Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กันยายน 2548
เงินบาทอยู่ที่40.90-41.35 บาท/ดอลล์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานภาวะตลาดเงินในรอบในสัปดาห์นี้ (19-23 กันยายน 2548) ว่า ตลาดเงินคงจะจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯในวันที่ 20 กันยายน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า เฟดคงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ 3.75% ด้วยความเป็นไปได้มากกว่า 80% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้คาดว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคงจะไม่เปลี่ยนแปลงมากจากกรอบความเคลื่อนไหว ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับค่าเงินบาท อาจเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 40.90-41.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยตลาด คงจะให้น้ำหนักกับการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันอังคาร ซึ่งถ้ารายงานภายหลังการประชุมดังกล่าว ยังส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่อ ก็อาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ฯขึ้นเมื่อ เทียบกับเงินสกุลหลัก และเงินบาทได้ ขณะที่ทิศทางของเงินยูโร/ดอลลาร์ฯคงจะผันแปรตามผลการเลือกตั้งช่วงสุดสัปดาห์ในเยอรมนี

ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทต่อดอลลาร์ฯ เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตามอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยในวันจันทร์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากวันศุกร์ สอดคล้องกับการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน ที่ได้รับปัจจัยบวกจากผลการเลือกตั้งช่วงสุดสัปดาห์ในญี่ปุ่นที่นำชัยชนะมาสู่พรรคเสรีประชาธิปไตย อย่างท่วมท้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับตัวมาเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เมื่อตลาดตอบสนองต่อการแสดงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ทางการเงินระดับสูงของสหรัฐฯว่าผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา น่าจะเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว และต่อการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯคงจะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย มาตรฐานอย่างต่อเนื่องในการประชุมนโยบายการเงินช่วงสัปดาห์ถัดไป ซึ่งช่วยหนุนเงินดอลลาร์ฯ ขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน เงินสกุลภูมิภาค และเงินบาท

สำหรับในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน เงินบาทมีค่าเฉลี่ยที่ 40.970 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ 40.990 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า

ส่วนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ค่อนข้างทรงตัว โดยการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ล็อตที่ 2 อายุ 5 ปี จำนวน 5 พันล้านบาท และการตัดจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 3.10-3.30% โดยอัตรากลาง (Mode)ปรับตัวแคบๆ ระหว่าง 3.17-3.18% ทรงตัวต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน เช่นเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ปิดทรง ตัวตลอดสัปดาห์อยู่ที่ระดับ 3.1875% ขณะที่ประเภท 7 วัน ปิดปรับตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.21875% ในวันศุกร์เทียบกับ 3.25% ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ 4.90% ในวันศุกร์ เร่งขึ้นจาก 4.67% ในวันศุกร์ที่แล้ว ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี (US10YY) ปิดที่ 4.228% ในวันพฤหัสบดี เพิ่มขึ้นจาก 4.13% เมื่อวันศุกร์ก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทยยังเร่งตัว สูงขึ้นต่อเนื่องในประเภทระยะปานกลาง และระยะ ยาว โดยบรรยากาศการซื้อขายยังถูกกระทบจากการคาดการณ์ของนักลงทุนถึงแนวโน้มขาขึ้นในอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการไทย ขณะที่ความต้องการ ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ทำให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นปรับลดลงในบางประเภทอายุ

ด้านตลาดพันธบัตรสหรัฐฯนั้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวค่อนข้างผันผวน โดยในวันจันทร์ อัตราผลตอบแทนปรับขึ้น จากความกังวลต่อเศรษฐกิจ ที่ผ่อนคลายลงหลังราคาน้ำมันเริ่มชะลอตัว รวมทั้งจาก ถ้อยแถลงของผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัสที่สนับสนุนการคาดการณ์ว่าเฟดคงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อในการประชุมวันที่ 20 กันยายน แต่อัตราผลตอบแทนได้ลดลงในวันอังคาร หลังอัตราเงินเฟ้อทางด้านผู้ผลิตไม่เร่งขึ้นมากในเดือนสิงหาคม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us