Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กันยายน 2548
โลว์คอสต์ดิ้นสู้หนีตายน้ำมันจับนิชมาร์เกตย้ำราคา-บริการ-เส้นทางใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินนกแอร์
โฮมเพจ แอร์เอเชีย
โฮมเพจ สายการบินโอเรียนท์ไทย

   
search resources

แอร์เอเชีย - AirAsia
โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์
สกาย เอเชีย, บจก. - สายการบินนกแอร์
Aviation




จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุน ต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอในภาวะน้ำมันแพง ธุรกิจแข่งขันสูง ผู้ประกอบการแต่ละรายหันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย แอร์เอเชีย ย้ำใช้ราคาเป็นตัวนำ ตามด้วยการสร้างแบรนด์รอยัลตี้ ขณะที่นกแอร์เมินกลยุทธ์ราคา แต่เน้นบริการและแคมเปญตอบแทนลูกค้าตามแนวคิด "โลว์คอสต์ไม่ใช่โลว์คลาส" ด้านโอเรียนท์ไทย หันเปิดเส้นทางบินต่างประเทศเพิ่มกระจายความเสี่ยง

การรวมตัวกันประกาศเก็บค่าเซอร์ชาร์จน้ำมันกับผู้โดยสาร 200 บาท ต่อเที่ยวของผู้ประกอบการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) 3 ราย คือ แอร์เอเชีย นกแอร์ และ วัน-ทู-โก บาย โอเรียนท์ไทย เมื่อวันที่ 1 พ.ค.48 เป็นอีก หนึ่งหนทางอยู่รอด ของการประกอบธุรกิจบนสถานการณ์น้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจก็แข่งกันรุนแรง น้ำมันถือเป็นปัจจัยต้นทุนหลักที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ด้วย การลดต้นทุนส่วนนี้จึงยากนักจึงต้องเร่งเครื่องในการปรับเกมสู้ด้วยวิธีการอื่น

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตามองต่อว่ากลยุทธ์เด็ดๆ จากนี้ไปของสายการบินตนทุนต่ำจะมีอะไรออกมาอีก เพื่อให้องค์กรอยู่รอด และมีผลกำไรจากการดำเนินงาน

ย้ำกลยุทธ์ราคาเร่งสร้างแบรนด์รอยัลตี้

นายจารุวัฒน์ พัธนาวิน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด เปิดเผยว่า แอร์เอเชียยังใช้กลยุทธ์ราคาเป็นหลักในการทำตลาด โดยทุกเดือนจะมีโปรโมชันตั๋วโดยสารราคาประหยัดเริ่มตั้งแต่ราคา 399 บาท หรือ 499 บาท แล้วแต่เส้นทางหมุนเวียนกันไป ซึ่งกลยุทธ์ราคา ประกอบกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ใครๆ ก็บินได้" ได้ส่งผลให้แอร์เอเชีย สามารถสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้รู้จัก และสร้างกระแสให้คนไทยรู้จักสายการบินโลว์คอสต์

ดังนั้น แผนงานต่อไป บริษัทฯต้องการสร้างแบรนด์รอยัลตี้ ด้วยการจับมือพันธมิตรเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้า เช่น การสะสมแต้มร่วมกับโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ตลอดจนเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นการตอบแทนลูกค้า เช่น สนับสนุนทีมฟุตบอลแมนยูฯ และการสนับสนุนการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์

"ราจะไม่ใช้วิธีชิงโชคหรือแจกของรางวัลเหมือนบางสายการบิน เพราะเราเคยทำมาแล้ว ซึ่ง ต้องใช้เงินทุนสูง แต่จะสามารถสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ารู้จักได้แต่เราผ่านตรงนั้นมาแล้ว ขณะนี้โจทย์ของเราคือการให้ลูกค้ามีการใช้บริการซ้ำ"

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังคงแผนการเพิ่มเส้นทางบินตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ ช่วงปลายปีจะเปิดเที่ยวบินไป ฮานอย ประเทศเวียดนาม และ พนมเปญ ประเทศกัมพูชา ปัจจุบันอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยว ในเส้นทาง มาเก๊า และภูเก็ต มีลูกค้า ใช้บริการมากบางเที่ยวเต็ม 100%

ชูบริการโลว์คอสต์ไม่ใช่โลว์คลาส

นายสีหพันธุ์ ชุมสาย ณ อยุธยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด สายการบินนกแอร์ กล่าวว่า ในภาวะราคาน้ำมันปรับ ขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการบินในแต่ละเที่ยวบิน ของเราเพิ่มสูงขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถปรับขึ้นราคาตั๋วโดยสารได้ ส่วนหนึ่งเพราะการแข่งขันในธุรกิจโลว์คอสต์ ซึ่งนโยบายของบริษัทฯมีไว้ชัดเจน คือการทำธุรกิจ ต้องมีกำไร ดังนั้น กลยุทธ์ทางการตลาดของนกแอร์จะเพิ่มมูลค่าในประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการจ่ายเงินค่าโดยสารให้กับเรา เช่น การเลือกที่นั่งได้เองเมื่อจองผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยหวังให้ลูกค้านกแอร์ได้สิทธิประโยชน์ในคอนเซ็ปต์ที่ว่า โลว์คอสต์ไม่ใช่โลว์คลาส

