|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ทีมเจรจาเปิดเสรีการเงินไทย-สหรัฐฯวางกรอบการเจรจาแบบผสมผสาน สำหรับ การเจรจาระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย. นี้ ต่อรองสหรัฐฯใช้วิธีเจรจาแบบ Positive List ก่อน แล้วค่อยปรับเป็น Negative List ใน ภายหลัง เหตุผลเจรจายังไม่คืบ เพราะจุดยืนเรื่องกรอบเจรจายังไม่ตรงกัน หวั่นกระทบการเปิดเสรี ในภาพรวมกับสหรัฐฯ
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผย ว่า ขณะนี้ทาง คณะเจรจาของไทยได้ร่างกรอบ Legal Text เพื่อใช้ในการเจรจาเปิดเสรีการเงินกับสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไทยจะยังคงเดินหน้าเจรจาเปิดเสรีด้านการเงินกับสหรัฐฯต่อไป แม้ว่า ผลการเจรจาล่าสุด ยังติดปัญหาในเรื่องของกรอบการเจรจาที่แตกต่างกันอยู่ โดยทางสหรัฐฯต้องการให้เจรจาแบบ Negative List คือ ให้บรรจุรายการที่ไม่ต้องการเจรจาไว้ ส่วนรายการที่ไม่บรรจุให้เปิดเสรีทั้งหมด ขณะที่ไทยต้องการเจรจาแบบ Positive List คือ เลือกรายการที่ ต้องการเจรจาไว้ ส่วนรายการที่ไม่ได้ เลือกไว้จะไม่มีการเปิดเสรี เนื่องจากไทยยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะเจรจาแบบ Negative List
อย่างไรก็ตามจากการเจรจาในครั้งที่ผ่านๆ มาทางสหรัฐฯ เอง ได้เข้าใจว่าภาคการเงินพื้นฐานของไทยยังมีขนาดเล็ก และยังไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะเปิดเสรีได้ทั้งระบบ ซึ่งการที่ประเทศไทยจะเจรจาแบบ Negative List ตามที่สหรัฐฯ ต้องการนั้น อาจจะทำให้ภาคการเงินของไทยไม่สามารถแข่งขันกับภาคการเงินสหรัฐฯ ที่จะเข้ามาได้
"รากังวลว่า ถ้าเราใส่อะไร ที่เรายังไม่เปิดแล้วในอนาคตมี นวัฒกรรมทางการเงินใหม่ๆ เข้ามา เราก็จะเสียเปรียบได้ เพราะเราไม่ได้ใส่ลงไปว่าเราจะไม่เปิด ฉะนั้น เราต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อนซึ่งจริงๆ แล้ว เรื่องการเจรจาไม่มีปัญหา แต่ติดตรงที่ความคุ้นเคยในการเปิดเสรีของแต่ละประเทศมากกว่า เพราะสหรัฐฯเคยเจรจาแบบ Negative List กับทุกประเทศ แต่เราชินกับการเจรจาแบบ Positive List มากกว่า ดังนั้น จึงจะต้องหาจุดยืนร่วมกันให้ได้ก่อน"นายนริศ กล่าว
ทั้งนี้ ทางคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ ด้านการเงิน จะเดินทาง ไปเจรจาร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 24-25 กันยายน 2548 นี้ ที่สำนักผู้แทน การค้าสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น จะมีการประชุมเอฟทีเอในกรอบใหญ่ ในวันที่ 28-29 กันยายน 2548 ที่ ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสศค. กล่าวว่า การจะเดินทางเจรจาการเปิดเสรีด้านการเงินกับสหรัฐฯ ในครั้งต่อไปนี้ จะมีการต่อรองให้ใช้จุดยืนร่วมกัน แบบผ่อนผัน โดยในระยะแรกของระยะเวลาการเปิดเสรีนั้นจะ ให้ใช้การเจรจาแบบ Positive List และในระยะต่อมาจึงกลับมาใช้แบบ Negative List เพื่อเป็นการผสมผสานการเจรจาร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ภาคการเงินของไทยได้มีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น
"อาจจะตกลงกันว่า ตอนแรกให้เป็นแบบ Positive List ก่อน และหลังจากนั้นค่อยใช้แบบ Negative List หรือ ตอนแรกอาจจะใช้ Negative List ก่อนก็ได้ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันไป เพื่อจะได้เจรจากันสำเร็จ โดยเราอาจจะเขียนไปว่า จะเปิดให้บางตัว แต่บางตัวต้องรอให้มีกฎหมายมากำกับดูแลก่อน เช่นพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก ถึงจะเปิดเสรีได้ ส่วนพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก ณ ขณะนี้ รอเพียงจังหวะและความเหมาะสมของสภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งต้องให้ความรู้แก่ประชาชนก่อน ถึงจะประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าวได้"นายสมชัย กล่าว
|
|
 |
|
|