Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์22 กันยายน 2548
ควบกิจการทางเลือกสุดท้ายธุรกิจไทย หวั่นสูญอำนาจ-ผลประโยชน์ถูกแชร์             
 


   
search resources

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
Investment
เอเชีย พลัส,บล.




การควบรวมกิจการ ถูกกล่าวถึงมากขึ้นเมื่อการเปิดเสรีทางการค้า หลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการควบรวมต่างออกมากล่าวถึงข้อดีที่เกิดขึ้นว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และบริษัทที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพจะตายไปในที่สุดเมื่อทุนขนาดใหญ่เคลื่อนเข้ามา แต่กระนั้นก็ตามวิถีทางเลือกการควบรวมก็ยังถูกเมินจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ด้วยเหตุผลของวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจที่กลัวสูญเสียอำนาจในมือไป

พรมแดนการค้าที่ถูกกันโดยกำแพงภาษี กำลังถูกปลดออกในโลกของเศรษฐกิจยุคนี้ ทำให้ขีดและข้อจำกัดการทำธุรกิจระหว่างประเทศลดลง มีการเคลื่อนย้ายของแหล่งทุนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสียในคราวเดียวกัน

การเคลื่อนที่ของแหล่งทุน ทำให้เกิดการลงทุนในประเทศนั้น ๆ และผลดีที่เกิดขึ้นคือการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นและความเป็นอยู่ของประชากรที่ดีขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามการเข้ามาของแหล่งทุนเป็นการปิดโอกาสทางธุรกิจขนาดเล็กที่ศักยภาพการแข่งขันไม่อาจสู่ทุนข้ามชาติได้ ไม่ว่าจะด้วยขนาดของเงินทุน การบริหารจัดการและต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงกว่า ผลสุดท้ายบริษัทที่ไม่สามารถยืนหยัดแข่งขันต่อไปได้ก็ต้องล้มหายตายจากไป

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส บอกว่า การเปิดเสรีทางการค้าเป็นแรงกดดันหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจต้องเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ดังนั้นเทรนหนึ่งที่จะเกิดขึ้นหลังเปิดเสรีทางการค้าคือการควบรวมกิจการ ที่นอกเหนือจากการเพิ่มศักยภาพทางการผลิตแล้ว ยังก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด การเพิ่มผลิตภัณฑ์และขยายตลาด การจำกัดการแข่งขันในอุตสาหกรรม การขยายสายธุรกิจใหม่ และรวมถึงการแลกเปลี่ยนความชำนาญและทรัพยากรระหว่างกัน

การควบรวมหากสามารถจับคู่ได้ถูกตัวแล้วก็จะเกิดเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย แต่ก่อนที่จะเกิดการควบรวมทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเจรจากันก่อน และดูว่าเป้าหมายของการควบรวมกิจการที่แท้จริงคืออะไร วัฒนธรรมของทั้ง 2 องค์กรเข้ากันได้หรือไม่ และที่สำคัญเมื่อควบรวมแล้วธุรกิจที่วางไว้จะประสบความสำเร็จหรือไม่

แม้การควบรวมจะนำมาซึ่งผลดีต่อการแข่งขันทางธุรกิจก็ตาม แต่ว่ากันตามจริงแล้วเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นง่ายนัก ด้วยรูปแบบวัฒนธรรมการทำธุรกิจของคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นแบบครอบครัว ทำให้เกิดการต่อต้านที่จะมีผู้อื่นมาถือหุ้นด้วยเกรงว่า อำนาจในการบริหารจัดการจะสูญเสียไป และการแบ่งปันผลประโยชน์ ดังนั้นการควบรวมธุรกิจสำหรับประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

สิ่งสำคัญคือเรื่องของผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายที่ทำให้การเจรจาไม่อาจลุล่วงไปได้ อย่างเช่นบริษัทที่มีผลประกอบการดี ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจสูงก็เหมือนดอกไม้หอมหวนที่แมลงและผีเสื้อก็อยากมาตอม แต่ถ้ามองตามจริงแล้วในเมื่อบริษัทดังกล่าวมีศัยภาพเพียงพอแล้วพันธมิตรก็อาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น หรือถ้าเข้ามาเจรจาแล้วไม่อาจสร้างผลตอบแทนได้เป็นที่น่าสนใจการควบรวมก็ไม่อาจเกิดขึ้น

เช่นเดียวกันสำหรับบริษัทที่มีดีการควบรวมกิจการก็เป็นไปได้ยาก ด้วยผลประโยชน์และข้อตกลงเมื่อร่วมทุนอาจไม่คุ้มค่า ทำให้แนวทางการเจรจาเพื่อควบรวมต้องจบไป หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันได้แล้วก็ตาม แต่ขั้นตอนการควบรวมอาจต้องใช่เวลานานกว่าจะเสร็จสิ้น โดยเฉพาะเรื่องของบุคลากรที่ถือเป็นปัญหาใหญ่และจบได้ยาก ในจุดนี้จะต้องมีการทำความเข้าใจก่อนซึ่งรวมถึงตัวผู้ถือหุ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ในยุคของการแข่งขันที่ไร้พรมแดน การเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในโลกธุรกิจได้ไม่ใช่มองเพียงแค่เรื่องการควบรวม แต่ต้องเรียนรู้ถึงการขายกิจการที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจด้วย พิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร ปตท. บอกว่า กิจการที่ไม่ได้หรือไม่ได้สร้างประโยชน์และผลตอบแทนให้บริษัทนั้นก็ควรจะขายทิ้งไป เพราะถ้ายังเก็บไว้ก็จะกลายเป็นภาระต่อบริษัท

"ก่อนหน้านี้ ปตท.เคยเข้าไปลงทุนในธุรกิจหนึ่งที่เห็นว่ามีโอกาสดี แต่เมื่อผ่านไปเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มหรือผลตอบแทนได้สอดคล้องกับธุรกิจหลัก จึงมีการประกาศขาย ถามว่าถ้าไม่ดีแล้วขายทิ้งใครจะซื้อ แต่ความจริงก็คือธุรกิจที่เราลงทุนไปนั้นอาจไม่ดีสำหรับเรา แต่อาจดีสำหรับบริษัทอื่นก็ได้ ดังนั้นสำหรับการอยู่บนโลกธุรกิจนั้ต้องเรียนรู้รอบด้านถึงจะอยู่รอดได้"

การควบรวมกิจการอาจเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน หากว่าทั้งบริษัทที่เข้ามาผนึกกันสามารถสนองความต้องการและสร้างผลประโยชน์ให้กันและกันได้ แต่ที่ผ่านมา การควบรวมกิจการเป็นไปได้ยากด้วยวัฒนธรรมที่ไม่ยอมรับให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร แต่สำหรับอนาคตแล้วแนวโน้มดังกล่าวอาจเปลี่ยนไปเพราะการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งจะเป็นตัวบีบให้บริษัทต้องควบรวม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us