Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กันยายน 2548
น้ำมันแพง - ดอกเบี้ยขาขึ้น ทำเศรษฐกิจใต้ซบเซาต่อเนื่อง             
 


   
search resources

Economics




แบงก์ชาติ สำนักงานภาคใต้ ชี้เศรษฐกิจใต้ยังซบเซาต่อเนื่อง เผยปริมาณนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังไม่กระเตื้อง ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ลดการบริโภค และภาคเอกชนชะลอลงทุน เหตุจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลกระทบต่อเนื่องจาก เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ รวมถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงและดอกเบี้ยขาขึ้น

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สํานักงานภาคใต้ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ เดือนกรกฎาคม 2548 ว่า ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์ สึนามิ เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาคใต้ ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง มีจํานวน 165,456 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน 26.3% ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตก โดยจังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยวลดลงถึง 53.9% ขณะที่ในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ลดลง 24.5% ส่วนนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพิ่มขึ้น 2.5% และ 5.9% ตามลำดับ แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วน ที่เกาะสมุย ในปีนี้มีแนวโน้มดีกว่าแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในภาคใต้

ด้านภาคการเกษตรผลผลิต พืชผลหลักได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ปริมาณพืชผลที่ออกสู่ท้องตลาดลดลง แต่ก็มีผลทำให้ ราคาพืชผลหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น 34.5% ตามราคายางพาราและปาล์ม น้ำมัน โดยเฉพาะยางแผ่นดิบ ชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.85 บาท เพิ่มขึ้น 36.8% เนื่องจากผลผลิตมีน้อย ด้าน ประมงทะเลหดตัว เนื่องจากต้นทุน การทําประมงทั้งราคาน้ำมันและอุปกรณ์ประมงสูงขึ้น ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนําขึ้นที่ท่าเทียบเรือของ องค์การสะพานปลาในภาคใต้ เดือน นี้มีจํานวน 34,049.0 เมตริกตัน มูลค่า 1,049.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน 21.4% และ 8.7% ตามลําดับ

ส่วนในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้หดตัวเช่นกัน แม้ว่าความต้องการของตลาดต่างประเทศ ยังมีต่อเนื่องก็ตาม เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ ผลกระทบจากสภาพอากาศ ต้นทุนวัตถุดิบจึงสูงขึ้นปริมาณสินค้า ส่งออกลดลงเกือบทุกประเภทเว้น แต่ถุงมือยางเท่านั้นที่ขยายตัวเพิ่ม

สำหรับด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ชะลอตัว แม้จะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยด้านราคายางพาราที่สูงขึ้น มากก็ตามเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทาง ด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ เช่นเดียวกับการลงทุน ภาคเอกชนซบเซาเนื่องจากยังไร้ปัจจัยกระตุ้นการลงทุน

ส่วนอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนนี้อยู่ที่ 5.4% สูงขึ้นมากจากอัตรา 4.5% ใน เดือนก่อน โดยสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 4.9% เนื่องจากสินค้า เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นสูงถึง 10% ผัก และผลไม้ เพิ่มขึ้น 7.9% ยานพาหนะ และน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่าง น่าสังเกต โดยเพิ่มขึ้น 18.2%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us