|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ก้องเกียรติ” โชว์สถิติเทกโอเวอร์ทั่วโลก 5 ปีที่ผ่านมา มี 2 หมื่นรายการต่อปี มูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญ "เอเซียแปซิฟิค" ปีละ 6 พันรายการ มูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ กลุ่มแบงก์ อสังหาฯ หลักทรัพย์ ควบรวมมากสุด ด้าน"กิติพงศ์- เบเคอร์ฯ" ชี้ผลสำรวจเทคโอเวอร์ในต่างประเทศสำเร็จ 49% และไม่ประสบความสำเร็จ 50%
วานนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จัดสัมมนาเรื่อง “M&A-Create The Power to Strengthen Your Business”
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า จากสถิติการควบรวมกิจการทั่วโลก 5 ปีที่ผ่านมา มีการควบรวม 20,000 รายการ ต่อปี มูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกลุ่มที่มีการควบรวมมากที่สุด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มธนาคาร โทรคมนาคม และค้าปลีก
สำหรับสถิติการควบรวมกิจการในเอเซียแปซิฟิก 5 ปีที่ผ่านมามีการควบรวม 6,000 รายการต่อปี คิดเป็น 1ใน 3 ของโลก รวมมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งกลุ่มที่มีการควบรวมมากที่สุด คือ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และหลักทรัพย์
ทั้งนี้ในอนาคตนั้นจะมีการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในอนาคตจะไม่มีกำแพงในเรื่องของภาษี ทำให้ต้องลดต้นทุน เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์และขยายตลาด แลกเปลี่ยนความชำนาญและทรัพยากร รวมศักยภาพทางการผลิต จำกัดการแข่งขันในอุตสาหกรรม และเป็นการขยายธุรกิจใหม่ จึงมีการเทคโอเวอร์
สำหรับข้อควรระวังในควบรวมกิจการ คือ เป้าหมายในการควบรวมกิจการไม่ชัดเจน นั้นจะทำให้ควบความรวมกิจการล้มเหลว เพราะ มีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน วัฒนธรรมองค์กรเข้ากันไม่ได้ และ แผนของธุรกิจที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งก่อนที่จะมีการดำเนินงานนั้นจะต้องมีแผนที่ชัดเจนก่อนทำสัญญา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนบริษัทเป้าที่จะถูกควบรวมกิจการ คือ บริษัทที่มีมูลค่ามูลค่าหุ้นที่ต่ำต่อความเป็นจริง ทำให้เป็นช่องทางที่ทำให้ถูกการซื้อกิจการ ซึ่งการควบรวมกิจการถือว่าเป็นกลไกสร้างสีสันให้กับตลาดหุ้น รวมถึงเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงาน
นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด กล่าวว่า การควบรวมการในต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน มีวิธีการป้องกันการถูกเทกโอเวอร์ เช่น ดูแลเฝ้าระวัง เลิกจ้างฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ ปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยแยกบริษัทย่อยที่สำคัญออก หรือซื้อหุ้นคืน เปลี่ยนข้อบังคับ เช่น มีการทำข้อตกลงว่าหากต้องการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ต้องชำระเงินคืนเจ้าหนี้ทั้งหมดก่อน หรือมีการแก้กฎหมายให้บริษัทที่ถูกเทกโอเวอร์มีทางต่อสู้มากขึ้น จากเดิมที่สามารถซื้อหุ้นคืนกลับมาใหม่ได้ 10% เป็นการซื้อหุ้นได้ 100% เหมือนในต่างประเทศ และการเพิ่มทุน เพื่อให้ตัวเองได้หุ้นเพิ่มขึ้น
ส่วนวิธีการปฏิบัติกรณีที่บริษัทถูกเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร คือ เตรียมการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง วางยาโดยไม่ให้อีกฝ่ายเข้ามาทำอะไรต่อทรัพย์สินได้ ซื้อหุ้นเก็บ เจรจาสงบศึก ตั้งโต๊ะซื้อแข่งกัน ทำบริษัทขาดทุนโดยการโอนทรัพย์สิน ให้พนักงานลาออก หรือยกเลิกสัญญาต่างๆ และวิธีสุดท้ายไปซื้อบริษัทที่เข้ามาเทกโอเวอร์บริษัทของตัวเอง ซึ่งต้องใช้เงินสูงมาก
ทั้งนี้ข้อคิดในการควบรวมกิจการดูด้านการเงินว่าจะนำเงินมาจากไหน และจะซื้อเป็นเงินสด หรือ เงินกู้จากธนาคาร รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งในต่างประเทศจากผลสำรวจพบว่าการควบรวมกันที่ประสบความสำเร็จมี 49% และไม่ประสบความสำเร็จ 50% นอกจากนี้ต้องศึกษารูปแบบว่าจะซื้อสินทรัพย์ หรือซื้อหุ้น หรือซื้อทั้งสองอย่าง
อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการที่ดีต้องขึ้นอยู่กับภาษี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะดูว่าการรวมกันสำเร็จหรือไม่ ผู้ซื้อดูว่าบริษัทที่ซื้อยังมีผลขาดทุนอยู่หรือไม่ การขายหุ้นเสียภาษีเท่าไหร่เมื่อซื้อในตลาดหรือนอกตลาด ตลอดจนภาษีองค์กรที่จะควบรวมกัน ระยะเวลาก็นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะหากยิ่งนานเท่าไหร่ข่าวลือยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อการควบรวมกัน
มล.ชโยทิต กฤดากร กรรมการผู้จัดการ บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การควบรวมกิจการเกิดขึ้นได้หลายลักษณะเช่นทั้ง 2 บริษัทตกลงกัน ว่าคุ้มค่ากับการรวบรวมกัน หรือ คุ้มค่าที่จะขายกิจการให้กับเขาแต่บางกรณีนั้น ถ้าเกิดว่าบางบริษัทมีการเจรจากันในตลาดมีการซื้อขายในตลาดที่ต่ำเกินไปกว่าราคาตามมูลค่าทางบัญชี ก็เป็นเหตุให้ผู้ที่ต้องการจะเทคโอเวอร์ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกลไกสำคัญของ M&A จะเป็นการช่วยขยายธุรกิจ ลดต้นทุน และการแบ่งแยกความชัดเจนของธุรกิจ จึงทำให้ในเมืองนอกมีบริษัทที่รอคอยจะเข้าคโอเวอร์เป็นจำนวนมากว่ามีหุ้นกลุ่มไหนบ้างหรือหุ้นตัวไหนบ้างที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีก็อาจจะถูกเทคโอเวอร์ได้ แต่ในเมืองไทยมีไม่มาก
|
|
|
|
|