กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิค (FIRST PACIFIC-GROUP) อาจเป็นชื่อกลุ่มธุรกจิที่ไม่ค่อยคุ้นนักในหมู่กลุ่มธุรกิจในเมืองไทย
ด้วยเป็นกลุ่มบริษัทใหญ่จากฮ่องกงที่เข้ามาทำธุรกิจในบ้านเราได้ 2 ปีเศษเท่านั้น
ในนามบริษัท เฟิสท์ แปซิฟิค ซีเคียวริตี้ (ไทย) ที่ซื้อกิจการธุรกิจด้านหลักทรัพย์มาจากบริษัทหลักทรัพย์ศรีไทย
และบริษัท เฟิสท์ แปซิฟิค เดวี่ส์ ที่เข้ามาเปิดธุรกิจรับจ้างบริหาร (MANAGEMENT
AGENCY)โครงการ เรียล เอสเตท และพัฒนาที่ดิน
ก็รู้กันอยู่เพียงเท่านี้ว่า เฟิสท์ แปซิฟิค กรุ๊ป คือใคร และทำอะไรอยู่ในเมืองไทย?
ดูจากบทบาทธุรกิจเพียงแค่นี้ก็พอจะมองออกว่า กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิค ในเมืองไทยก็ไม่ใหญ่โตอะไรนัก
เมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ของไทยเราอย่าง "จิราธิวัฒน์"
แห่งเซ็นทรัลกรุ๊ป หรือ "โชควัฒนา" แห่งสหพัฒน์ กรุ๊ป
เฟิสท์ แปซิฟิค เดวีส์ มีทุนจดทะเบียนแค่ 2 ล้านบาท เฟิสท์ แปซิฟิค ซีเคียรริตี้
มีทุนจะทะเบียนอย่างมากก็ไม่เกิน 40 ล้านบาท!
แต่ความจริงแล้ว ในเวทีธุรกิจย่านแปซิฟิก-ริม ที่มองออกนอกรั้วเวทีธุรกิจในบ้านเราออกไป
กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิค ไม่เล็กอย่างที่คิด
ยิ่งถ้าหากได้รู้ว่า กลุ่มนี้จริงแล้ว ลิม ซู เหลียง หรืออีกในนามหนึ่ง
"โซโดโน ซาลิม" (SOEDONO SALIM) มหาเศรษฐีโลกชาวอินโดนีเซียเป็นคนหนุนทุนรอนอยู่เบื้องหลัง
ก็ยากที่จะปฏิเสธว่าเป็นเช่นนั้น
กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิค มีอาณาจักรธุรกิจในย่านแปซิฟิคมากมายเกือบ 75 บริษัทที่ครอบคลุมธุรกิจทั้งด้านการตลาดการจัดจำหน่ายสินค้า
การค้าปลีก การเงิน การธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ ค้าที่ดิน
การแผ่อาณาจักรธุรกิจไปกว้างขวางของกลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิค นั้นว่ากันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มนักบริหารรุ่นใหม่ที่มีอดีตเป็นอินเวสเม้นต์แบงเกอร์
มือฉกาจจาก AMERICAN EXPRESS BANK (HONG KONG) ชื่อ มานูแอล ปังกิลินัน
มานูแอล ปังกิลินัน เข้ามาในเฟิสท์ แปซิฟิค จากการชวนของแอนโทนี่ ซาลิม
ลูกชาย ลิม ซู เหลียง เพราะเห็นฝีมือด้านการเป็นที่ปรึกษาการเงินให้แก่โครงการของ
ลิม ซู เหลียง ซึ่งเวลานั้น ลิม ซู เหลียง มีธุรกิจก็ฮ่องกงด้านที่ดิน คือ
LI KASHING'S GREEN ISLAND CENTER
ปังกิลินัน เป็นคนหนุ่มอายุเพียง 40 ปี พ่อของเขาเป็นแบงเกอร์ มาก่อนที่
TRADERS ROYAL BANK ที่มนิลา จึงคุ้นเคยกับวงการธุรกิจการเงินการธนาคารเป็นอย่างดี
ปี 1980 เขาเริ่มเข้ามาอยู่ในอาณาจักรธุรกิจของ ลิม ซู เหลียง 1 ปีให้หลัง
เขาชวน บ๊อบ ไมเยอร์ ซึ่งมีอดีตเป็นทนายความ ที่บริษัท COUDERT BROTHERS
ฮ่องกง เข้ามาร่วมทีมด้วย ปังกิลินัน กับ ไมเยอร์ เป็นเพื่อนกันมาก่อน ตอนที่
ปังกิลินัน กำลังทำ SYNDICATED LOANS ให้ AMERICAN EXPRESS BANK โดยมี บ๊อบ
