เอไอเอสตอก ย้ำผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือ เผยตัวเลขอัตราการเติบโตบริการเสริม
พุ่งพรวด โกยรายได้กว่า 3 พันล้าน บาท ประกาศเดินหน้าสร้างขุมกำลังด้วยการผนึกพันธมิตรพัฒนา
รูปแบบบริการเสริมใหม่ครอบ คลุมทุกด้านต่อเนื่อง ก้าวสู่การเป็นฐานรายได้หลักชดเชยรายได้จากเบสิกวอยซ์ที่คงที่
เชื่อแนวโน้มบริการเสริมนอนวอยซ์มาแรงเติบโตกว่า 4 เท่า ปีหน้าดันส่วนแบ่งแซงหน้าบริการเสริมด้านเสียง
แน่
นายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราการเติบโตของบริการ
เสริมในปัจจุบันมาจากส่วนของรูปแบบบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และในส่วนของปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์รายได้จากบริการเสริมของเอไอเอสในปี 2545 คาดว่าจะมีประมาณ
3,133 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2544 ที่มียอดรายได้ 1,672 ล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
หากมองย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี 2542 รายได้จากบริการ เสริมจะมีเพียง 484
ล้านบาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 742 ล้านบาทในปี 2543
ยอดรายได้ 3,133 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้บริการเสริม ทางด้านเสียงประมาณ
52% หรือประมาณ 1,617.1 ล้านบาท และรายได้บริการเสริมด้านข้อมูลหรือนอนวอยซ์ประมาณ
48% หรือประมาณ 1,516.7 ล้านบาท แนวโน้มการเติบโตของทั้งสองบริการยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบริการเสริมด้านข้อมูล หากพิจารณายอดรายได้ที่เข้ามาในปีนี้พบว่ามีอัตราการเติบโตขึ้นถึง
4 เท่าจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
"ปัจจุบันความต้องการสื่อ สารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามความต้อง
การ และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้ใช้บริการกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม นักเรียน
นักศึกษา กลุ่มคนทำงาน รวมไปถึงกลุ่มองค์กร ต่างเริ่มเห็นความสำคัญของบริการเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งหรือผู้ช่วยที่ทำให้การสื่อสารสมบูรณ์และสะดวกมากยิ่งขึ้น"
เอไอเอสจึงพัฒนารูปแบบการ ให้บริการเสริมทางเสียงและด้านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
โดยรูปของการ บริการด้านเสียงสามารถแยกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1.เน็ตเวิร์กเซอร์วิส เป็นบริการที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายเทคโนโลยีจีเอสเอ็ม
ไม่ว่าจะเป็น วอย์เมล Call Waiting Call Conference
2.Infotainment Service บริการข้อมูลเน้นเรื่องของเอ็น- เตอร์เทนเมนต์เป็นหลัก
ทั้งบริการข้อมูลด้านสาระบันเทิง อาทิ Fun Voice มิวสิคทูเกตเตอร์ นับเป็นวิวัฒนาการของบริการเสริมให้ลูกค้าใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
3.เซอร์วิสโพรไวร์เดอร์ ซึ่งเริ่มเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา อย่างบริการ ออดิโอเท็กซ์
และ BUG 1113
ส่วนรายได้ของกลุ่มบริการเสริมทางด้านเสียงนี้ ตัวเน็ตเวิร์กเซอร์วิสยังมาในอันดับที่หนึ่งประ
มาณพันกว่าล้านบาท ส่วนบริการ Infotainment Service นั้น อยู่ที่ประมาณสามร้อยกว่าล้านบาทเกือบ
สี่ร้อยล้านบาท และกลุ่มเซอร์วิสโพรไวเดอร์ มีตัวเลขเกือบสองร้อย ล้านบาทแนวโน้มการเติบโตของทั้งสามส่วนยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับรูปแบบของบริการด้านข้อมูล จะแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย Messaging,
Entertainment, Information services, Commerce และอื่นๆ โดยรายได้หลักจะมาจากกลุ่ม
Messaging เป็นหลักกว่า 81% โดยเฉพาะบริการส่งข้อความสั้นหรือ SMS ที่ตัวเลขล่าสุดมีการบริการส่งข้อความสูงถึง
60 ล้านข้อความในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 90-100 ข้อความในสิ้นปีนี้
