Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กันยายน 2548
ส่งออกส.ค.ทะลุหมื่นล้าน เกินดุลการค้ารอบ7เดือน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมส่งเสริมการส่งออก
โฮมเพจ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์
การุณ กิตติสถาพร
Import-Export




ส่งออก ส.ค.เกินหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ พลิกตัวเลขดุลการค้าเกินดุล 10 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกในรอบปี หลังขาดดุล 7 เดือนรวด แถมยังทำสถิติใหม่ "พาณิชย์" คาดทั้งปีขาดดุลการค้า หดเหลือ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ "สมคิด" พอใจขยายตัว 24.9% แม้จะไม่ถึงเดือนละ 30% ตามที่คิดไว้ สั่ง "การุณ" วางตัวหัวหน้าฮับรับผิดชอบดันส่งออก เป็นรายภูมิภาค พร้อมจัดเวิร์กชอปกลาง ต.ค.นี้

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการส่งออกของไทยในเดือน ส.ค. 48 มีมูลค่า 10,181 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 24.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ส่งออกมา และเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการส่งออกเกินหนึ่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 10,171 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.2% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยใน เดือน ส.ค.นี้เป็นเดือนแรกที่กลับมาเกินดุลการค้า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ เมื่อรวมการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 71,529.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน การ นำเข้ามีมูลค่า 79,757.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 28.96% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยไทยยังขาดดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 8,227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนแนวโน้มการส่งออกในช่วง 4 เดือนที่เหลือ (ก.ย.-ธ.ค.) คาดว่าการส่งออกจะมีมูลค่า 44,307 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 28.8% ทั้งปีจะขยายตัว 20% ตามเป้าหมาย โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าอีก 4 เดือนหลังจะมีมูลค่า 39,322 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งปีจะนำเข้ารวม 119,109 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยจะขาดดุลการค้า 3,272 ล้านเหรียญสหรัฐ หรืออาจจะต่ำกว่านี้อยู่ในระดับ 2,000-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าดุลบริการทั้งปีอาจจะเกินดุล 2,000-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อหักลบการขาดดุลการค้าแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีอาจจะไม่ขาดดุลก็ได้ หรือหากขาดดุลก็จะน้อยมาก

นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า มีแนวโน้มว่าการส่งออกของไทยจะยังคงขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ที่จะเป็นช่วงที่มีการส่งออกมาก ที่สุดของทุกปี โดยมีความมั่นใจว่าเป้าหมายการขยายตัวของการส่งออกทั้งปีที่ 20% จะทำได้ เพราะผลจากการหารือกับผู้ส่งออกรายสำคัญๆ ประมาณ 10 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 72% ของการส่งออกรวม ระบุว่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนสุดท้ายจะเพิ่ม มากขึ้น และต่างมีการปรับเป้าหมายการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ จากเดิม 20% เป็น 30% เครื่องใช้ไฟฟ้าจาก 15% เป็น 20% อาหารจาก 14% เป็น 21.4% และพลาสติกและผลิตภัณฑ์จาก 15% เป็น 30% เป็นต้น

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การที่ไทยกลับมาได้ดุลการค้าในเดือน ส.ค.นี้ เพราะสินค้านำเข้าสำคัญๆ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง มีการนำเข้าลดลงตามมาตรการรณรงค์ประหยัดพลังงานของรัฐบาล ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องจักรและส่วนประกอบ ต่างก็มีแนวโน้มนำเข้าลดลง หลังจากที่กรมฯ ได้เชิญมาหารือและขอความ ร่วมมือในการจัดทำแผนนำเข้า ขณะเดียวกันยังได้รับความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจที่จะชะลอการนำเข้าที่ไม่จำเป็นและไม่กระทบกับโครงการออกไปก่อน โดยจนถึงสิ้นปีนี้จะมีการนำเข้ารวม 1,044 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกในเดือน ส.ค.จะขยายตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 30% แต่จากการที่กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายบริหารการนำเข้า รวมทั้งเรียกหารือกับภาคเอกชนทุกเดือน ทำให้สามารถผลักดันการส่งออกได้เกินหนึ่งหมื่นล้านเป็นเดือนแรก และพลิกจากที่ขาดดุลการค้า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือน มิ.ย. มาขาดดุล 84 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือน ก.ค. และกลับมาเกินดุล 10 ล้านเหรียญสหรัฐได้ในเดือน ส.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความพยายามที่จะเร่งส่งออก สามารถทำได้ และคาดว่าจากนี้จนถึงสิ้นปีการส่งออกจะดีขึ้น

โดยในเดือน ส.ค.นี้ สินค้าส่งออกสำคัญๆ อยู่ใน 3 หมวดดาวรุ่ง คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ โดยในส่วนยานยนต์ การส่งออกประสบความสำเร็จหลังจากที่ไทยมีนโยบายในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์การอุตสาหกรรมยานยนต์ (ฮับ) ซึ่งจากช่วงก่อนที่จะตั้งฮับ ไทยส่งออกรถยนต์ได้ 5 หมื่นคัน แต่หลังจากตั้งเป็นฮับแล้วส่งออกได้ 1.5 แสนตัน ดังนั้น ไทยต้องเร่งผลักดันให้ไทยเป็นฮับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป โดยจะปรับโครงสร้างภายในและดึงการลงทุนจากต่างประเทศมาในไทยให้มากขึ้น

นายสมคิดกล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ไปจัดทำแผนการเจาะตลาดใหม่ โดยให้ตั้งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์และผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าฮับในแต่ละภูมิภาค เช่น จีน ยุโรป สหรัฐฯ เอเชีย และญี่ปุ่น โดย ให้หัวหน้าฮับเหล่านี้เป็นผู้จัดทำยุทธศาสตร์การบุกเจาะตลาดเป้าหมายการส่งออก และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กรม คือ กรมส่งเสริมการส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อทำงานให้ไปสู่เป้าหมาย

นอกจากนี้ จะต้องฟื้นการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการพาณิชย์ เพื่อให้ไทยมีศูนย์ข้อมูลทางการค้าที่ชัดเจน เพราะในการทำการค้าจะต้องมีฐานข้อมูลที่ชัด

"ผมขอให้ปลัดกระทรวงไปทำรูปแบบมา และภายในกลางเดือนต.ค.นี้ ผมจะขอดูแผน และจะจัดเวิร์กชอป โดยเชิญให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ทั่วโลกมารับฟังแผน และจะทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ว่าการส่งออกแต่ละปี ให้ทูตพาณิชย์กำหนดมาว่าแต่ละภูมิภาคจะโตเท่าไร แต่จากนี้ไป เราจะให้หัวหน้าฮับรับผิดชอบ และกำหนดเองไปเลยว่าประเทศนั้น ประเทศนี้จะโตเท่าไร และจะต้องคิดในเรื่องการของบประมาณมาใช้ด้วย เพราะเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีใช้ปีละ 200 ล้านบาทมันไม่พอ จะไปบุกตลาดโลก ผมซีเรียส ต้องไปคิดออกมาจะใช้เงินยังไงรัฐบาลมีให้" นายสมคิดกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us