เพราะเป็นบริษัททางด้านไฮเทคโนโลยี "เทเลคอมเอเซีย" จึงได้ตระหนักดีว่า ภาระของการสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นจิ๋วนั้น
สำคัญมากนัก
7.00 น. ของเช้าวันเสาร์ ที่ 8 เมษายน 2543 ที่ผ่านมา บริเวณลาน ที่จอดรถของตึก
TA ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก สดชื่นแจ่มใสเป็นพิเศษ เมื่อเด็กๆ กลุ่มใหญ่เกือบ
100 คนจากโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเอกชนกว่า
10 แห่ง ได้มารวมตัวกัน เพื่อรอขึ้นรถไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
จังหวัดชลบุรี ซึ่งจัดร่วมกันกับฝ่ายชุมชน สัมพันธ์ บริษัทเทเลคอมเอเซีย
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทีเอได้จัดกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนให้เกิดความรักความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์
โดยการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน ห้องเรียนนอกสถานที่มาตั้งแต่ปี 2537 ล่าสุดได้จัดค่าย
ที่ชื่อว่า "ใต้สมุทร...สุดอัศจรรย์"
" ที่เราให้ความสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เพราะมองจากบริษัทตัวเอง จะเห็นได้ชัดเลยว่า
เราขาดคนทางด้านนี้ มันไม่ได้ขาดเฉพาะบุคลากร แต่เราขาดในแง่วัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์
ของการใฝ่รู้ การแสวงหา และการตื่นตัว อะไรต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น
ว่าเราต้องพึ่งคนอื่น เราเลยอยากให้เด็กหันมาสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น
โดยจะจัดค่ายวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างนี้ประมาณปีละ 3 ครั้ง" เกษม ตั้งทรงศักดิ์
รองผู้อำนวยการฝ่าย ชุมชนสัมพันธ์ อธิบายถึง ที่มาของโครง การนี้
โชคดี ที่มาคราวนี้เด็กๆ ไม่ต้องลงไปดำน้ำตากแดดตากลม เพราะสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้
เป็นแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ ที่มีห้องปฏิบัติการทางทะเลรวม 16 ห้อง และมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล
ที่สามารถให้เยาวชนเข้าไปเรียนรู้ได้ มีตัวอย่างสัตว์ และพืชใต้สมุทรมากมายจัดแสดงไว้ให้เด็กๆ
สำรวจอย่างใกล้ชิด ภารกิจหลักของการจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็คือ ให้เด็กๆ ได้แสดงออกถึงความอยากรู้
อยากเห็น อยากคิด อยาก ถาม และฝึกตั้ง "คำถาม" จากสิ่งที่พบ เห็นให้ได้จำนวนคำถามมากที่สุด
ซึ่งนั่นก็หมายถึงจุดสำคัญของการเป็นนักวิทยาศาสตร์
คำถามดีๆ จากนักวิทยาศาสตร์รุ่นจิ๋วเกิดขึ้นแล้ว อาทิ ปลาหมอทะเล 1 ปีจะตัวยาวขึ้นเท่าไร?
ปะการังมีวงจรชีวิตอย่างไร? ทำไมปลาการ์ตูนจึงมีสี ที่สวยงาม? สัตว์ ที่อยู่อาศัยในเขตน้ำขึ้น
น้ำลงจะสามารถอาศัยอยู่ในเขต ที่ไม่ใช่น้ำขึ้นน้ำลงได้หรือไม่?
"โอ้โฮ น่าดีใจมาก ไม่น่าเชื่อว่าเด็กตัวเล็กๆ 8-9 ขวบ จะมีคำถาม ที่แสดงความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์อย่างนี้
รศ.ดร.จริยา สุจารีกุล แห่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
(สสวท.) ซึ่งร่วมเดินทางไปกับค่ายวิทยาศาสตร์คราวนี้ด้วยให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"
เมื่อผ่านขั้นตอนสงสัยไปทุกเรื่อง แล้ว ต่อไปเด็กๆ จะต้องค้นคว้าคำตอบให้ได้ด้วยตัวเอง
โดยมี ดร.จริยา นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน และพี่ๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นพี่เลี้ยง
รวมประมาณ 20 คน
ดร.จริยา ได้กล่าวสรุปให้พี่เลี้ยงหรือคุณครู ที่เข้าร่วมโครงการฟังว่า
"ครูไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามทุกคำถาม เพียงแต่มีเทคนิคในการตั้งคำถามนำให้เด็กสนใจ
คิดตาม และกล้า ที่จะแสดงความคิดเห็น กระตุ้น ให้เขาสนใจให้ความร่วมมือ และช่วยกันค้นหาคำตอบ"
ในช่วงเวลาของการเข้าค่ายพักแรม 2 วัน 1 คืนนั้น เด็กๆ ยังได้ร่วมเกมสันทนาการ
และเข้าร่วมกิจกรรมอีกมากมายตามความสนใจ ที่อยากรู้ เช่น การเลือกเข้าฐานปฏิบัติการนิเวศ
วิทยา ฐานปฏิบัติการจุลชีววิทยา ฐานปฏิบัติการแพลงตอนพืช หรือฐานปฏิบัติการแพลงตอนสัตว์
หลังจากนั้น ก็ต้องสรุปข้อมูลจากฐานปฏิบัติการวางแผนทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พร้อม นำเสนอต่อไป
กลางคืนวันเสาร์ยังได้เปิดเวทีเสวนา ระหว่างครูกับนักเรียนในหัวข้อกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ที่ครู และเด็กอยากให้มีให้เป็นในโรงเรียนอีกด้วย
นอกจากโครงการค่ายวิทยา ศาสตร์ ที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารของทีเอยังมีแนวความคิด
ที่ตรงกันว่า "การสร้างคน" ที่มีคุณภาพควรจะมี พื้นฐานหลัก ที่สำคัญคือ การอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
และการอนุรักษ์คุณค่าศิลปวัฒนธรรม และประเพณี ที่ ดีงามของสังคมไทยควบคู่ไปด้วย
แต่ทำอย่างไร ที่จะสามารถนำเอากิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น มาผนวกกับความรู้ทางด้านวิชาการ
และทำให้เด็กได้เรียนรู้ และเข้าร่วมได้อย่างมีความสุข เพื่อเป็น การปลูกฝังจิตสำนึกให้คนรุ่นต่อไปเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ
คือ โจทย์ ที่ผู้บริหารคิด
และนั่นก็คือ ที่มาของกิจกรรมค่ายเยาวชน ห้องเรียนนอกสถานที่ ห้องเรียนธรรมชาติ
ห้องเรียนวัฒนธรรม และห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ฝ่ายชุมชน สัมพันธ์จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง
6 ปีแล้ว และมีโรงเรียนต่างๆ ให้ความสนใจ และเข้าร่วมด้วยถึง 38 โรงเรียน
ค่ำวันอาทิตย์ รถบัส 2 คัน วิ่งตามกันมาจอดลงหน้าตึก TA ที่เดิม เด็กๆ
วิ่งกรูลงมาด้วยใบหน้าที่เปี่ยมไป ด้วยความสุข งานจบลงแล้ว แต่ภารกิจต่อเนื่องของฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ของ
ทีเอ ยังไม่สิ้นสุดลงแน่นอน