นายสุวิทย์กล่าวว่า ในกลุ่มของ Messaging จะมีความหลาก หลายเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากแนวโน้มในปี 2546 บริการเสริมในรูปแบบของ MMS หรือการส่งข้อมูลแบบมัลติมีเดียจะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น
โดยบริการ SMS เชื่อว่าจะสามารถทำรายได้หลักไปอีกในระยะเพียง 2-3 ปีต่อจากนี้
อย่าง ไรก็ตามบริการในรูปแบบนี้นับเป็น การพัฒนาการจาก SMS ที่สามารถ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็ว
เพราะว่าสังคมผู้ใช้โทรศัพท์ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้อีกแล้ว
ส่วนบริการด้านข้อมูลตัวอื่นๆ นั้น ในส่วนของเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นกลุ่มที่น่าจับตามองว่าอัตราการโตจะมีค่อนข้างมาก
จากต้นปีที่ผ่านมามีสัดส่วนอยู่ไม่ถึง 5% ปัจจุบันเพิ่มสัดส่วนรายได้มาอยู่ที่
15% และน่าที่จะมีตัวเลขเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากการผลักดันของโอเปอเรเตอร์
และบริการในรูปแบบ ใหม่จากผู้พัฒนาเนื้อหาอย่างอีโอทูเดย์ เอ็มเว็บ สยามทูยู
ชินนี่ดอทคอม
"ขณะนี้เราต้องยอมรับว่ารายได้จากบริการเสริมในปัจจุบันกำลังเป็นรายได้สำคัญที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
เพราะหากไม่มีใครทำตัวเลขบริการเสริม อาจจะเป็นศูนย์ก็ได้ แต่เมื่อรายได้ในส่วนเบสิกวอยซ์เริ่มที่จะ
นิ่ง รายได้บริการเสริมน่าที่จะเป็นส่วนเสริมสำคัญที่จะก้าวมาเป็นรายได้หลักอีกส่วนหนึ่งของโอเปอเรเตอร์"
นอกจากนี้ เอไอเอสยังมี นโยบายเปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีรูปแบบบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างตรงใจ
ทางเอไอเอส ได้จัดกิจกรรมเผยแพร่บริการ รวมถึงให้ผู้ใช้บริการได้มีส่วนร่วม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงรูปแบบบริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะมีกลุ่มเป้าหมายแต่ละแบรนด์ที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
และจะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาบริการเสริมของเอไอเอสต่อไป
ล่าสุดเตรียมจัดกิจกรรม Thailand SMS Champion1 by AIS เพื่อเปิดเวทีให้ผู้ใช้โทรศัพท์ใน
เครือข่ายของเอไอเอสทั่วประเทศได้มีโอกาศร่วมประลองและโชว์ความสามารถในการสื่อสารผ่านทาง
SMS หลากหลายรูปแบบ จะส่งผลให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงประโยชน์ของ SMS ที่จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสื่อสารได้อย่างมีสีสัน
และเป็นการเพิ่มยอดจำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้งานที่มาขึ้นในอนาคตด้วย
ด้านการขยายเครือข่ายโทร-ศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอสได้มีการเซ็นสัญญากับทางโนเกียมูลค่ากว่า
1,600 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการใช้งานทั้งด้านเสียงและข้อมูล ซึ่งทำให้เอไอเอสมีความสามารถรองรับปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม
ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการใช้บริการด้านการสื่อสารในรูปแบบ
ต่างๆ ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน เช่น เกม มัลติมีเดียแมสเสจ รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่รวด
เร็วและมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ
"เอไอเอสเชื่อว่าการขยายเครือข่ายครั้งนี้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการได้มากขึ้น
และยังสนับ สนุนให้เอไอเอสมีความแข็งแกร่งในธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
เนื่องจากมีเครือข่ายครอบคลุมสูงสุด สามารถมอบบริการทั้งในรูปแบบของเสียงและข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
และในความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้เอไอเอสสามารถ รองรับปริมาณผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
กว่าเดือนละ 1 ล้านรายได้ทันท่วงที" นายวิเชียร เมฆตระการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานวิศวกรรมของเอไอเอส
กล่าว