|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จีนมองไทยเป็นฮับในภูมิภาค รับปากขนเงินเข้ามาลงทุนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม "ปรีชา" เผยจีนขอลงทุนผลิตเอทานอล ยา ธุรกิจสุขภาพ "พินิจ" กล่อม COFCO ซื้อข้าวหอมมะลิไทย 5 แสนตันปีหน้า ขณะที่ปตท. กฟผ.เนื้อหอมไม่แพ้กัน จีนขอร่วมลงทุนขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม และสร้างเขื่อนพลังน้ำ ด้านรองประธานซีนุค วิสาหกิจน้ำมันอันดับ 3 ของจีน เผยซีนุคน่าจะเข้ามาตั้งนานแล้ว "เพ้ง" ยันไทยพร้อม แลกเปลี่ยนสินค้ากับจีน อมตะได้ทีทุ่ม 500 ล้าน ผุดนิคมฯ รองรับ เจ้าสัวซี.พี.คาดจากนี้ไปต่างชาติลงทุนในไทยมากขึ้น "สุริยะ" สั่งเปิดโต๊ะรับนักลงทุนจีน เปิดทางจีนร่วมลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์
ระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ซึ่งเมื่อวานนี้ (21 ก.ย.) เป็น การประชุมวันแรก โดยเป็นการประชุมในระดับผู้นำนักธุรกิจของจีนกับรัฐมนตรีและนักธุรกิจของไทย มีจำนวนนักธุรกิจชั้นนำของทั้ง 2 ฝ่ายรวมประมาณ 160 คน
ก่อนการประชุมวันแรก มีปัญหาติดขัดเล็กน้อย เพราะเกิดน้ำท่วมกะทันหันตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 20 ก.ย. ทำให้การเดินทาง ไปยังโรงแรมเชอราตัน ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายไทย ต้องนั่งรถฝ่ารถติดและต่อรถบัสเพื่อเดินทางไปยังโรงแรม ทำ ให้การประชุมต้องเลื่อนเวลาออกไป จากกำหนดการเดิมเล็กน้อย ขณะที่ นักธุรกิจฝ่ายจีนไม่มีปัญหา เพราะได้พักที่โรงแรมเดียวกันนี้แล้ว พาณิชย์ชี้จีนมองไทยฮับเอเชีย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การมาของมาดามอู๋อี๋ รองนายกรัฐมนตรีจีน พร้อมกับนำบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนรวม 19 บริษัท มา หารือกับภาคเอกชนไทย แสดงให้เห็นว่าจีนให้ความสำคัญต่อประเทศไทยในด้านการค้าและการลงทุนเป็นพิเศษ เพราะการประชุมครั้งนี้ยังไม่เกิดขึ้นกับประเทศใดในอาเซียนที่จีนให้ความสนใจ และนำคณะนักธุรกิจชั้นนำมาหารือ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำในประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจให้แก่ไทย
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะจากการหารือกันทำให้ไทยทราบนโยบายการค้าและการลงทุนของจีนชัดเจน โดยจีนมองไทยว่าเป็นฮับของเอเชีย และสนใจทำการค้าการลงทุนกับไทยเป็นอย่างมาก และนโยบายของรัฐบาลจีนเองก็ชัดเจนว่าต้องการสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนหันมาร่วมมือทางธุรกิจกับนักธุรกิจไทย
"จีนบอกว่าเขาจับตาดูไทยมาโดยตลอด เพราะเดิมมองไทยเป็นฮับในอาเซียนอยู่แล้ว และยิ่งไทยไปทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ ก็ยิ่งฉายภาพความเป็นศูนย์กลางของไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจีนพร้อมที่จะเข้ามาเพิ่มมูลค่า การค้าและการลงทุนกับไทยในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น" นายปรีชากล่าว
นอกจากนี้ การประชุมที่เกิดขึ้นยังมีส่วน ผลักดันให้ชื่อเสียงของไทยโด่งดังไปทั่วโลก เพราะจีนซึ่งปัจจุบันนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้ทรงอำนาจทางเศรษฐกิจยังมองไทย ประเทศอื่นคงจะไม่มองไทยไม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่าเม็ดเงินที่จีนจะนำมาลงทุนในไทย อาจจะสูงกว่างบประมาณของประเทศทั้งปีก็ได้ จีนสนลงทุนผลิตเอทานอล-ยา
