Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์16 กันยายน 2548
ปรับหน่วยงานให้ทำงานเงินด้วย Self-Marketing             
 


   
search resources

ริช สปอร์ต, บจก.
Knowledge and Theory




ดูเหมือนว่าแนวคิดทางการตลาดในต่างประเทศวันนี้ จะมีการพัฒนาล้ำหน้าไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว ด้วยการจัดหลักสูตรและให้การฝึกอบรม เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายในกิจการทำการค้นหาตนเอง ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ ผ่านการหารายได้ด้วยทางหนึ่งทางใด หรือที่เรียกว่า Self Marketing

ล่าสุด ฝ่ายงานด้านไอทีในกิจการชั้นนำของโลกหลายแห่ง ที่เคยถูกมองว่าเป็นหน่วยสร้างภาระหรือเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานแก่กิจการ ได้ใช้ Self Marketing จนสามารถเงินเข้ามาสู่กิจการแล้ว

จากการสำรวจทางการตลาดเมื่อไม่นานมานี้ ได้พบว่าบทบาทของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายไอทีของบริษัทขนาดใหญ่ของโลกหลายแห่ง มีบุคลิกภาพและความรับผิดชอบแทบจะไม่ได้ต่างออกไปจากนักการตลาดในแผนกขายของกิจการ แถมยังออกไปพบปะกับผู้คนในลักษณะเดียวกับงานของลูกค้าสัมพันธ์ได้อย่างไหลลื่นไม่แพ้กัน

สิ่งที่น่าสนใจจากการใช้ Self Marketing ในการปรับบทบาทของไอทีมาเป็นทีมงานทำกำไร มีหลายประการ ประการแรก แนวคิดของการขายของไอที คือ ทำให้ไอทีเป็นเสมือนบริการใหม่ของกิจการที่นำออกสู่ตลาด โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจคุณค่าของงานไอทีของตนเอง ว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ใดแก่ลูกค้าได้ จนกระทั่งทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการนั้น

ประการที่สอง แนวทางในการทำการตลาดตนเองของบริการในด้านไอที คือ การปรับวิถีการคิดจากเดิม มาสู่ความเป็นผู้ประกอบการอีกแผนกหนึ่ง เช่นเดียวกับฝ่ายขายอื่นๆ นั่นคือ ทำแผนธุรกิจที่เน้นการเพิ่มรายได้เช่นเดียวกับกิจการหน่วยอื่นๆ และใช้หลัก 4 พ หรือ 8 พี ในการบริหารส่วนผสมของบริการ

ประการที่สาม การออกข่าวสารหรือ Press Release หรือจ้างนักข่าวเขียนข่าวถึงผลงานหรือศักยภาพของฝ่ายไอที รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารบนหน้าเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ลูกค้าเป้าหมายจะได้จากฝ่ายงานไอที แต่เนื่องจากการใช้งานไอทีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก เพราะเต็มไปด้วยศัพท์แสงทางเทคนิค การให้ข้อมุลกว่าครึ่งหนึ่ง จึงออกไปในรูปแบบของการให้การศึกษา การเพิ่มความรอบรู้ของสังคมและเป้าหมายของกิจการ

สิ่งสำคัญในขั้นนี้คือ การทำให้สังคมและลูกค้าเป้าหมายได้รู้จักทีมงาน และสิ่งที่ไอทีสามารถสร้างให้แก่ธุรกิจที่เป็นลูกค้า การปรากฏตัวในงานหรือกิจกรรมร่วมทางสังคม การสร้างข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้เงินค่าโฆษณา หรือใช้แต่น้อยมากแทบไม่มีผลกระทบต่อรายจ่ายรวมให้เพิ่มขึ้น

ประการที่สี่ ทำงานการตลาด ก่อนการทำงานการขาย เพราะงานการตลาดไม่ได้หมายถึงการขายอย่างเดียว แต่หมายถึงการนำชื่อ นำตนเองออกไปสู่ตลาดเป้าหมาย เพราะผู้คนเกือบทั้งหมด อยากรู้อยากเข้าใจงานด้านไอที แต่กลัวจะยากและฟังคนไอทีพูดไม่รู้เรื่อง

ด้วยกระบวนการหลักๆ เหล่านี้ ทำให้ไอทีสามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ปัจจุบันของงานไอที จากศูนย์สร้างภาระรายจ่าย เป็นทีมงานการตลาดที่เข้มแข็ง ซึ่งนอกจากจะเริ่มหาเงินมาชดเชยรายจ่ายของหน่วยงานแล้ว ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิผลในการยกระดับความสามารถของทีมงานขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย

การสร้างทีมงานการตลาดขายบริการด้านไอทีจากทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว เป็นการเปลี่ยนโฉมของทีมงานที่เคยอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มาเป็นนักบริการทั้งลูกค้าภายในกิจการหรือฝ่ายงานอื่น และลูกค้าภายนอกกิจการ เพราะกิจการห้างร้านในต่างประเทศจำนวนไม่น้อย หาทางว่าจ้างกิจการอื่นหรือ Outsourcing ทำหน้าที่ที่ตนไม่ถนัด เช่น Call Center หรือ Delivery รวมทั้งงานด้านไอทีด้วย

ในทางการตลาด แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักประกอบการในที่สุดนี้ เรียกว่าZentrepreneur ไม่ใช่คำว่า Entrepreneur อย่างที่มีการใช้มาตั้งแต่อดีต เพราะเป็นการค้นหาศักยภาพของตนเอง และแนวทางการพัฒนาขึ้นไปจากเดิม รวมทั้งทำให้สิ่งที่เป็นเหมือนความฝันกลายเป็นเงินเป็นทองในเชิงพาณิชย์ และสร้างชีวิตใหม่ให้กับตนเองแทนชีวิตแบบเดิม ซึ่งผู้ประกอบการทั่วไปหรือ Entrepreneur ทำไม่ได้

การค้นพบและสร้างชีวิตของตนเองใหม่นี้ เป็นเรื่องที่พิเศษและไม่ได้ทำได้ทุกคน ทุกกรณี เพราะเป็นการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสทีเดียว จากการเป็นเสมือนกล่องดำ เป็นไอทีที่มีความพร้อมที่จะทำงานบริการได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

สิ่งที่เหนือกว่าการดำเนินงานทั่วไป คือ ทีมงานการตลาดไอที จะต้องหาทางสร้างแบรนด์ และรักษาภาพทางบวกของแบรนด์ของตนเอง ที่อาจจะมีภาพลักษณ์ และการรับรู้จากลูกค้าที่แตกต่างจากแบรนด์หลักของกิจการก็ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us