Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 กันยายน 2548
"ประสาร"ชี้สภาพคล่องล้นกว่า5แสนล. ลดแรงกดดันแบงก์ปรับขึ้นออมทรัพย์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
Banking and Finance




บิ๊กแบงก์กสิกรไทย "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" เชื่อสภาพคล่องยังเกินอยู่กว่า 5 แสนล้านบาท ลดแรงกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องเร่งขยับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ระบุธนาคารต่างรีรอการส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากธนาคารพาณิชย์อื่น ขณะที่เงินบาทแข็งค่าตามค่าเงินเยนของญี่ปุ่น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2548 ยังไม่ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามากนัก โดยสภาพคล่องอยู่ที่ประมาณ 500,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วยต้นปี ดังนั้นจึงไม่มีแรงกดดันที่จะทำให้ธนาคารพาริชย์ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากนัก

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ เกิดจากการบริหารเงินและต้นทุนปกติ โดยมองว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับขึ้น จึงมีการระดมเงินฝากระยะยาวต้นทุนดอกเบี้ยคงที่ไว้ อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน ทำให้เป็นช่องทางของธนาคารพาณิชย์ในการเข้าไปหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยนั้นด้วย

สำหรับทิศทางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ขณะนี้คิดว่ายังไม่น่าจะปรับขึ้น แต่จะขึ้นอยู่กับธนาคารอื่น เพราะหากมีธนาคารแห่งใดขยับ ธนาคารแห่งอื่นจำเป็นต้องปรับตาม เพื่อไม่ให้เสียเปรียบในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันรายได้ดอกเบี้ยของธนาคารมีสเปรดอยู่ที่ 3.5-3.7% ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมา ที่อยู่ 3.2% เป็นผลมาจากการขยายฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารที่ทำให้สเปรดเติบโตได้ และคิดว่าในสิ้นปีนี้ ก็ยังรักษาอัตราการเติบโตได้ในระดับดังกล่าว ส่วนการขยายตัวของสินเชื่อในปีนี้คาดว่าทั้งระบบจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 6% จากครึ่งปีแรกที่มีอัตราการเติบโต 2-3%

"ทิศทางอัตราดอกเบี้ยก็เป็นแนวโน้มขาขึ้น แต่ยังไม่เห็นแบงก์พาณิชย์ปรับดอกเบี้ยขึ้นรุนแรง เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินมีมาก นอกจากนี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้นก็ทำให้แบงก์พาณิชย์ส่วนใหญ่เน้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำเกินกว่าธนาคารพาณิชย์ จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในจุดหนึ่งที่คงที่ โอกาสปรับขึ้นน้อยมากแล้ว จุดดังกล่าวจะส่งผลให้แบงก์พาณิชย์หันมาปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์โดยทั่วไปคิดว่ายังไม่ปรับขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับคู่แข่งด้วย"

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยกดดันให้ระบบธนาคารพาณิชย์ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ยกเว้นนโยบายการเงินของ ธปท. ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดอาร์พีขึ้นไปอีกและการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากแบบมีระยะเวลาไปสูงแล้ว แต่การจะปรับขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบกันโดยเฉพาะนโยบายทางการ อัตราเงินเฟ้ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ส่วนปลายนี้จะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ขยับหรือไม่นั้น คงจะต้องตอบยาก เนื่องจากยังคงมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)แจ้งว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักของวันที่ 22 กันยายน (วานนี้) อยู่ที่ระดับ 41.05 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า และแข็งค่าขึ้น 0.73 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หากเทียบกับค่าเงินยูโร สหภาพยุโรป ค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้น 0.57% เมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้ และแข็งค่าขึ้น 0.86 %เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.09% ในวันก่อน และแข็งค่าขึ้น 1.03 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ด้านนักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทเงินบาทของไทย เปิดตลาดที่ 41.06 - 41.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ 41.02 - 41.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดระหว่างวันในช่วงเช้าโดยอยู่ที่ระดับ 41.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และต่ำสุดอยู่ที่ 41.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เงินสกุลบาทได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามเงินสกุลเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากหลายฝ่ายกำลังจับตาดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นว่าจะปรับขึ้นหรือไม่ รวมทั้งค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนเกรงว่าภัยธรรมชาติพายุอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐไม่มากก็น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us