเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาสร้างความขัดแย้งระหว่างจรรยาบรรณของวิชาชีพ กับเป้าหมายขององค์กรให้กับคนทำงานทั้งของมติชนและบางกอกโพสต์ หากแกรมมี่เข้ามาบริหารงานสื่อ จนอาจจะส่งผลต่อแนวทางการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน เพราะเป้าหมายของการทำงานจะเปลี่ยนไปจากที่มุ่งที่การนำเสนอความจริงให้กับสังคม สิ่งที่จะเปลี่ยนไป คือ ประเด็นหรือการรายงานข่าวใดๆ ที่จะกระทบต่อความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นแกรมมี่ การนำเสนอก็จะถูกละเลยไปหรือมีการนำเสนอในมุมที่ผู้ถือหุ้นทางธุรกิจต้องไม่เสียประโยชน์
ปัญหานี้ยังไม่รวมถึงจุดยืนและทิศทางของการนำเสนอข่าวของทั้งสองสื่อที่จะต้องเปลี่ยนจากเพื่อสังคม ไปเป็นการนำเสนอข่าวที่อยู่ในทิศทางเดียวกับลักษณะธุรกิจของแกรมมี่ ซึ่งก็คือในแนวทางของการสร้างสรรค์ความบันเทิง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ ค่านิยมของคนในองค์กรสื่อทั้งสองแห่งจะเปลี่ยนตามไป เพราะเป็นไปได้สูงที่กลุ่มคนส่วนหนึ่งที่เป็นคนรุ่นบุกเบิก เป็นกลุ่มที่ส่งผ่านค่านิยมร่วมตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งที่รับไม่ได้กับแนวทางการนำเสนอแบบใหม่ก็จะลาออกไปในที่สุด และที่สำคัญกลุ่มผู้อ่านของสื่อทั้งสองก็จะเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
และหากผู้นำแกรมมี่ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในทั้งสองสื่อ โดยไม่ต้องการเข้ามาปรับเปลี่ยนให้สื่อทั้งสองกลุ่มให้รับกับภารกิจของแกรมมี่คือ สร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ก็เท่ากับว่าการลงทุนในครั้งนี้ของ ผู้นำแกรมมี่ ไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้ถือหุ้นอย่างที่ควรจะเป็น
ถ้าเป็นแบบนี้จริง ผมมองว่าการเดินเกมของแกรมมี่ในการเข้าซื้อหุ้นในกิจการของสื่อทั้งสองไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งทำลายโอกาสในการลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนของแกรมมี่เอง และทำลายโครงสร้าง วัฒธรรม ตลอดจนค่านิยมองค์กรของสื่อทั้งสองกลุ่ม ซึ่งเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจแบบเดิมอยู่แล้ว
"ผมเป็นคนที่มีกลยุทธ์"
"ผมเรียนนิเทศศาสตร์ สายหนังสือพิมพ์ และผมอยากทำหนังสือพิมพ์ ผมมองว่าในโลกใบนี้จะมีข้อมูลข่าวสารที่เป็น content อยู่ 5 อย่างคือ ข่าว เกม ดนตรี อินเตอร์เน็ต และกีฬา โดยที่ข่าวสารจะเป็นส่วนที่มีเนื้อหาเยอะสุด และถือเป็น move ที่มีส่วนสำคัญสำหรับจีเอ็มเอ็ม
หนังสือพิมพ์มีรายได้มั่นคงที่สุด มี loyalty สูงสุด คนจะผูกพันกับยี่ห้อความสำเร็จ โอกาสเสียหายมีน้อย เป็นการฉีกแนวธุรกิจเพื่อให้บริษัทมีขาหยั่งมากขึ้น การกระจายเนื้อหาสาระในแต่ละสื่อที่จีเอ็มเอ็มถืออยู่ จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็น content provider
ผมเป็นคนตื่นสาย และทำงานอยู่ที่ตึกจีเอ็มเอ็ม คนที่นี่ทำหนังสือพิมพ์ไม่เป็น มีผมคนเดียว ต่อไป IMC : Integrated Marketing Communication จะมีบทบาทมากขึ้น สื่อทั้งหมดต้องไหลมารวมกัน และสิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อมกันได้หมด
ผมคำไหนคำนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงหรอก พวกคุณ (นักข่าว) รู้จักผมมา 10 ปี ตอนทำบะหมี่ฟอร์มี ผมก็ไม่ได้ล้มเหลว แต่เพราะกตัญญูกับผู้มีพระคุณก็เลยต้องขายคืน ส่วนการซื้อหุ้นลิเวอร์พูลก็ยังติดต่ออยู่ ไม่ได้หายไปไหน ผมไม่ใช่ตัวตลกของใคร
ผมเป็นคนที่มี strategy และผมเข้าใจธุรกิจสื่อ หนังสือพิมพ์เป็นการลงทุนที่ถาวร แนวโน้มของ IMC ทำให้สื่อแบ่งออกเป็น below the line กับ above the line ระบบการตลาดสมัยใหม่ต้องมีสื่อทุกตัวอยู่ในมือ หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่โตมาก กำไรแน่นอน ผมทำงานเป็นคนหนึ่ง และทุกอย่างผมก็อยากให้มันสงบสุข"
|
|
|
|
|