|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"กิตติรัตน์" ยันไม่เลือกปฏิบัติ มีหน่วยงานตรวจสอบทำงานโดยระบบ หลังตลาดหลักทรัพย์ฯเชือดอกริเพียวสั่งห้ามเล่นเน็ตเซตเทิลเมนต์ มาร์จิ้น 15 วัน สิ้นสุด 5 ตุลาคม เหตุซื้อขายกระจุกตัวการเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณผิดปกติ ส่งผลราคาหุ้นอกริเพียวโฮลดิ้งร่วงกว่า 5% ด้านดัชนีหุ้นไทยวานนี้แรงขายหุ้นขนาดใหญ่ พลังงาน แบงก์ กดดัชนีปิดลบกว่า 6 จุด แต่วอลุ่มยังหนา 2.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่หุ้นเอเซียพลัสร่วงวานนี้
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แจ้งว่า เนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์บริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)(APURE) และหลักทรัพย์ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (APURE-W1) ในช่วงวันที่ 8-14 กันยายน 2548 มีการเปลี่ยนแปลงของราคาและมูลค่าการซื้อขายรวมเพิ่มขึ้นอย่างมากจากช่วงเวลาก่อนหน้า และมีการซื้อขายอย่างกระจุกตัวในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มีแนวโน้มที่อาจส่งผลกระทบเสียหายต่อสภาพการซื้อขายโดยรวม อันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือปริมาณการซื้อขายในหลักทรัพย์นั้นอย่างรุนแรง หรือ มีการซื้อขายอย่างกระจุกตัวในหลักทรัพย์นั้นเป็นจำนวนมาก
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งห้ามซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading) ของหลักทรัพย์นี้ชั่วคราว เป็นเวลา 15 วันทำการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน - 5 ตุลาคม 2548
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การสั่งห้ามซื้อขายด้วยเน็ตเซตเทิลเมนต์ และมาร์จิ้นในหุ้น APURE และ APURE-W1 เป็นไปตามกฎเกณฑ์การซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติ ซึ่งหน่วยงานตรวจสอบการซื้อขายที่ผิดปกติเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯจะเข้าไปเกี่ยวข้องในเฉพาะคำสั่งห้ามเน็ตเซตเทิลเมนต์และมาร์จิ้น
สำหรับกระบวนการทำงานตรวจสอบจะควบคุมโดยระบบ และจะเข้าไปจับตาหากพบความผิดปกติก็จะนำเรื่องส่งให้คณะอนุกรรมการในการพิจารณาอีกครั้ง
"ผมทำตามหน้าที่ของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ แม้จะรู้ว่าผู้ลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีความผันผวนในลักษณะนี้ จะมีความรู้และเข้าใจความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งที่จริงแล้วผมก็ไม่อยากเข้าไปยุ่งอะไรมาก แต่ต้องทำตามหน้าที่" นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์ กล่าวยืนยันว่า การตรวจสอบพฤติกรรมความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่มีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้
นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวถึงความผิดปกติของหุ้นบริษัทอกริเพียว โฮลดิ้งส์ และวอร์แรนต์ เนื่องจากเห็นว่าปริมาณการซื้อขายและราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงมากและมีเทิร์นโอเวอร์สูงถึง 1,000% ซึ่งขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าเมื่อครบกำหนดจะมีมาตรการใดๆ เข้ามาอีกหรือไม่ เพราะยังต้องดูพฤติกรรมการซื้อขายต่อไป
ด้านภาวะการลงทุนวานนี้(15ก.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 711.20 จุด ลดลง 6.57 จุด หรือ 0.92% มูลค่าซื้อขาย 21,153.40 ล้านบาท จากแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ พลังงาน และปิโตร เคมีตลอด ส่วนหุ้นเก็งกำไรแรงเก็งกำไรลดลงหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯใช้มาตรการห้ามเน็ตเซตเทิลเมนต์ และมาร์จิ้นหุ้นอีสเทิร์นไวร์ และหุ้นอกริเพียวโฮลดิ้ง
ทั้งนี้ หุ้นอกริเพียวโฮลดิ้ง ปิดที่ 3.82 บาท ลดลง 0.22 บาท หรือ 5.45 % ส่วนวอร์แรนต์ของบริษัทอกริเพียว โฮลดิ้ง ราคาปิดที่ 3.24 บาทลดลง 0.26 บาทหรือ 7.43% มูลค่าการซื้อขาย 4,492.98 ล้านบาท
นายเกียรติก้อง เดโช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซิกโก้ เปิดเผยถึง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัว สลับกันทั้งในแดนบวกและแดนลบ เนื่องจากภาวะตลาดมีแรงขายทำกำไรออกมาหลังจากที่ดัชนีได้ปรับเพิ่มขึ้นและไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 720 จุดได้ ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนรายย่อยเทขายหุ้นออกมานอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯในภูมิภาคที่เคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวเช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยอีกด้วย
ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯในวันนี้ (16 ก.ย. 48 ) คาดว่าดัชนีฯมีโอกาสยืนในแดนบวกมากว่าในแดนลบแต่ก็ยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวเนื่องจากภาวะตลาดยังขาดปัจจัยบวกใหม่ที่ชัดเจนเข้ามาสนับสนุนนอกจากนี้อาจจะมีแรงขายทำกำไรในหุ้นที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นมากแล้วโดยเฉพาะหุ้นที่มีประเด็นข่าวเข้ามาสนับสนุนในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในวันพรุ่งนี้ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงอยู่เพราะมีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯต่างประเทศก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามเช่นกันซึ่งปัจจัยทั้งสองอาจเป็นปัจจัยชี้นำภาวะตลาดหุ้นไทยได้
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำนักลงทุนระยะสั้น ถ้ามีกำไรให้ขายออกมาบ้างส่วนนักลงทุนระยะยาวแนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเช่นกลุ่มพลังงาน สื่อสาร เป็นต้น โดยให้แนวรับไว้ที่ 711 จุดและให้แนวต้านไว้ที่ 720 จุด
ส่วนหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ได้ปรับตัวลงในช่วงเช้าหลังมีกระแสข่าวลือว่า นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ลาออกจากบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม นายก้องเกีรยติ ได้ออกมาชี้แจงยืนยันว่าข่าวที่ออกมาไม่เป็นความจริง ซึ่งยังมีภารกิจที่จะต้องทำให้สำเร็จอีกมาก หลังจากที่ได้นำบล.แอสเซทพลัสเข้าควบรวมกับบล.เอบีเอ็น แอมโร เอเชียแล้ว
ทั้งนี้ราคาหุ้นบล.เอเซียพลัส เปิดตลาดที่ 6.15 บาท ราคาปรับลดลงไปต่ำสุดที่ 6 บาท และปิดตลาดที่ 6.05 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 1.63% มูลค่าซื้อขาย 323.6 ล้านบาท
|
|
 |
|
|