Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
เปิดปูมหลัง Andersen ผู้เชี่ยวชาญ "ตกแต่งบัญชี"             
โดย สุคนธพันธุ์ วีรวรรณ
 

   
related stories

การล่มสลายของ Andersen
ธุรกิจตรวจบัญชีเพิ่มค่า หลังกรณี Andersen
นักลงทุนต้องจับตามอง




ถึงแม้ว่า ผู้บริหาร Andersen ยังวางตนในฐานะ "ผู้บริสุทธิ์" ที่ถูกกล่าวหาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในกรณีของ Enron

กลับมีข้อมูลออกมามากมายว่า Andersen นั้นอยู่เบื้องหลัง "ธุรกรรมบัญชีลวง" ของหลายต่อหลายบริษัทล้อมกรอบนานย้อนไปถึง 25 ปีก่อน !!! ส่วนใหญ่เป็นรูปการเช่นเดียวกับ Enron ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีละเมิดกฎการทำงานที่ต้องดูแลประโยชน์ให้มหาชนผู้ซื้อหุ้น แต่กลับช่วยปกปิดข้อมูลบริษัทลูกค้า เพื่อสร้างกำไรให้สวยหรู

นั่นคือ กรณีของ Frigitemp Corporation ในปี 1976

Frigitemp เดินเป็นธุรกิจ "ร่วมสัมปทานก่อสร้าง" เรือ ทำหน้าที่ตกแต่งภายในเรือ และขยายเข้าสู่ธุรกิจระบบบริการอาหาร ตกแต่งกาสิโนและโรงแรม และอุปกรณ์ตู้เย็น เรื่องที่เกิดขึ้นกับ Frigitemp คือบริษัทในเครือของ Andersen ได้ยุให้ Frigitemp ใช้วิธีแบบ "บัญชีทุนต่อทุนตามเปอร์เซ็นต์ที่งานสำเร็จ" ในสัญญารับเหมาก่อสร้างระยะยาว โดยคิดรายได้จากโครงก่อนก่อนที่โครงการจะเสร็จจริง

วิธีนี้พวกผู้รับเหมาทำกันเป็นประจำ อาทิ ถ้าใช้เงินลงทุนไปแล้ว 25 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนโครงการ ให้รวบรัดถือว่าโครงการเสร็จแล้ว 25 เปอร์เซ็นต์ และบุ๊คว่ารายได้ 25 เปอร์เซ็นต์เข้ามาแล้ว โดยไม่เกี่ยงว่าทำเสร็จหรือได้ส่งใบเสร็จจริงไปเก็บเงินลูกค้าหรือยัง

แทนที่จะตรวจสอบความถูกต้องของรายการซื้อขาย สินค้าคงคลัง และสินทรัพย์ แต่ Andersen กลับช่วยลูกค้าทำบัญชีพลิกแพลง เพื่อ "เสริม" รายได้ เช่น ให้ซื้ออุปกรณ์มากขึ้นก่อนสิ้นปี เพื่อรายงานรายได้มากขึ้น

กรณี Frigitemp นั้น Andersen แก้ตัวว่า Frigitemp ใช้วิธีนี้มาก่อนที่ Andersen จะได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า Andersen เป็นผู้สานต่อที่มือหนักกว่าเดิม ตัวอย่างเช่นในปี 1974 Frigitemp รับเหมารายย่อย ตกแต่งเรือของราชนาวีหลายลำ Frigitemp ได้ออกบันทึกเป็นหนังสือสัญญาเพื่อจ่ายเงินให้ซัปพลายเออร์รายหนึ่ง 4.5 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าไม้ดาดฟ้าเรือ โดยออกล่วงหน้าตั้งแต่ที่ไม้ยังไม่ได้ตัดออกมาจากป่า!! ผู้รับเหมาใหญ่จึงจ่ายตามใบเบิกเงินของ Frigitemp ให้ครึ่งหนึ่งก่อน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อ Frigitemp ขาดเงินค่าวัตถุดิบอีก 6 ล้านเหรียญ แต่ได้เบิกเงินไปใช้หมดแล้ว 4.5 ล้านเหรียญ ก็เลยต้องทำ invoice เบิกค่าวัตถุดิบของงานใหม่งานอื่นมาใช้ ต่อทุนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ยอดบัญชีแต่ละปีไม่มีการขาดทุน ด้วยการดึงเงินรายได้จากอนาคตมาทำเป็นยอดกำไรในปัจจุบัน และ Andersen เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งเซ็นรับรองว่า OK

ฝ่ายบริหารรายงานประจำปีในปี 1976 ว่า บริษัทมีการจัดการที่แข็งแกร่ง การควบคุมหนาแน่น และดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล้วนเป็นความเท็จ

ต่อมา มีจดหมายไม่ระบุนาม เตือนประธานของ Andersen ว่ามีการซ่อน "ข้อมูลสกปรก" เกี่ยวกับบริษัทที่ Andersen ทำหน้าที่ตรวจบัญชีให้ Andersen จึงขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้ลงนามตรวจบัญชี อีก 2 เดือนต่อมา Frigitemp ล้มละลาย และ Andersen เกี่ยวข้องเป็นข้อกล่าวหาด้วย ท้ายสุดต้องจ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อชำระค่าคดีความ และเรื่องนี้กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งเมื่อ 25 ปีก่อน

