|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สรรพากรชงมาตรการภาษีผู้สูงอายุ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปทุกคน ไม่กำหนดรายได้ ชี้เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนมีภาระน้อยกว่าผู้มีรายได้ปกติ มั่นใจใช้ทันปีภาษีนี้ ขณะที่มาตรการภาษีดึงบริษัทนิติบุคคลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องขอหารือในระดับนโยบายก่อน ยอมรับบริษัทที่จ่ายภาษีมีเป็นหลักพันบริษัทเท่านั้น
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้ศึกษารายละเอียดมาตรการภาษีสำหรับผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่องออกจากกรมมายังกระทรวงการคลัง ประมาณ 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่ต้องให้มีผลบังคับใช้อย่างเร่งด่วน ดังนั้นจึงไม่เสนอเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือไม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมั่นใจว่า จะมีผลภายในปีภาษีนี้ คือ สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2549 -31 มีนาคม 2549
สำหรับหลักการของมาตรการ คือ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทุกคน ซึ่งมีอยู่ประมาณหลักแสนคนทั่วประเทศ โดยจะไม่มีการกำหนดรายได้ขั้นสูงเอาไว้ เพื่อให้มาตรการดังกล่าวเป็นไปอย่างทั่วไปสำหรับและมีความเป็นธรรมสำหรับผู้สูงอายุ และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระแก่ผู้สูงอายุให้มากกว่าผู้มีรายได้บุคคลธรรมดาปกติ
"มาตรการที่ออกมาจะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ คือ ผู้สูงอายุที่ยังมีรายได้ ก็ยังคงต้องเสียภาษีอยู่ ไม่ใช่ไม่เสียภาษีเลย เพราะเท่ากับเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ แต่หลักการคือ คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะต้องมีภาระน้อยกว่าคนที่อายุไม่ถึง 65 ปี ส่วนรายได้ภาษีที่จะสูญเสียคงจะไม่มากนัก" นายศิโรตม์ กล่าว
สำหรับมาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้บริษัทนิติบุคคลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มากขึ้นนั้น นายศิโรตม์ กล่าวว่า จะต้องมีการหารือในระดับนโยบายกับ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรได้มีการวิเคราะห์และศึกษาโครงสร้างภาษีในภาพรวมของกรมเป็นปกติอยู่แล้ว หากมีนโยบายที่ชัดเจนลงมาก็จะต้องมีการเสนอแนวทางให้พิจารณา
"โดยปกติไม่ควรเสนอทางเลือกมาก และหลักการคือ จะต้องง่าย สะดวก และชัดเจน ส่วนจะเป็นมาตรการถาวร หรือชั่วคราวยังไม่รู้" นายศิโรตม์ กล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กรมสรรพากรมีรายได้ภาษีจากภาษีนิติบุคคล คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30%ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งโดยปกติจะมาจากบริษัทนิติบุคคลประมาณเป็นหลักพันบริษัททั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น และบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ 400 บริษัท โดยส่วนใหญ่ก็จัดเป็นบริษัทขนาดใหญ่ จากบริษัทขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 2,000 บริษัท
"โดยปกติบริษัทที่เสียภาษีส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรา อย่าง ฝรั่ง หรือญี่ปุ่น ก็เหมือนกัน ซึ่งของเราตัวเลขคร่าวๆ คือ มีบริษัทเป็นหลักพันบริษัทที่ เจเนอเรทภาษี ไม่ใช่มีแสนบริษัทแล้วต้องเจเนเรททั้งหมด" นายศิโรตม์ กล่าว
ส่วนผลการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพากร ในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2548 (1ตุลาคม 2547 -สิงหาคม 2548) สามารถจัดเก็บรายได้ ได้สูงกว่าประมาณการแล้ว 97,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 8.2 แสนล้านบาท ซึ่งในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณจะมีภาษีประเภทเงินได้จากกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือภ.ง.ด.94 เช่น แพทย์ วิศวกร ดารา นักแสดง เป็นต้น ซึ่งโดยปกติจะไม่ใช่เดือนที่มีรายได้ภาษีสูงกว่าปกติ เพราะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้จะมีการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย อยู่แล้ว
|
|
|
|
|