Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
อนาคตวิทยา             
 





อนาคตวิทยา (Futurology) น. การศึกษาหรือการทำนายเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำนายความกาวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ พัฒนาการของสังคม โดยอิงกับสภาพการณ์และแนวโน้มที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Albert Einstein สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยที่ไม่เคยชนะแม้แต่คะแนนเสียงเดียวหรือบัญชาการกองทัพ สิ่งเดียวที่เขามี คือ ความคิดความคิดหนึ่ง แม้ความคิดนั้น ซึ่งเขาได้แสดงไว้ในรายงานที่เขียนขึ้นในปี 1905 ว่าด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity) จะเข้าใจง่ายมากราวกับเป็นผลงานของเด็ก แต่ผลของมันกลับยิ่งใหญ่เหลือประมาณ ความคิดเพียงความคิดเดียวของ Einstein นำ ไปสู่ยุคทองครั้งใหม่ของฟิสิกส์และมีบทบาทอย่างมาก ในการกำหนดอนาคตของศตวรรษที่ 20

ความคิดนี้ยังได้เปลี่ยนวิถีทางที่มนุษย์เราใช้ในการกำหนด อนาคต ไม่ต้องใช้สงคราม ไม่ใช่การปฏิวัติ แต่ใช้ความรู้ทางวิทยา ศาสตร์ สิ่งนี้ยังคงเป็นความจริงมาจนถึงทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์หัวยุ่งผู้ชอบแต่งตัวปอนๆ โดยไม่แคร์สายตาสังคมคนนี้ ได้ยืนยันความเชื่อที่ว่า วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดได้ ด้วยการ ปรากฏตัวขึ้นของอัจฉริยะคนหนึ่ง ที่นานทีปีหนจึงจะได้พบเจอ อัจฉริยะผู้ตีความทุกสิ่งทุกอย่างใหม่ แล้วสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินได้ ด้วยความคิดอันยิ่งใหญ่ เพียงความคิดเดียว อย่างที่นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชอบเรียกว่า เป็น "การเปลี่ยนกระบวนทัศน์" (Paradigm Shift)

Einstein ทำให้ฟิสิกส์ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกตลอดกาล ความคิดของเขาได้ปูทางไปสู่ยุคแข็งแกร่ง ของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ Internet และระเบิดปรมาณู อันเป็นที่มาของสงครามเย็น ความฉลาดหลักแหลมของคน เพียงคนเดียว สามารถกำหนดอนาคต ของศตวรรษที่ 20 แล้วใคร? จะเป็นอัจฉริยะรายต่อไป จะมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนใหม่ปรากฏกายขึ้น เพื่อกำหนดอนาคตต่อจากนี้ไปของเราอีกหรือไม่

มีเหตุผลมากพอที่คำตอบน่าจะเป็น "ไม่" ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว นับจากเมื่อครั้งที่ Einstein ทำงานเป็นเสมียนประจำสำนักงานสิทธิบัตรสวิสในตอนกลางวัน และเป็น นักฟิสิกส์คนสำคัญของประวัติศาสตร์โลกในตอนกลางคืน ในยุคของ Einstein วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นความชอบส่วนตัว และนักประดิษฐ์ยังคงทำการทดลองอยู่ในห้องใต้ดินในบ้านตัวเอง แต่วันนี้ มีห้องทดลองวิทยาศาสตร์อยู่ทั่วไปหมด ทั้งที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล มหาวิทยาลัย บริษัทยักษ์ใหญ่ หรือนักลงทุน กระเป๋าหนัก และต่างก็ขะมักเขม้นค้นหาสิ่งใหม่และใหม่ยิ่งๆ ขึ้น ไม่เว้นแต่ละวัน การค้นพบและการประดิษฐ์คิดค้นได้กลายเป็นเรื่อง ปกติธรรมดาที่หาความพิเศษไม่ได้ไปเสียแล้ว (อย่างน้อยก็ในประเทศพัฒนาแล้ว)