25 ปีต่อมา ไล่เลียงกับกรณีของ Enron ข่าวอื้อฉาวล่าสุดคือ กรณีของบริษัทซอฟต์แวร์ Peregrine Systems Inc. ซึ่งเพิ่งฟ้อง Arthur Andersen LLP เรียกค่าเสียหาย 250 ล้านดอลลาร์ กล่าวหาว่าอดีตผู้ตรวจบัญชีของบริษัทเป็นฝ่ายชี้แนะ ยุยงให้ใช้ "กลบัญชี" จนทำให้ท้ายสุดบริษัทล้มละลาย จึงขอฟ้องในข้อหาฉ้อฉล หลอกลวง และทำผิดหน้าที่และความรับผิดชอบของนักบัญชี

ในคำฟ้องระบุว่า พนักงานตรวจบัญชีของ Andersen ไม่เพียงแต่ทำบัญชีที่ไม่ถูกหลักการ ยังยุยง ส่งเสริม และกระตุ้นบริษัทให้ทำบัญชีปลอมแปลงด้วย

บริษัทซอฟต์แวร์บอกว่า Andersen เป็นผู้วางนโยบายเช่นนี้ให้ Peregrine เพื่อผลประโยชน์ทางเงินตรา และสร้างสถานการณ์ทางการเงินที่น่ายอมรับ

การสอบสวนพบว่า Peregrine อาจปั่นรายได้เกินจริงถึง 250 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนเมษายน 1999 ถึงสิ้นปี 2001 อาทิ การทำยอดขายจากลูกค้าเป้าหมายในอนาคต แสดงเป็นบัญชีรายได้ กรณีนี้ตลาดหลักทรัพย์อเมริกันยังสอบสวนอยู่

ด้านตัวแทนของ Andersen ปฏิเสธเรื่องนี้อีกครั้ง และบอกว่าคณะกรรมการของ Peregrine เองที่เป็นคนโกหก และไม่ยอมรับผิดชอบกับความล้มเหลวของการบริหาร และพยายามปัดความผิดให้ Andersen

Peregrine จ้าง Andersen ให้ตรวจบัญชีจากเดือนกรกฎาคมปี 1996 โดยจ่ายเงิน 4 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าตรวจบัญชี ค่าจ้างบริหาร และค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา

ความผิดพลาดทางบัญชีของ Peregrine เพิ่งมาเปิดเผยในเดือนมกราคม และบริษัทเพิ่งยื่นขอฟ้องล้มละลายเมื่อเร็วๆ นี้ โดยบริษัทแจ้งว่ามีสินทรัพย์ 1.7 พันล้านและหนี้สินมากกว่า 607 ล้านดอลลาร์ หุ้นของ Peregrine ซึ่งเคยขึ้นสูงสุดถึง 80 ดอลลาร์ ในปี 2000 ถูกถอดออกจากการซื้อขายในตลาด Nasdaq และตอนนี้ขายกันนอกตลาดในราคาไม่กี่เซ็นต์ บริษัทลดพนักงานจาก 1,400 คน เหลือเพียงครึ่งเดียว และปิดสำนักงานบางแห่งในเดือนมิถุนายน

ทั้งนี้บริษัทได้ขายแผนกหนึ่งให้กับบริษัท BMC Software Inc เป็นจำนวนเงิน 350 ล้านดอลลาร์ และยังยืมเงิน BMC อีก 110 ล้านดอลลาร์ เพื่อชำระหนี้สิน และเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันในช่วง 2-3 เดือนที่ล้มละลาย

Peregrine ชี้แจงในคำฟ้องว่า เหตุการณ์ถูกเปิดโปงในเดือนเมษายน เมื่อผู้จัดการของบริษัทเกือบเซ็นสัญญาขายบริษัทเป็นเงิน 1.9 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้ซื้อซึ่งบริษัทไม่ยอมเปิดเผยนามบอกว่า บริษัทต้องการดูรายงานทางการเงินในรอบ 12 เดือนก่อน จากนั้นผู้ซื้อได้พบการพลิกแพลงสร้างบัญชีที่ซ่อนไว้ ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริหารไม่เคยเอะใจ เพราะไว้ใจ Andersen ที่จ้างมาตรวจบัญชี

Peregrine ล้มละลาย หลังผู้ตรวจบัญชีรายใหม่ตอนนั้นคือ KPMG พบปัญหาทางบัญชี และบริษัทต้องทบทวนผลการดำเนินงานปี 2000-2002 ใหม่ทั้งหมด

บริษัทอื่นๆ ที่มีปัญหาและกำลังถูกตลาดหลักทรัพย์สอบสวนเรื่องบัญชี อาทิ Qwest Communications International, WorldCom ที่ถูกสั่งให้ทำยอดบัญชีในรายงานประจำปีใหม่ โดยเฉพาะส่วนของบัญชีรายได้ ล้วนแล้วแต่เป็นลูกค้าของ Arthur Andersen

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us