นอกจากนั้น ล่าสุดได้ออกแคมเปญแจกโทรศัพท์มือถือเที่ยวบินละ 1 เครื่อง สำหรับเส้นทางภูเก็ต ขณะเดียวกันก็มีแคมเปญชิงโชครถยนต์เป็นรางวัลใหญ่ รวมทุกเส้นทางที่นกแอร์บิน ทั้ง 2 แคมเปญดังกล่าวใช้งบ 11 ล้านบาททั้งของรางวัล และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งปีนกแอร์ตั้งงบประมาณการตลาดไว้ 3% ของรายได้ ส่วนใหญ่นำมาจัดเป็นแคมเปญตอบแทน ให้แก่ลูกค้าดังกล่าวข้างต้น โดยนกแอร์ไม่มีนโยบายลดราคาค่าตั๋ว เห็นได้ว่า ราคาตั๋วนกแอร์ โดยเฉลี่ยจะสูงกว่าคู่แข่ง 100-200 บาทต่อที่นั่งแต่ยังถูกกว่าตั๋วของการบินไทยในเส้นทางเดียวกัน ประมาณ 20-30%

นกแอร์ ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำมาประมาณ 1 ปีเศษ ปัจจุบันผลประกอบการมีกำไร โดย 6 เดือนแรกปีนี้ มีกำไร 50 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 3 ซึ่งเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซัน เรายังมีอัตราผู้โดยสารอยู่ที่ 80% ต่อเที่ยว ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนระดับกลาง ทั้งนักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ที่มองหาสินค้าที่ดีในราคายุติธรรมไม่ใช้ราคาอย่างเดียวในการตัดสิน ส่วนแผนธุรกิจต่อไปเตรียมเปิดเส้นทางบินในประเทศเพิ่ม ส่วนเส้นทางต่างประเทศชะลอแผนออกไปปีหน้า เนื่องจากเครื่องบินมีไม่เพียงพอ

ล่าสุดสายการบินนกแอร์เตรียมเปิดตัวบริการใหม่ ที่อ้างว่าเป็นนวัตกรรมช่องทางการจัดจำหน่ายของนกแอร์ครั้งแรกของโลก ร่วมด้วยหุ้นส่วนทางธุรกิจคือ เคาน์เตอร์เซอร์วิสพลัส แอดวานซ์เอ็มเปย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่จะเปิดเผยรายละเอียดในวันจันทร์ที่ 26 กันยายนศกนี้

เปิดบินต่างประเทศ หนีตายกระจายความเสี่ยง

นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัทโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ผู้ให้บริการสายการบิน วัน-ทู-โก บาย โอเรียนท์ไทย กล่าวว่า ธุรกิจโลว์คอสต์ในประเทศไทยมีการแข่งขันสูง จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดค่าตั๋วโดยสารได้ตามต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น สิ่งที่ทำให้บริษัทฯดำเนินธุรกิจอยู่ได้ คือ การกระจายความเสี่ยงด้วยการเปิดเที่ยวบินต่างประเทศในเส้นทางที่มีศักยภาพ ล่าสุดได้เปิดเที่ยวบินไปพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ประกอบกับใช้จุดต่างตรงที่เป็นธุรกิจครอบครัว บริหารแบบมืออาชีพ ข้อดีคือ คล่องตัวในการปรับเปลี่ยนแผนงานเมื่อสถานการณ์ไม่ดี เช่น การลด หรือเพิ่มเที่ยวบินตามดีมานด์จริง

ขณะเดียวกัน ในส่วนเส้นทางในประเทศ ยังจับพฤติกรรมคนไทยที่ไม่ชอบความยุ่งยากซับซ้อน ด้วยการขายตั๋วโดยสารราคาเดียวทุกที่นั่ง เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ราคา 1,500 บาท ทำให้ลูกค้าง่ายต่อการคำนวณค่าใช้จ่าย ไม่ต้องลงทะเบียนลุ้นว่าจะได้ตั๋วราคาเท่าใด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า วัน-ทู-โก ปัจจุบันมีรายได้มาจากเส้นทางบินระหว่างประเทศมาทดแทนการขาดทุนจากเส้นทางในประเทศ ซึ่งที่เราทำแบบนี้ส่วนหนึ่ง เพราะตอบแทนสังคม ขณะเดียวกันก็มองว่าสายการบินที่ใช้ราคาเป็นตัวนำ ในอนาคตไม่น่าจะอยู่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us