ไมเยอร์ (BOB MYER) เป็นผู้ร่วมทีมด้านกฎหมาย
เมื่อตระกูล "เหลียง" ได้ 2 หนุ่มไฟแรงมาร่วมในอาณาจักร จุดเริ่มต้นการแผ่อาณาจักรก็เริ่มขึ้นอย่างก้าวกระโด
โดยมี ลิม ซู เหลียง และลูกชาย แอนโทนี่ ซาลิม (ANTONY SALIM) เป็น FINANCIAL
BACK UP
มีนาคม ปี 1982 ปังกิลินัน และ MYER เป็นหัวหอกให้ ลิม ซู เหลียง เจรจาซื้อกิจการ
SHANGHAILAND INVESTMENT บริษัทที่ทำธุรกิจลงทุนพัฒนาที่ดินในเซี่ยงไฮ้ และเป็นบริษัทเก่าแก่ที่ตั้งมา
100 ปี แล้ว เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นในการขยายกิจการแผ่อาณาจักร
เมื่อการซื้อ SHANGHAI LAND INVESTMENT สำเร็จลง ปังกิลินันและ ANTONY
SALIM ลูกชาย ลิม ซู เหลียง ก็จัดการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยให้บริษัท
SHANGHAI LAND INVESTMENT ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น เฟิสท์ แปซิฟิค โฮลดิ้ง ทำหน้าที่เป็น
INVESTMENT HOLDING ในธุรกิจด้านการเงิน
ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ของกลุ่มเฟิสท์ แฟซิฟิค มีความหมายมากเพราะได้เหิดศักราชใหม่ให้การก้าวกระโดดในการสร้างสินทรัพย์ให้แก่
ลิม ซู เหลียง อย่างยิ่งใหญ่
เคล็ดลับของมันคือ การสร้างสินทรัพย์โดยวิธีการซื้อกิจการที่มีเครือข่ายในย่านแปซิฟิค
ริม!
เพียง 2 เดือนในหลัง หลังจากซื้อ SHANGHAI LAND INVESTMENT คือในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน
FIRST PACIFIC HOLDING ก็เข้าซื้อกิจการธุรกิจการเงิน (DEPOST- TAKING)OVERSEA
FINANCE LIMITED เมื่อซื้อแล้วก็จัดแจงเปลี่ยนชื่อเป็น FIRST PACIFIC FINANCE
แล้วใช้ FIRST PACIFIC FINANCE ซึ่งเป็น DEPOSIT-TAKING ผ่อนถ่ายเงินทุนส่วนหนึ่งมาให้
FIRST PACIFIC HOLDING เข้าซื้อกิจการ HIBERNIA BANCSHARES CORPORATION บริษัทแม่ของ
HIBERNIA BANK ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ
HIBERNIA BANK มี ASSET 900 ล้านเหรียญ!
เมื่อมี BANK อยู่ในมือ ก็ไม่ยากที่จะใช้เป็นฐานปล่อยเงินทุนในการก้าวต่อไปเพื่อซื้อกิจการ
เพียงแค่ 5 ปี หลังจากซื้อ HIBERNIA BANK กลุ่ม FIRST PACIFIC ได้สร้าง
ASSETให้กับกลุ่มธุรกิจของตนเอง โดยวิธีการซื้อกิจการในธุรกิจการเงิน การตลาด
การขายปลีก และพัฒนาที่ดินจากบริษัทต่าง ๆในฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และอเมริกาเหนือ
ทั้งหมด 14 แห่งด้วยกัน
รายได้จากธุรกิจในเครือข่ายพุ่งจาก 412 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 1984 เป็น
1,018 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 1987 หรือเพิ่มขึ้น 147 %
สิ้นปี 1987 ผลจากการเข้าซื้อกิจการธุรกิจต่าง ๆ เพื่อสร้างสินทรัพย์ให้ใหญ่โตก็เป็นผลนั่นคือ
สินทรัพย์ของกลุ่ม FIRST PACIFIC ได้เพิ่มเป็น 1,547 ล้านเหรียญสหรัฐ
NET ASSET VALUEมีมูลค่า 248 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 16% ของ TOTAL ASSET!