นายปรีชากล่าวว่า สำหรับการหารือร่วมกับนักธุรกิจของจีนนั้น ในส่วนของบริษัท China National Technical Imp&Export Corp ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้า และส่งออกเทคโนโลยีทางด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และพลังงานไฟฟ้า จากจีน แสดง ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโรงงานผลิตเอทานอลใน ไทย เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีทางด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และเห็นว่าไทยมีนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนน้ำมันด้วยการใช้เอทานอล จึงต้องการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาลงทุนในไทย
"เขาพร้อมจะเข้ามาลงทุน แต่ขอดูปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง และพื้นที่เพาะปลูกมีเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีพร้อมก็จะเข้ามาลงทุน รวมทั้งสนใจลงทุนปลูกอ้อย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำเอทานอล โดยมีเทคโนโลยีช่วยให้มีผลผลิตปีละ 2 รอบ โดยขอว่าถ้าผลผลิตน้ำตาลส่วนที่เพิ่มขึ้นจะขอซื้อไปจำหน่ายในจีน รวมทั้งยังแจ้งว่าจะขอซื้อยางพาราจากไทยด้วย"
ส่วนการหารือกับบริษัท China Worldbest Group Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทจีนที่มีการลงทุนในไทยติด อันดับ 1 ใน 5 และมีการลงทุนในไทยแล้วด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผ้าผืน และอุตสาหกรรมทำกรดมะนาว ซึ่งได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยา เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในการขยายตลาดในไทย ขณะเดียวกันยังสนใจลงทุนในธุรกิจสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชั้นนำ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ พญาไท และบำรุงราษฎร์ ที่จะพาคนไข้จีนเข้ามารักษาในโรงพยาบาลดังกล่าวของไทยรับปากซื้อข้าวหอมมะลิไทย 5 แสนตัน
นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผลการหารือกับประธานบริษัท China National Cereals,Oils and Foodsruffs Corp (COFCO) ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในจีน ได้ข้อสรุปว่า COFCO จะนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนตัน จากปีนี้ที่นำเข้าประมาณ 2 แสนตัน โดยข้าวหอมมะลิส่วนหนึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า (บาร์เตอร์-เทรด) ระหว่างกัน และยังรับที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการค้าขายข้าวระหว่างกัน โดยไทยขอให้ ไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำอีกเมื่อผ่านการตรวจสอบในไทยแล้ว รวมถึงการแก้ไขปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิร่วมกัน
"ทาง COFCO ได้ขอให้ไทยมีการแยกแยะและระบุชนิดข้าวระหว่างข้าวหอมมะลิกับข้าวหอมปทุมธานีให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยฝ่ายไทยให้ทูตพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่งเป็นแกนหลัก โดยจะมีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างกันกับเจ้าหน้าที่ของจีนต่อไป"
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จีนได้เสนอให้ไทยดูแลในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพข้าว หลังพบ ว่ามีบริษัทเล็กๆที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ มีการปลอมปน ข้าวหอมมะลิกับข้าวหอมปทุมธานี จึงขอให้ไทยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งได้แจ้งไปว่าขณะนี้กระทรวงฯ กำลังร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดทำตรารับรองข้าว 3 ชนิด คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุมธานี และข้าวอินทรีย์แท้ โดยจะมีเพียงตราเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาการปลอมปน รวมทั้งจะเพิ่มบทลงโทษผู้ที่กระทำการปลอมปนด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะมีการลงนาม ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับหน่วยงานตรวจสอบ มาตรฐานอาหารของจีน ในประเด็นการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอาหารของไทย ได้แก่ ผัก เนื้อจระเข้ และไก่ ขณะเดียวกัน การพัฒนาลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำของกระทรวงฯ ทางนักธุรกิจ ยังได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนด้วย โดยมีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท และจะใช้สินค้าเกษตรของไทยแลกเปลี่ยนด้วย แทนที่จะให้เข้ามารับเหมาโครงการเพียงอย่างเดียว
จับมือ ปตท.- กฟผ.ลงทุนก๊าซ-ไฟฟ้า
ส่วนในด้านพลังงาน นายพินิจกล่าวว่า บริษัท China National Offshore Oil Corp (CNOOC) แจ้งว่าต้องการเข้าร่วมทุนกับไทยในการขุดเจาะ สำรวจก๊าซธรรมชาติ โดยจะเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินการทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น พม่า กัมพูชา โอมานและอิหร่าน และในทางกลับกัน หากบริษัทจีนไปลงทุนที่ไหน ไทยก็จะไปเป็นหุ้นส่วนด้วย
ขณะที่บริษัท Sinohydro Corp Ltd ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรมพลังน้ำ ได้ตกลงที่จะร่วมทุนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำใน พม่า (เขื่อนสาละวิน) ลาว และกัมพูชา ส่วนบริษัท China Nonferrous Metal Mining ได้แสดงความ สนใจในการลงทุนบดถ่านหินเป็นน้ำมัน และด้านเหมือง ซึ่งได้แจ้งว่าจะแนะนำผู้ลงทุนฝ่ายไทยให้
ได้ทีดึงจีนร่วมทุน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.กำลังเดินหน้าการลงทุนในปิโตรเคมีระยะที่ 3 ที่มีมูลค่าโครงการประมาณ 8 แสนล้านบาท โดยการเดินทางมาพบนักลงทุนจีนครั้งนี้ ปตท.ได้นำเสนอถึงแผนเดินหน้าของโครงการ และเปิดให้นักลงทุนจากจีนที่สนใจให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วยในครั้งนี้ โดย ปตท.จะลงทุนเอง 50% และที่เหลือได้เปิดให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุน ซึ่งขณะนี้ทางปตท.มีแผนที่จะดึงนักลงทุนจากจีนเข้ามาลงทุนในโครงการ ดังกล่าว โดยที่จีนสามารถเข้ามารับทำสัมปทาน รวมถึงเข้ามาลงทุนการก่อสร้าง และวางท่อก๊าซ
"จีนมีแผนจะขยายฐานการผลิตด้านพลังงานไปยังประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และไทยก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จีนจะเข้ามาลงทุน เพราะไทยมีความพร้อมทั้งในเรื่องของศักยภาพของอุตสาหกรรม การขนส่ง และยังมีสิทธิพิเศษไว้รองรับนักลงทุนจากจีนอีกมาก" นายประเสริฐกล่าว
โจวโส่วเหวย รองประธานบริษัทไชน่า เนชั่นแนล ออฟชอร์ ออยล์ คอร์เปอเรชั่น (ซีนุค) วิสาหกิจน้ำมันอันดับ 3 ของจีน ให้สัมภาษณ์ว่า เขารู้สึกว่ามา ช้าเกินไป เนื่องจากการบุกเบิกเพื่อพัฒนาด้านอุตสาหกรรมน้ำมันไม่มีพรมแดน และจีนกับไทยก็ใกล้กันมาก ซึ่งเขาหวังว่ารัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนที่เป็น รูปธรรมในสิทธิพิเศษต่อการลงทุน ระบบการลดหย่อนภาษีที่ชัดเจน รวมถึงสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดี
โจวโส่วเหวยเปิดเผยถึงการลงนามในบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ครั้งนี้ว่า เป็นสัญญาเพื่อเป็นคู่ค้าระหว่างกัน แต่ยังไม่มีรายละเอียดของความร่วมมือ ซึ่งจะต้องมีการนัดประชุมกลุ่มย่อยต่อไป โดยซีนุคสามารถร่วมทุนเปิดบ่อขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมถึงการออกไปบุกเบิกในแหล่งต่างประเทศร่วมกับ ปตท.