ถึงแม้ว่าความฉลาดหลักแหลมส่วนบุคคลจะยังคงมีความสำคัญ แต่คงเป็นการยากในยุคสมัยนี้ ที่ผลงานวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นจากอัจฉริยภาพของใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว อย่างในยุคของ Einstein แม้กระทั่งความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่อย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพ ที่สามารถส่งผลถึงขั้นพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ก็ยังยากที่จะเกิดขึ้นใน ยุคนี้เพราะ "วงการวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้คลาคล่ำไปด้วยอัจฉริยะ และทุกคนต่างก็กำลังแก้ปัญหาอันยิ่งใหญ่กันอยู่ทั้งนั้น" Daniel Kevles นักประวัติศาสตร์จาก Yale กล่าว

ปรากฏการณ์เช่นนี้มีความหมายอย่างไร มันหมายความว่า ขณะนี้สังคมของเราสามารถ "สั่ง" ความก้าวหน้าได้อย่างใจ เราสามารถผลิตความก้าวหน้าได้ อย่างสม่ำเสมอซ้ำยังวางใจได้ในคุณภาพของมัน จะเอาให้ยิ่งใหญ่ ขนาดฟ้าถล่มดินทลายแค่ไหนก็ได้ ความต้องการความก้าวหน้าที่สั่งได้นี้มีต้นกำเนิดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพ สหรัฐฯ ต้องการให้ระเบิดต่อต้านอากาศยานของตน ยังคงสามารถ ระเบิดได้ แม้จะทิ้งพลาดเป้าไปจากเครื่องบินของศัตรู แต่ไม่มีใครรู้วิธีที่จะทำให้ระเบิดทำงานกลางอากาศแม้ไม่ปะทะสิ่งใด ในเวลาที่เหมาะสมที่จะไม่เป็นอันตรายต่อเครื่องบินอเมริกันเอง

ดังนั้น Pentagon จึงให้เงินแก่ห้องทดลองฟิสิกส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัย John Hopkins ใน Baltimore รัฐ Maryland แล้วเรียกระดมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านพลาสติก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า และสาขาอื่นๆ มารวมหัวกันที่นี่ ผลงานที่ได้คือสายชนวนแบบพิเศษที่ทำให้ระเบิดได้เพียงแต่เข้าใกล้เป้าหมายถึงแม้จะไม่ปะทะ ซึ่งกลายเป็นตัวตัดสินชัยชนะของสหรัฐฯ ในสงคราม การคิดค้นสายชนวนพิเศษดังกล่าวรวมทั้งโครงการคิดค้น ระเบิดปรมาณู Manhattan Project ได้กลายเป็นแบบอย่างของการเรียกระดมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ให้มารวมสมองกันเฉพาะกิจ ในยามที่ต้องการสิ่งประดิษฐ์ใดสิ่งประดิษฐ์ หนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง

การเปลี่ยนแปลงในวิธีการได้มาซึ่งการค้นพบและได้มาซึ่งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่นนี้ ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างยุ่งยากซับซ้อนขึ้น และเป็นที่มาของการประดิษฐ์เครื่องจักรที่มีกลไกซับซ้อนจนน่าปวดหัว แต่ที่น่าปวดหัวยิ่งกว่าคือ ทำให้วิธีการประดิษฐ์และสร้างสิ่งต่างๆ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ Pentagon ตกลงจ้างผู้รับเหมารายหนึ่ง ให้สร้างเครื่องบินขับไล่ลำใหม่ ผู้รับเหมารายนี้ก็จะแจกจ่ายงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์และระบบหลักระบบย่อยต่างๆ ของเครื่องบินลำนี้ ไปให้แก่ผู้รับเหมาช่วงหลายๆ ราย ซึ่งอาจส่งต่อไปให้คนอื่นๆ ได้อีกหลายทอด "Henry Ford อาจเข้าใจ งานทุกจุดบนสายการผลิตของเขา แต่ที่โตโยต้าไม่มีใครทำอย่างนั้นได้" Don Kash ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัย George Mason ในวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าว

แต่สิ่งที่แปลกก็คือ เรากลับไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ของสิ่งต่างๆ รอบตัวเราในขณะนี้ นวัตกรรมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในคนรุ่นก่อนๆ

ในปี 1970 Alvin Toffler ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มดัง "Future Shock" ของเขาว่า เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างรวดเร็วเสียจนกระทั่ง ทำให้คนคนหนึ่งรู้สึกว่า ตัวเองกลายเป็นคนแปลกหน้าของสังคมวัฒนธรรมที่ตนเกิดมา หนังสือของ Toffler ถูกใจคนอ่าน เพราะหลายคนกำลังรู้สึกอยู่แล้วว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งในยุคนั้นคือโทรทัศน์ ยาคุมกำเนิด และทรานซิสเตอร์ ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาอย่างรวดเร็วจนสูญเสียทิศทางและน่าตื่นตระหนก

อย่างไรก็ตาม การที่ทุกวันนี้เรารู้สึกคุ้นเคย หรือแม้กระทั่ง แทบไม่รู้สึกตื่นเต้นกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ได้หมายความว่า ความรู้สึกประหวั่นพรั่นใจจะหมดไป แม้ Internet จะไม่ได้เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเราก็จริง แต่มันก็ได้เปลี่ยนหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของเราไปแล้วอย่างรวดเร็วจนเราแทบตั้งตัวไม่ติด

ภายในเวลาเพียงแค่ 10 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความก้าวหน้า ที่นับได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเราหลายอย่าง ไม่เพียงแค่ Internet แต่ยังมีการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์และการโคลนนิงแกะ Dolly แต่คงจะสมเหตุสมผล หากจะสันนิษฐานว่า ความก้าวหน้าที่เราจะได้พบเห็นในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ น่าจะถึงกับทำให้เราลืมสิ่งที่เราได้พบเห็นมาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไปเลย

Arthur C. Clarke นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เคยกล่าวว่า เขาแทบไม่เคยทำนายอนาคต เขาแค่จินตนาการอนาคตจากสิ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เพียงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังเริ่มถดถอยทางเศรษฐกิจ มีน้อยคนที่ทำนายว่าเศรษฐกิจอเมริกันจะผงาด ขึ้นครอบงำเศรษฐกิจโลก

มาขณะนี้นักทำนายอนาคตน้อยคนเช่นกันที่ทำนายว่า ภายในปี 2012 ยุโรปจะเข้าแทนที่สหรัฐฯ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก Internet เปิดโลกใหม่ๆ ด้วยการเชื่อมต่อ PC ของคุณเข้ากับคอม พิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกวันนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไปไกลถึงขนาด การฝังชิปขนาดจิ๋วในข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเรา (และแม้แต่ในตัวเราเอง)

เทคโนโลยี "Grid" Computing กำลังจะกระจายความสามารถในการทำงานคำนวณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมหาศาล ไปให้แก่เครื่องมืออื่นๆ Internet จะยิ่งแนบแน่นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น และเราก็จะยังคงต้องจัดการกับปัญหาความ ปลอดภัยของข้อมูล และการละเมิดความเป็นส่วนตัวต่อไป

ถ้าดูจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในห้องแล็บทั้งหลายในเวลานี้ เป็นเกณฑ์ บางที "สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นต่อไป" อาจมาจากวงการพันธุกรรม และไม่จำเป็นว่าจะต้องมาจากการค้นพบความรู้อันยิ่งใหญ่อันใหม่แต่อย่างใด การผสมเทียมในหลอดแก้วเดี๋ยวนี้ก้าวหน้า ถึงขั้นที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถเพาะตัวอ่อนมนุษย์ในจานแก้ว petri dish ได้แล้ว ถ้าหากเทคโนโลยีในด้านนี้ยังคงก้าวหน้าต่อไปจนถึงขั้นสามารถสร้างตัวอ่อนได้ครั้งละหลายๆ ตัว เทคโนโลยี การคัดเลือกพันธุ์มนุษย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เราคิดขึ้นได้มานานแล้ว จะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีลักษณะทาง พันธุกรรมที่ดีที่สุดได้ แม้ว่าการทำเช่นนี้จะผิดกฎหมายในสหรัฐฯ หรือยุโรป แต่กฎหมายคงเอื้อมไปไม่ถึงหากเกิดขึ้นในจีน นักวิทยาศาสตร์ที่ร้อนวิชาหลายคนถึงขนาดพยายามที่จะสร้างมนุษย์โคลนนิ่งคนแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประหวั่นพรั่นใจเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ข่าวคราวในด้านบวกก็ยังมี ซึ่งได้แก่ด้านการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัยโรคโดยอาศัยชิปที่ฝังอยู่ในยีนและเทคโนโลยีอื่นๆ อาจช่วยบอกเราได้ว่า เรามีความไวต่อโรค ใดเป็นพิเศษ หรือเราจะมีปฏิกิริยาต่อยาตัวหนึ่งๆ อย่างไร ด้วยความรู้เหล่านี้ หมออาจสามารถสั่งอาหารเฉพาะและวิธีการรักษาเฉพาะ ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของยีนในตัวเราได้

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ข้างต้น จะส่งผลกระทบแก่เราอย่าง กว้างขวาง ยิ่งกว่าที่เราได้เคยพบมาแล้วในอดีต เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ปรากฏออกมาอย่างไม่ขาดสาย จนสะสม ทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ เช่นนี้ บางครั้งอาจทำให้เกิดผลที่เราคาดคิด ไม่ถึง อย่างเช่นยาคุมกำเนิด ซึ่งทำให้คนมีบุตรน้อยลง หมายความว่า โลกมีประชากรในวัยสูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ และกำลังเป็นปัญหาปวดหัวของรัฐบาลประเทศต่างๆ รวมถึงโลกธุรกิจด้วย การ ที่ผู้หญิงเข้าสู่โลกของการทำงานเป็นจำนวนมากขึ้น หมายความว่า ผู้ชายต้องเตรียมตัวเตรียมใจยอมรับสถานภาพที่ตกต่ำลง (ผู้ชายคงมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจเหลือเฟือเพราะอายุยืนขึ้น)

แต่สิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุดคือ ยิ่งเรามีสิ่งประดิษฐ์มากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นฐานให้เราสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานจากห้องทดลองของบริษัทใหญ่ๆ หรือจากนักประดิษฐ์ไร้สังกัด ตัวอย่างเช่น Einstein ก็ใช้เทคโนโลยี ที่เขาประสบพบเห็นอยู่ทุกวี่วันรอบๆ ตัวเขา เป็นฐานในการคิดต่อยอดอย่างก้าวกระโดดเกี่ยวกับฟิสิกส์และธรรมชาติของเวลา ใน การตั้งนาฬิกาในสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วทั้งยุโรปให้ตรงกัน คงมีการส่งสิ่งประดิษฐ์ที่จะใช้เพื่อการนี้ เช่น ตัวถ่ายทอดสัญญาณ อุปกรณ์กลไกไฟฟ้า และเครื่องมือต่างๆ ในการตั้งนาฬิกา ผ่านโต๊ะของเสมียนสำนักงานสิทธิบัตรสวิสที่ชื่อ Einstein บ้างไม่มากก็น้อย "ทุกวัน Einstein จะเดินจากบ้านมาทำงานที่สำนักงานสิทธิบัตร" Peter Galiston นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์แห่ง Harvard เคยเขียนไว้ "ทุกวันเขาต้องมองเห็นหอนาฬิกาหลายแห่งที่ตั้งตระหง่านอยู่เหนือ Bern พร้อมทั้งนาฬิกาเรือนอื่นๆ อีกมากมายที่เชื่อมโยงกับหอนาฬิกาเหล่านั้น และยังได้เห็นนาฬิกาที่ติดตั้งอยู่ตามท้องถนนอีกนับไม่ถ้วน ที่เชื่อมต่อกับกรมไปรษณีย์โทรเลข"

บางทีความคิดอันยิ่งใหญ่ของ Einstein คงไม่ได้มาจากสมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว แต่มีต้นกำเนิดมาจากสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในยุคของเขา แล้วนักวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ ซึ่งได้พบเห็นนวัตกรรมมากมายมหาศาลเสียยิ่งกว่ายุคของ Einstein นับร้อยนับพันเท่า

น่าคิดว่า พวกเขากำลังหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยน แปลงอะไรไว้ในทุกวันนี้

แปลและเรียบเรียงจาก Newsweek September 16/September 23, 2002 โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ linpeishan@excite.com

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us