การเติบโตขึ้นของธุรกิจการบัญชีระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันดูประหนึ่งถูกผูกขาดการยอมรับอยู่ภายใต้ร่มเงาของบริษัทยักษ์ใหญ่
ไม่ว่าจะเป็น Pricewater houseCoopers, Deloitte Touche Tohmatsu, Ernst
& Young, KPMG และ Arthur Andersen ซึ่งได้รับการกล่าวถึงใน ฐานะ The
Big Five ในด้านหนึ่งอาจประเมินด้วยความหยาบว่าดำเนินไปท่ามกลางความสำคัญของ
brand
หากแต่นิยามว่าด้วย brand ของสำนักงานผู้สอบบัญชีเหล่านี้ ย่อมมิใช่ นิยามดาดๆ
ที่เกิดขึ้นในกรณีของตรา สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถเสกสรร และบริหาร
จนเกิดเป็นกรณี classic ในแวดวงการตลาดว่าด้วย brand management ที่กำลังตื่นตาตื่นใจอยู่ในขณะนี้
ธุรกิจผู้สอบบัญชี เป็นเรื่องราวที่แตกต่างออกไป เพราะรูปแบบของธุรกิจที่
เกิดขึ้นนี้ มีรากฐานเป็นประหนึ่งองค์กรวิชาชีพ ที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรฐานที่มิได้ยึดโยงอยู่เฉพาะความสามารถของผู้สอบบัญชีเท่านั้น
แต่ยังต้องอาศัยความมีมาตร ฐานทางจริยธรรม ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจเป็นสำคัญอีกด้วย
The Firm หรือสำนักผู้สอบบัญชี แต่ละแห่ง จึงปรากฏชื่อของผู้ก่อตั้งเมื่อครั้งอดีตเพื่อโยงไปถึงรากฐานแห่งวิชาชีพนี้ไม่ต่างกัน
เป็นประหนึ่งประเพณีนิยมที่ดำเนินสืบมาสำหรับธุรกิจนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม
The Big Five ที่ล้วนยึดโยงกลับไปหารากเหง้าที่มีความเป็นมาเป็นไป นานกว่า
100 ปี ดังเช่นกรณีของ Pricewater houseCoopers ที่ระบุถึงเรื่องราวการเปิดสำนักผู้สอบบัญชีในกรุงลอนดอนของ
Samuel Lowell Price ในปี 1849, สำนักบัญชีของ William Cooper ในปี 1854,
ความร่วมมือ ระหว่าง Price, Holyland และ Waterhouse ในปี 1865, การเกิดขึ้นของ
Price, Waterhouse & Co ในปี 1874
การร่วมกันจัดตั้งสำนักผู้สอบบัญชี Lybrand, Ross Brothers and Montgomery
ในปี 1898 โดย Robert H. Montgomery, William M Lybrand, Adam A Ross Jr.
และ T. Edward Ross, การร่วมกันระหว่าง Coopers Brothers & Co (UK) กับ
McDonald, Currie & Co (Canada) และ Lybrand, Ross Bros & Montgomery
(US) ก่อตั้งเป็น Coopers & Lybrand ในปี 1957
กระทั่งการควบรวมกิจการ ในระดับนานาชาติระหว่าง Price Waterhouse และ Coopers
& Lybrand ในปี 1998 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของ PricewaterhouseCoopers
หรือ PwC ในปัจจุบัน
ขณะที่การควบรวมกิจการของสำนักผู้สอบบัญชีขนาดใหญ่ที่ได้รับการระบุว่าเป็น
first mega-merger ในปี 1987 ระหว่าง Peat Marwick International (PMI :
1911) และ Klynveld Main Goerdeler (KMG : 1979) โดยบรรษัทผู้สอบบัญชีแห่งใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า
KPMG ซึ่งเป็นอักษรนำจากชื่อของผู้ก่อตั้งแต่ละราย ภายใต้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของแต่ละองค์กรเช่นกัน
K-Klynveld มาจากชื่อของ Piet Klynveld ซึ่งก่อตั้งสำนักงานบัญชี Klynveld
Kraayenhof & Co. ในอัมสเตอร์ดัม เมื่อปี 1917, P-Peat มาจากชื่อของ
William Barclay Peat ซึ่งก่อตั้งสำนักงานบัญชี William Barclay Peat &
Co. ในกรุงลอนดอน เมื่อปี 1870, M-Marwick มาจากชื่อของ James Marwick ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานบัญชี
Marwick, Mitchell & Co. ในนิวยอร์ก เมื่อปี 1897 และ G-Goerdeler มาจากชื่อของ
