Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 กันยายน 2548
ลีวายส์ฉีกแนวใช้ Andy Warhol เป็นอิมเมจเสื้อผ้าชายแนวเซอร์             
 


   
search resources

Clothings




การสร้างแบรนด์อิมเมจของสินค้าในวงการเสื้อผ้าดังของโลก ยังต้องพึ่งพาอาศัยการสรรหาและเลือกพรีเซนเตอร์ มาเป็นตัวสื่อและเครื่องสะท้อนให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรับรู้ความเป็นตัวตนของแบรนด์นั้น

สำหรับบริษัทยีนส์ดังอย่าง ลีวายส์ สเตราท์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะพบสัจธรรมสำคัญที่มาจากการทบทวนบทบาทของตนเองแล้วพบว่า กิจการของลีวายส์เป็นแบรนด์ที่น่าจะขายได้กับกลุ่มลูกค้าที่ออกแนวเซอร์ๆ ชอบใส่ยีนส์ เสื้อผ้าแนวสบายๆ มากกว่าจะวิ่งจับตลาดของกลุ่มลูกค้าแนวจับเทรนด์แฟชั่นตลอดเวลา

สิ่งที่พิสูจน์เรื่องนี้คือ การที่ผู้บริหารของลีวายส์แสดงความสนใจต่อการเจรจาดึงเอาศิลปินแนวเซอร์ๆ อย่างแอนดี้ วอร์โฮล (Andy Warhol) มาเป็นพรีเซนเตอร์เสื้อผ้าของตน

แอนดี้ วอร์โฮล เป็นศิลปินและผู้วาดภาพประกอบการโฆษณาให้กับซุปแคมเบลล์ แบบบรรจุกระป๋องมานานกว่า 40 ปี

สินค้าที่ลีวายส์ ตั้งใจจะให้แอนดี้ มาเป็นพรีเซนเตอร์เสื้อทีเชิร์ต แคชเมียร์ ราคาประมาณ 190 ดอลลาร์

ถึงแม้ว่าเขาตายไปแล้วกว่า 18 ปี แต่ภาพลักษณ์ของแอนดี้ก็ยังใช้ได้ดีในวงการแฟชั่นมาจนถึงทุกวันนี้ ในฐานะของคนที่มีสไตล์การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย และเป็นภาพของคนมั่นคง นุ่มลึก น่าเชื่อถือ

ผลงานที่ทิ้งเอาไว้เป็นอนุสรณ์ คือ ผลงานที่ทำอาร์ตเวิร์คลงบนภาพพิมพ์ ลงบนผ้า บนเครื่องถ้วยชามจากจีน บนกระเป๋า และการสร้างมูลนิธิ แอนดี้ วอร์โฮล ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักอย่างกว้าง แม้แต่ในหมู่เด็กสมัยใหม่ที่เป็นวัยรุ่น จึงเป็นแบรนด์ที่ลีวายส์สามารถนำไปใช้ในการตลาดเสื้อผ้าของตนได้ไม่ยาก

ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารจึงตัดสินใจสร้างสายการผลิตเสื้อผ้าผู้ชาย และผู้หญิงที่เรียกว่า วอร์โฮล แฟกตอรี่ ไลน์ ที่จำหน่ายในราคา 250 ดอลลาร์ต่อชิ้นของยีนส์ และราคา 300 ดอลลาร์สำหรับเสื้อแจ๊กเกต เริ่มนำออกแสดงต่อสายตาของกลุ่มลูกค้า และต่อสาธารณชนในงาน เทรดโชว์ ที่ลาส เวกัส สหรัฐอเมริกา

ภาพเขียนที่วอร์โฮล ได้สร้างผลงานไว้ในอดีตมีมากมาย นอกเหนือจากกระป๋องของอาหารแบรนด์ซุป แคมเบลล์ คือ ขวดน้ำดื่มโคคา-โคล่า กล่องสบู่บริลโล่ งานการเขียนของแอนดี้ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและแนวคิดของการออกแบบแฟชั่นของนักออกแบบแฟชั่นในรุ่นต่อๆ มา

เป็นที่คาดกันว่า ลีวายส์อาจเลือกนำภาพเขียนที่มีชื่อของแอนดี้ ที่วาดเป็นภาพของเอลวิส เพลสลีย์ และ มาริลิน มอนโร มาเป็นแบบในการออกแบบเสื้อผ้าคอลเลกชั่นใหม่ของตน

ในการแบ่งงานกันด้านธุรกิจ ทางบริษัทลีวายส์รับผิดชอบงานในด้านการออกแบบสินค้า และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ขณะที่มูลนิธิ แอนดี้ วอร์โฮล ทำหน้าที่ในด้านการขาย และการบริหารงานการขนส่ง

ที่จริงแล้ว ลีวายส์ไม่ใช่เพิ่งจะมาให้ความสนใจกับกลุ่มศิลปินอย่างแอนดี้ วอร์โฮล เพื่อการสนับสนุนทางธุรกิจในตอนนี้เป็นครั้งแรก แต่ประวัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างลีวายส์ กับกลุ่มศิลปินกลุ่มนี้ สามารถมองย้อนหลังไปได้ถึงปี 1984 เมื่อลีวายส์เจรจาว่าจ้างให้กลุ่มศิลปินช่วยสร้างเพลงที่เป็นการแสดงภาพประจำตัวของ ลีวายส์ 501 Blue เพื่อใช้กับงานโฆษณายีนส์เวอร์ชั่นดังกล่าว

และนั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สาธารณชนและผู้บริหารเห็นภาพของแอนดี้ ใส่เสื้อผ้าลีวายส์ เกือบจะตลอดชีวิตของเขา นั่นทำให้การกลับมาขอความช่วยเหลือด้วยการนำภาพของแอนดี้ ที่สวมใส่เสื้อผ้าลีวายส์มาใช้ในฐานะใหม่ ด้วยการเป็นพรีเซนเตอร์ในอนาคตนี้

ธุรกิจของลีวายส์ดำเนินงานต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 152 ปี แต่ไม่ได้ราบรื่นและสวยหรูอย่างต่อเนื่อง หากแต่ต้องฝ่าฟันความยากลำบากจากการที่ต้องหาทางรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ มิให้หนีไปหาคู่แข่งขันรายอื่นที่กลายเป็นพฤติกรรมเคยชินมาตลอดระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา

ความพยายามแก้ไขวิกฤติทางการตลาดของกิจการดำเนินมาอย่างหนักในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการเลิกจ้างพนักงานนับพันคน หลังจากการปิดโรงงานผลิตเสื้อผ้าในอเมริกาเหนือ พร้อมกับออกกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าราคาถูก ในแบรนด์ “ซิกเนเจอร์” เพื่อจับตลาดระดับล่าง ด้วยราคาที่ถูกลงกว่าระดับแบรนด์ลีวายส์ดั้งเดิม วางระดับราคาไว้ 70-500 ดอลลาร์ต่อชิ้น ขณะที่ระดับราคาต่ำสุดอยู่ประมาณ 20 ดอลลาร์ และปรับช่องทางทางการตลาดไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าแบบให้ส่วนลดอย่าง วอล มาร์ท ซึ่งพบว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ แสดงว่าลีวายส์มาถูกทางแล้ว

นอกจากนั้น กลุ่มเป้าหมายหลักของลีวายส์ในอนาคตได้หันเหแนวทางจากกลุ่มผู้ใหญ่ มาเป็นกลุ่มเด็กระดับนักศึกษาตามสถาบันการศึกษาแทน ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกิจกรรมทางการตลาด และช่องทางการตลาดใหม่

เสื้อผ้ายีนส์ตอนนี้ถือว่าเป็นตลาดที่มีปริมาณการขายของสินค้ามีวางเสนอขายในตลาดมากกว่าปริมาณความต้องการของลูกค้า เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่เป็นแนวแฟชั่น ทำให้ผู้ประกอบการอยู่ในฐานะลำบากทางการตลาดมาก

มาตรการทางการตลาดที่เป็นการปรับลดราคาขายปลีกยีนส์ จึงกลายมาเป็นมาตรการประจำที่ใช้กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และใช้หนาแน่นมากขึ้น

นักการตลาดที่ประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในด้านการส่งเสริมการตลาดของลีวายส์ชี้ว่า การขยายสายการผลิต “วอร์โฮล” ขึ้นมาตามชื่อของศิลปินเพลงป็อปนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานโดยรวมของลีวายส์มากนัก ไมว่าจะเป็น ยอดการจำหน่ายและผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะเป็นระยะสั้นเกินไป

แต่ในระยะยาว สถานการณ์ที่ว่านี้อาจแตกต่างกันออกไป หากการสร้างแบรนด์สามารถดำเนินการอย่างมีสัมฤทธิผล อย่างเช่น การสร้างให้เห็นภาพว่าแบรนด์ลีวายส์ก็เหมือนกับแอนดี้ วอร์โฮล ที่เป็นตำนานที่ดำเนินควบคู่กับสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น หากจะใช้ลีวายส์ที่เป็นภาพของแอนดี้ วอร์โฮล น่าจะเข้ากันได้ดี ในฐานะไอคอนของศิลปินของชาติ และเสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์ไอคอนของสหรัฐฯเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us