รองประธานซีนุค ยังกล่าวถึงนโยบายสนับสนุนบริษัทต่างประเทศออกไปลงทุนในต่างแดน ของรัฐบาลจีนว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก มีกฎเกณฑ์ขั้นตอนที่ชัดเจน และอำนวยความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเงินทุนออกนอกประเทศที่ปัจจุบันสามารถทำได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
ทางด้านเจียงซู่เยี่ย รองผู้อำนวยการแผนกและวิศวกรอาวุโส แห่งบริษัทไชน่า เคมีคัล จีโอโลจี แอนด์ ไมน์ จากปักกิ่ง ซึ่งได้รับการอนุมัติให้เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทด้านเหมืองแร่ของไทยได้ตั้งแต่เมื่อกลางปีนี้ ให้ทัศนะเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทยว่า ไทยมีสิ่งแวดล้อมทางการลงทุนที่ดี ทั้งความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสองประเทศก็แนบแน่น เช่นเดียวกับในส่วนของประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นสังคมและเศรษฐกิจมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขาก็คือ เมื่อเดินเข้ามาในประเทศไทยแล้วไม่รู้สึกถึงความแปลกแยก ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทของเขาเลือกลงทุนในไทยเป็นแห่งแรกนอกประเทศจีน อย่างไรก็ตาม เจียงก็มีข้อเสนอว่า ขั้นตอนการอนุมัติให้ลงทุนในไทย และการประสานงานระหว่างหน่วยงานยังคงล่าช้า ตรงนี้เป็นจุดด้อยที่รัฐบาลไทย สามารถทำให้ดียิ่งขึ้นได้อีก เพราะนักลงทุนย่อมต้องการผลสำเร็จที่เร็วขึ้น ทั้งนี้ บริษัทของเขาคาดการณ์ว่าใน 5 ปีนี้จะมีการลงทุนในไทย 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
เช่นเดียวกับ อิ๋นหมิงซั่น ประธานบริษัทอุตสาหกรรมลี่ฟาน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน ที่มีแผนตั้งโรงงานแห่งที่ 3 นอกประเทศจีนในไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทและมีคู่ค้าจากไทยให้ความสนใจเจรจาหลายราย เช่น ไทยรุ่ง ยูเนี่ยนคาร์ อิ๋นหมิงซันกล่าวว่า บริษัทมีแผน เข้ามาลงทุนในไทยตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่ติดที่ข้อกำหนดด้านการลงทุนและการส่งออกของไทย ซึ่งเขามองว่าอนุรักษนิยมเกินไป แต่มาวันนี้ เมื่อนโยบาย เปิดกว้างมากขึ้น เขาได้เข้ามาเห็นบรรยากาศการลงทุนที่ดี และไม่รู้สึกถึงการกีดกันคนจีนจึงรู้สึกดีมาก แต่ก็ยังหวังว่าขั้นตอนการอนุมัติตั้งโรงงานจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เพ้งย้ำการแลกสินค้ามาตรฐานต้องชัด
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าได้เสนอให้นักธุรกิจ ของจีนช่วยไปคิดว่าในการแลกเปลี่ยนสินค้าของจีนกับสินค้าเกษตรของไทยที่จะมีขึ้นภายโต้โครงการบารเตอร์เทรดในอนาคตนั้น ขอให้ฝ่ายจีนมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่ามีความต้องการสินค้าเกษตรของไทย อะไรบ้าง และปริมาณเท่าไรในอีก 20-30 ปีข้างหน้า เพื่อที่ไทยจะได้วางแผนการผลิตให้เหมาะสม ขณะเดียวกัน ขอให้จีนศึกษาระเบียบกฎหมายของไทยให้ชัดเจน เพราะการร่วมงานทุกอย่างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของไทย นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันนั้น ได้แจ้งให้จีนทราบว่าไทยจะไม่คำนึงถึงสินค้าราคาถูกเพียงอย่างเดียว แต่จะคำนึงถึงมาตรฐานของสินค้าด้วย
"ทุกโครงการเมกะโปรเจกต์ รัฐบาลพร้อมที่จะทำบาเตอร์เทรด แต่มาตรฐานต้องชัด ต้องคุยกันให้ชัด เพราะบางทีไทยต้องการมาตรฐานอย่างหนึ่ง แต่จีนมีมาตรฐานอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ตรงกัน ก็ต้องคุยกันให้เคลียร์ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นจะเหมือนโครงการสร้างโรงงานยาสูบ ที่ยังไม่ก้าวหน้า เพราะกำหนดสเปกต่างกัน เราอยากได้มาตรฐานอิตาลี แต่จีนบอกจะใช้มาตรฐานของจีน เลยทำให้ช้า ถือเป็นอุทาหรณ์ ต่อไปเราต้องคุยกันให้ชัด" นาย พงษ์ศักดิ์กล่าว
อมตะผุดนิคมอุตฯ รับการลงทุนจีน
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อมตะกรุ๊ป ในฐานะรองประธานสภาธุรกิจไทย-จีน กล่าวว่า ขณะนี้อมตะกรุ๊ปมีแผนที่จะร่วมกับบริษัทโฮลี่ จำกัด ทำนิคมอุตสาหกรรมจีนในประเทศไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง เพื่อรองรับธุรกิจจีนที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก โดยในเบื้องต้นจะมีการลงทุนขั้นต่ำ 300-500 ล้านบาท ในการพัฒนาที่ดิน สร้างโรงงานสำเร็จรูป ถนน และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ บนพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ จากพื้นที่ว่างทั้งหมดในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 5,000 ไร่ ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี จะมีนักลงทุนจากจีนเข้ามาอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจีนเต็มพื้นที่ หรือมีโรงงานเกิดขึ้นมากกว่า 30 โรงงาน ซึ่งแต่ละโรงงานจะใช้เงินลงทุน 30-60 ล้านบาท กลุ่มสินค้าที่จะเข้ามา เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าไฮเทคโนโลยี
"ต้นปีหน้า การลงทุนของจีนจะทยอยเข้ามาใน ไทยอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพราะจีนต้องเร่งเข้ามาลงทุนเพื่อรับการแข่งขันจากประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เนื่องจากมีการบีบคั้นทางด้านการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่เลือกไทย เพราะเห็นว่าไทยมีการจัดทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ โดยต้องการให้ไทยเป็นประตูใหญ่ในการส่งออกสินค้าจากจีน"
ส่วนความร่วมมือไทย-จีน ครั้งนี้ มั่นใจใน 5 ปี ไทยจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฮเทคโนโลยีในอาเซียนได้แน่นอน หากรัฐบาลไทยเร่งดำเนินการและผลักดันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มากกว่าคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่ให้สิทธิพิเศษนักลงทุนต่างๆ มากกว่าไทย 30% และพัฒนาระบบลอจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งจะต้องทำทุกอย่างให้เสร็จในปีนี้ เจ้าสัวซี.พี.คาดการลงทุนไทยดีขึ้นแน่
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า ทิศทางการลงทุนของไทยหลังจากนี้ต่อไปจะดีขึ้นแน่นอน เพราะไทยเป็นประเทศที่ต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลก และยังให้สิทธิพิเศษในเรื่องการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมหลายด้าน ทั้งระบบลอจิสติกและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ขยายตัวอย่างมาก
"การจัดการประชุมครั้งนี้จะเป็นผลดีต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีนเป็นอย่างมาก และอะไรที่คนไทยทำไม่ได้ไม่ต้องกลัว ให้จีนเข้ามาได้ เพราะไทยเองจะได้ประโยชน์ เนื่องจากจีนมีศักยภาพด้านการผลิตสูง และไม่ต้องห่วงว่าจีนจะเข้ามาขายสินค้า หรือลงทุนแข่งกับไทย เพราะจีนเข้า มาลงทุนการผลิต ก็ส่งออกกลับไปจีน มาใช้ไทยเป็น ฐานการผลิตและการลงทุนเท่านั้น" นายธนินท์กล่าว
"สุริยะ" สั่งเปิดโต๊ะรับลงทุนจีน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางมา บรรยายให้นักธุรกิจจีนรับทราบถึงนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนของไทย โดยระบุว่า นโยบายในด้าน การส่งเสริมการลงทุนของไทยสำหรับจีนคงจะไม่ให้สิทธิประโยชน์มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่จะให้รายละเอียดของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้มากขึ้น โดยจะมีส่วนเฉพาะที่จะใช้รองรับการลงทุนของนักลงทุนจากจีน "ได้บอกนักลงทุนจีนไปว่า บรรยากาศการลงทุนในไทยตอนนี้เอื้อมาก อุตสาหกรรมของไทยมีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรปิโตรเคมี ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า" นายสุริยะกล่าว
ขณะที่นายนายพงษ์ศักดิ์ ได้บรรยายพิเศษแก่นักธุรกิจของจีน ในเรื่องเมกะโปรเจกต์ โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า รัฐบาลยังคงยืนยันเดินหน้าจัดโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้ง 7 โครงการ ได้แก่ โครงการ สร้างรถไฟฟ้า โครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งภายในประเทศ รถไฟรางคู่ การจัดหาหัวรถจักร การสร้างท่าเรือ เป็นต้น โดยต้องการเชิญให้นักลงทุนจีนเข้ามา ร่วมลงทุน และยังต้องการให้จีนเข้ามาร่วมลงทุนจัดตั้งกองเรือแห่งชาติด้วย ซึ่งการลงทุนจะใช้การบารเตอร์เทรด เพื่อให้จีนมีการซื้อสินค้าไทยกลับคืน
|
|
|
|
|