ลิม ซู เหลียง ได้รับการยกย่อจากนิตยสาร ฟอร์จูน ปี 1987 ให้เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีโลกที่มีความมั่งคั่ง
2 พันล้านเหรียญ ซึ่งแน่นอนความมั่งคั่ง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐนี้ นอกจากสวนหนึ่งมาจากการสะสมที่เขามีหุ้นส่วนอยู่
24% ในธนาคารเซ็นทรัลเอเชีย ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และทุนที่ได้จากการผูกขาดจำหจ่ายอาหารและยาแก่กองทัพอินโดนีเซียสมัยปลดแอกจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์แล้ว
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัยก็มาจากการสร้างสินทรัพย์และความมั่งคั่งในสไตล์ของปังกิลินันและสหายในนามกลุ่ม
FIRST PACIFIC ช่วงปี 1982 ถึง 1987 นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าจะสรุปว่า ลิม ซู เหลียง ได้มานูแอล ปังกิลินัน มาร่วมในอาณาจักรธุรกิจของเขา
ก็เหมือนได้ลาภก้อนใหญ่ก็ไม่ผิดนัก
มันเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัว (PERFECT COMBINATION) ระหว่าง ความแข็งแกร่งในทุนรอนของ
ลิม ซู เหลียง กับความสมัยใหม่และรุกอย่างก้าวร้าวของปังกิลินัน และสหาย
ตัวอย่างตรงนี้ เห็นได้จาก การซื้อ HAGEMEYER ในเนเธอร์แลนด์ เพื่ออาศัยเครือข่าย
HACEMEYER กระโดดเข้าสู้ธุรกิจการตลาดในย่านแปซิฟิก
HAGEMEYER ตั้งมาแล้วเกือบ 90 ปี เป็นบริษัทที่มีสินค้าในการจัดจำหน่ายเกือบ
10,000 ชนิด ที่กระจายหลายประเภท มีสาขากระจายไปทั่วกว่า 20 ประเทศ ทั้งในเอเชีย
ยุโรป และอเมริกาเหนือ และที่เดินที่สุด HAGEMEYER เป็นบริษัทจดทะเบียนใน
AMSTERDAM STOCK EXCHANGE
"ตอนที่บริษัท FIRST PACIFIC เข้าซื้อ HAGEMEYER เมื่อ 1983 ราคาที่ซื้อตกหุ้นละ
23 กิลเดอร์ BOOK VALUE ของบริษัทอยู่ที่ 55 กิลเดอร์ ซึ่งว่ากันตามบัญชีแล้ว
ซื้อได้ไม่แพงเท่าไร เพราะหลังจากนั้นอีก 4 ปี ต่อมาเมื่อตลาดหุ้นเกิด CRASH
ทั่วโลกเมื่อเดือนตุลาคม 1987 ราคาหุ้น HAGEMEYER ในตลาดอัมสเตอร์ดัมก็ตกฮวบลงเหมือนกัน
แต่หลังจากอาการตื่นตระหนกได้หายไป ราคาก็ไต่ขึ้นมาที่ 90 กิลเดอร์ รายงานแก่ผู้ถือหุ้นของกลุ่มเฟิสท์
แปซิฟิค ที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อมิถุนายนปีที่แล้วนี้ได้ระบุไว้เช่นนั้น"
รายงานข่าวด้านนี้ย่อมแสดงชัดว่า ภาพพจน์ของ HAGEMEYER ในฐานะบริษัทเก่าแก่ที่มั่นคงอยู่ในฐานะที่ดี
นับเป็นการมองได้ฉลาดของ FIRST PACIFIC เพราะหนึ่ง-การซื้อ HAGEMEYER ที่มียอดจำหน่ายทั่วโลกเกือบ
1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในแต่ละปี ย่อมมีส่วนสร้าง ASSET ให้บริษัทในกลุ่ม
FIRST PACIFIC สูงขึ้นได้ไม่ยาก และสอง-การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ
HAGEMEYER ย่อมเป็นโอกาสที่ดีที่ใช้กลไกราคาในตลาดหุ้นเป็นตัว BOOT-UP และ
ASSET ให้บริษัทได้ง่าย ถ้าหาก FIRST PACIFIC ต้องการจะขายหุ้น HAGEMEYER
ออกไป ก็ง่ายมากที่จะทำกำไรได้งาม ๆ เพราะซื้อมา 36.25 กิลเดอร์ แต่ราคาตลาดพุ่งถึง
90 กิลเดอร์ ถ้าขายไปก็กำไรเหนาะ ๆ 53 กิลเดอร์
แต่ความจริงก็คือเป้าหมาย FIRST PACIFIC ไม่ใช่นักค้าหุ้นในตลาด! จึงไม่ขาย