Dr. Reinhard Goerdeler อดีตประธานของ Deutsche Treuhand-Gesellschaft ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการควบรวมกิจการของ
KMG ในปี 1979
ในกรณีของ Deloitte Touche Tohmatsu ที่เกิดจากการนำชื่อของ William Welch
Deloitte, George Touche และ Admiral Nobuzo Tohmatsu หรือกรณี Ernst &
Young ซึ่งมีที่มาจาก A.C. Ernst ผู้ก่อตั้ง Ernst & Ernst ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี
1903 และ Arthur Young ผู้ก่อตั้ง Arthur Young & Co. ในชิคาโกเมื่อปี
1906 ก็ดำเนินไปภายใต้บริบทที่ครอบคลุมอยู่นี้ไม่ต่างกัน
แม้ว่าทั้ง A.C. Ernst และ Arthur Young จะไม่เคยพบกันและเสียชีวิตมานานกว่า
50 ปีก่อนที่จะมีการควบรวมกิจการ Ernst & Ernst และ Arthur Young &
Co. เข้าเป็น Ernst & Young เมื่อปี 1989 ก็ตาม
การนำชื่อของผู้ก่อตั้ง firm แต่ละแห่งมาใช้เป็นชื่อองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่
ในด้านหนึ่งเป็นการบอกกล่าวถึงมรดกที่ สืบทอดต่อมา เป็นมรดกว่าด้วยคุณธรรม
ความซื่อสัตย์ และเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอบบัญชีมากกว่าที่จะเป็นเพียง
brand สำหรับการเรียกขานองค์กรผู้ให้บริการ ที่ใครบางคน กำลังให้ความสำคัญ
"It's the matter of TRUST not the matter of Brand" ดูจะเป็นคำกล่าว ที่ตรงกับสถานการณ์ของธุรกิจผู้สอบบัญชีในห้วงปัจจุบันไม่น้อย
โดยเฉพาะในโลกธุรกิจซึ่งกำลังตื่นตัวกับมาตรฐานของการเป็นบรรษัทภิบาล หรือ
Good Governance ที่มี firm ของผู้สอบบัญชีอยู่ร่วมเป็นอีกกลไกหนึ่งในการตรวจสอบและรับรองสถานะ
เช่น ทุกวันนี้
นอกจากนี้ ความระหว่างบรรทัดของปรากฏการณ์การควบรวมสำนักงานผู้สอบ บัญชีระหว่างประเทศ
ซึ่งก่อให้เกิดเป็น The Big Five นั้น ยังบ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในความชำนาญการและพัฒนาการของ
firm ที่มีรากฐานจากสังคมธุรกิจ อุตสาหกรรมในประเทศที่พัฒนาแล้ว และการดำรงสถานะเป็น
global player อย่างเด่นชัด
โดยสิ่งที่ firm ท้องถิ่นในแต่ละประเทศหรือแม้ในแต่ละภูมิภาคสามารถกระทำได้ก็เพียงการเข้าร่วมเป็น
"สมาชิก" หรือ "หุ้นส่วนรายย่อย" ที่ชื่อดั้งเดิมของพวกเขาอาจเป็นเพียงร่องรอยประวัติศาสตร์
ที่ไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในกรณีของสำนักงาน "SGV ณ ถลาง" มรดกชิ้นสำคัญของ
ยุกต์ ณ ถลาง ที่กำลังจะถูกกลืนหายไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของ KPMG หรือ ในส่วนของ
"SGV & Co." ในประเทศฟิลิปปินส์ที่จะเป็นเพียง firm สมาชิกในสังกัดของ
Ernst & Young หลังจากบรรลุข้อตกลงเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2002 ที่ผ่านมากำลังสะท้อนภาพเหล่านี้อยู่อย่างชัดแจ้ง
แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมา "SGV & Co." จะได้ชื่อว่าเป็น firm ท้องถิ่นที่มีศักยภาพ
และความแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาตั้งแต่เมื่อสิ้นสุดสงคราม
โลกครั้งที่สอง แต่ดูเหมือนว่าบทบาทการเป็น regional firm ดังกล่าวจะไม่เพียงพอสำหรับกระแสธุรกิจที่เน้น
global perspective และ international recognition เช่นในปัจจุบันเสียแล้ว
และประวัติศาสตร์อันยาวนานของสำนักงานยุกต์ ณ ถลาง (1940) และ SGV &
Co. (1953 : จากชื่อของ W. SyCip, Ramon J. Gorres และ Alfredo M. Velayo)
รวมทั้งความร่วมมือในการก่อตั้ง "SGV ณ ถลาง" เมื่อปี 1967 อาจคงเหลือเป็นเพียงตำนานว่าด้วย
พัฒนาการแห่งวิชาชีพผู้สอบบัญชี อีกบทหนึ่งเท่านั้น