Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
มรณกรรมของรัฐสวัสดิการ             
 





เกิดมาเพื่อต่อสู้กับการไม่มีงานทำในยุคหลังสงครามโลก แต่ขณะนี้รัฐสวัสดิการกำลังเผชิญกับอนาคตที่จะขาดแคลนแรงงาน

ข่าวมรณกรรม : Stockholm, 2012 รัฐสวัสดิการถึงแก่มรณกรรมเสียแล้วเมื่อคืนนี้ที่บ้าน สิริรวมอายุ 66 ปี เกิดในลอนดอน หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์ในชีวิตคือ เพื่อรักษาความสงบในสังคมที่มีคนล้นงาน เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่สวัสดิการเงินบำนาญ สวัสดิการสุขภาพ และสวัสดิการช่วยคนตกงาน ทำให้คนทั้งหลายมีความสุข โดยเฉพาะในสวีเดน ซึ่งรัฐสวัสดิการมีความกรุณาสูงสุด แต่ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา แพทย์ทั้งหลายได้รับคำเตือนว่า สุขภาพของรัฐสวัสดิการ เริ่มไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอสำหรับยุโรปใหม่ ซึ่งกำลัง มีคนทำงานน้อยเกินไป จนไม่สามารถจะแบกรับภาระเลี้ยงดูประชากร สูงอายุ ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ความใจดีมีเมตตาของรัฐสวัสดิการ กลับกลายเป็นวิธีช่วยชีวิตที่เป็นอันตรายต่อการผลิต ทำให้รัฐสวัสดิการเองได้รับบาดเจ็บจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับรัฐอื่นๆ จนถึงเมื่อคืนวานนี้ แม้แต่ชาวสวีเดน เองก็จำต้องถอดเครื่องช่วยหายใจออก สาเหตุการเสียชีวิต : ล้มเหลวที่จะเปลี่ยนแปลง

นักประพันธ์ Paul Hewitt ทำนายว่า รัฐสวัสดิการจะพบ "จุดจบ" โดยจะเกิดวิกฤติการณ์ที่อาจทำให้ต้นศตวรรษที่ 21 เกิดความโกลาหลวุ่นวายไม่ผิดกับสงครามโลกทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ในฐานะนักวิชาการประจำ Center for Strategic and International Studies ซึ่งตั้งอยู่ในวอชิงตัน Hewitt ชี้ว่า การหดตัวลงของจำนวนประชากรวัยทำงานจะบ่อนทำลายการเติบโตของประเทศต่างๆ ตั้งแต่สหรัฐฯ จนถึงญี่ปุ่น ซึ่งจะนำไปสู่วงจรอุบาทว์ของการตกต่ำทางเศรษฐกิจ ที่จะเริ่มจากการหดตัวของดีมานด์ ตามด้วยการหดตัวของกำไร การตกต่ำของราคาหุ้น และอาจถึงขนาด "เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบไปถึงรัฐสวัสดิการเองด้วย"

รัฐสวัสดิการจะถึงกาลอวสานจริงหรือ อย่างที่เราทราบกันว่า รัฐสวัสดิการมีกำเนิดมาจากจิตวิญญาณ "New Jerusalem" ในอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความคิดของ William Beveridge นักเศรษฐศาสตร์สาย Keynes และเป็นตัวเป็นตนขึ้นได้ด้วยความกลัวไม่มีงานทำ

ด้วยเหตุนี้ รัฐสวัสดิการจึงยากที่จะปรับตัวเข้ากับโลกที่กำลังจะเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน "รัฐสวัสดิการถูกสร้างขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่คนรุ่นปู่ของเราเผชิญ" ศาสตราจารย์ Gosta Esping-Anderson แห่งมหาวิทยาลัย Pompeu Fabra ใน Barcelona กล่าว แต่เมื่อจำนวนชาวยุโรปที่มีอายุมากกว่า 60 เพิ่มจำนวนขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยทำงานหดตัวลง ก็มีบางอย่างที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยน เพราะจะไม่มีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมากพอ ที่จะรับภาระเลี้ยงดูประชากรวัยเกษียณได้อีกต่อไป ทางแก้ปัญหาที่คิดกันก็เช่น ให้สตรีที่แต่งงานแล้วไปทำงานมากขึ้น เปิดประเทศรับแรงงานต่างด้าวมากขึ้น และยืดอายุเกษียณออกไป

แน่นอน การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานและเจ็บปวด แต่มันกำลังจะเกิดขึ้น ต้นปีนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะว่า อายุเกษียณน่าจะยืดออกไปอีก 5 ปี ภายในปี 2010 ชาวยุโรปคงจะไม่ชอบใจ แต่ถ้าต้องเลือกระหว่างการถูกเก็บภาษีมากขึ้นกับการทำงานนานขึ้น พวกเขาก็อาจต้องยอมที่จะเกษียณอายุช้าลง ส่วนการต่อต้านแรงงานต่างด้าวก็คงจะไม่อาจทำได้อีกต่อไป

อังกฤษ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดความคิดรัฐสวัสดิการ อาจกลายเป็นประเทศต้นแบบในการเปลี่ยนแปลงเสียเอง เพราะอังกฤษไปไกลกว่าใครๆ ในเรื่องกองทุนบำนาญข้าราชการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเอกชน ซึ่งแม้แต่รัฐสวัสดิการชั้นดีอย่าง สวีเดนและเยอรมนียังต้องเดินตาม

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยทำให้บัญชีงบประมาณประเทศสมดุล แต่ศาสตราจารย์ Peter Taylor-Gooby แห่งมหาวิทยาลัย Kent ชี้ว่า จะส่งผลเพิ่มระดับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องรายได้ในหมู่ผู้รับบำนาญ เขายังกล่าวต่อไปว่า รัฐสวัสดิการอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยง "การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน" ได้นานนัก และถ้านั่นหมายถึง "จุดจบ"

จุดจบนั้นก็ใกล้จะมาถึงแล้ว และจะถึงขั้นเกิดกลียุคไหม Bernd Marin แห่ง European Center for Social Welfare Policy and Reserch จะเป็นผู้ตอบคำถามนี้ "การล่มสลายของระบบรัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นระหว่างปี 2012-2015 หากไม่มีใครลงมือทำอะไรตั้งแต่เดี๋ยวนี้" เขาคาดหวังให้รัฐเริ่มปฏิรูปไปทีละน้อยๆ แต่ต้องเร็วพอที่จะนำหน้าวิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นก้าวหนึ่งเสมอ

แม้ว่าข่าวมรณกรรมของรัฐสวัสดิการอาจจะเขียนขึ้นเร็วเกินไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นความจริง การล้มเหลวที่จะเปลี่ยนแปลงสามารถเป็นสาเหตุการตายได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us