เพราะยังไม่ถึงเวลา
HAGEMEYER ถือหุ้นอยู่ประมาณ 25% ใน BERLI JUCKER (THAI) การซื้อกิจการ
HAGEMEYER ก็ทำท่ากับเป็นตัวสปริงบอร์ดเข้าสู่ตลาดเมืองไทยได้ง่าย อีกประการหนึ่ง
ทั้ง HAGEMEYER และBERLI JUCKER ต่างเป็นบริษัทการตลาดที่เก่าแก่เกือบ 100
ปีทั้งคู่
"แค่ซื้อเสียงยี่ห้อของบริษัทก็มีค่าเกินกว่าทรัพย์สินที่ลงทุนไปแล้ว"
พิพัฒน์ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการบริษัทไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ วิเคราะห์การเข้าซื้อ
HAGEMEYER ของ FIRST PACIFIC ให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
การประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2531 วอลเตอร์ ไมเยอร์ ประธานกรรมการบริษัท
BERLI JUCKER (THAI) ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ในคณะกรรมการบริษัทมีตัวแทนของกลุ่มเฟิสท์
แปซิฟิค 5 คน ในจำนวนกรรมการที่กำหนดตามบริคณห์สนธิของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
จุดนี้เห็นชัดเจนว่า FIRST PACIFIC ใช้ HAGEMEYER เป็นตัวสปริงบอร์ดเข้าไทย
โดยผ่านเครือข่าย BERLI JUCKER ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แม้วันนี้ FIRST PACIFIC จะยังไม่สามารถเข้าเทคโอเวอร์ BERLI JUCKER ได้
100 % ก็ตาม แต่การประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนธันวาคม ปี 2532 นี้อาจเป็นได้ว่า
เวลาของการเข้า TAKEOVER ในทุก ๆ จุดของ BERLI JUCKER ได้มาถึงแล้วก็เป็นได้
เพราะ…
"ประเทศไทยมีศักยภาพการลงทุนที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเซียนนี้"
รายงานวิจัยของ FIRST PACIFIC ที่ HONG KONG ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม
ปีนี้ ได้ระไว้เช่นนั้น ซึ่งแม้จะเป็นการมองภาพใจเชิงมุมกว้าง (MACRO MODEL)
แต่ก็เป็นมุมมองหนึ่งที่น่าจะถูเชื่อมโยงเข้าไปสู่กระบวนการตัดสินใจของคณะผู้บริหารระดับสูงของ
FIRST PACIFIC ที่ฮ่องกงได้
มานูแอล ปังกิลินัน ได้พูดชัดเจนในรายงานแก่ผู้ถือหุ้นที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อมิถุนายนปีที่แล้วว่า
"เป้าหมายยุทธศาสตร์ธุรกิจของกลุ่มอยู่ที่ภูมิภาคย่านเอเซีย-แปซิฟิค
ไม่ใช่อเมริกาและยุโรป"
การตัดสินใจขาย HIBERNIA BANK ที่ทำกำไรสุทธิ 12 ล้านเหรียญและมีทุนจดทะเบียน
128 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 1987 เพื่อต้องการทุนรอนจำนวน 98 ล้านเหรียญ
ไว้ซื้อกิจการในย่านเอเซีย-แปซิฟิค เช่น หุ้นจำนวน 18% ใน BERLI JUCKER (THAI)
และหุ้น 100% ในบริษัท TRI COM SYSTEM ที่ขายเครื่องมือสื่อสารในฮ่องกง ขณะที่เหลืออีก
62 ล้านเหรียญ และอีก 31 ล้านเหรียญ ไปจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมาตอนซื้อ HIBERNIA
BANK ออกไปในราคาสูงกว่า BOOK VALUE 1.58 เท่า และสอง-มีทุนรอนจากการขายมาเก็บสำรองไว้เพื่อซื้อกิจการอื่นในย่านเอเชีย
แปซิฟิค ต่อไป
บริษัทไหนจะเป็นเหยื่อรายต่อไปที่ถูกกลุ่ม FIRST PACIFIC เข้าซื้อกิจการ?
นี่เป็นคำถามที่ทุกคนในแวดวงธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิคกำลังรอคำตอบ