|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บัตรกรุงไทย สวนกระแสดอกเบี้ยขาขึ้น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเหลือต่ำสุด 22% ในโครงการรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินอื่น อ้างช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ขณะที่แบงก์กรุงศรีอยุธยา ประกาศขึ้นดอกเบี้ยกู้-ฝาก 0.25-0.50% ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง 3 ประเภทสูงที่สุดในระบบแบงก์ขนาดใหญ่
นางสาวสุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสาย Fixed Loan Business บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ktc กล่าวถึง ความคืบหน้าโครงการรับรีไฟแนนซ์ (Refinance) สินเชื่อส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินอื่น ว่า ช่วงที่ผ่านมามีประชาชนสนใจเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง และแบ่งเบาภาระการปล่อยชำระ ดั้งนั้นบริษัทจึงได้ปรับลดดอกเบี้ยจากเดิมที่คิดในอัตรา 28% และปรับค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินใหม่ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในช่วงที่ค่าครองชีพสูงขึ้น
สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของโครงการ จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง 30% ถึง 50% ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน โดยบริษัทจะคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 27% สำหรับกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 7,500 - 15,000 บาท จากเดิม 28% ต่อปี ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,001 บาทขึ้นไปจะคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 22% ต่อปี
ด้านคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการรีไฟแนนซ์นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีประวัติการชำระเงินดี ทั้งพนังงานประจำและมีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีการดำเนินงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป รวมทั้งลูกค้ายังสามารถโอนยอดค้างชำระจากบัญชีเดิมของสถาบันการเงินอื่นได้สูงสุดถึง 3 บัญชี ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเงินสด หรือวงเงินฉุกเฉินพร้อมใช้ ซึ่งวงเงินในการโอนขั้นต่ำ 10,000 บาทหรือสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
"สินเชื่ออเนกประสงค์ดังกล่าว ลูกค้าจะได้รับวงเงินเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายแรกเข้า รวมทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่ำแบบลดต้นลดดอก และยังเลือกการผ่อนชำระได้ทั้งแบบชำระขั้นต่ำเพียง 5% หรือแบบมีกำหนดระยะเวลาสูงสุด 60 เดือน"
ดอกเบี้ยกู้กรุงศรีฯพุ่งลิ่ว
การปรับกลยุทธ์ด้วยการลดดอกเบี้ยของเคทีซีครั้งนี้ นับเป็นการสวนกระแสอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณด้วยการประกาศขึ้นดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 14 วัน หรืออาร์/พี ถึง 0.50% ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ทำให้ดอกเบี้ยอาร์/พี อยู่ที่ระดับ 3.25% และส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งทยอยประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้ไปแล้ว
ล่าสุดธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากประจำ มีผลวันนี้ (16 ก.ย.) ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (MLR) ปรับจาก 6.25% เป็น 6.50% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับจาก 6.50% เป็น 6.75% และคงอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย (MRR) ไว้ที่ 6.75%
"การปรับดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งนี้ ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับประมาณ 6.00% 6.25% และ 6.50% ตามลำดับ"
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำหรับวงเงินฝากต่ำกว่า 3 ล้านบาท ฝากประจำ 3 เดือน ปรับจาก 1.00% เป็น 1.50% ประจำ 6 เดือน ปรับจาก 1.25% เป็น 1.75% ประจำ 12 เดือน ปรับจาก 1.50% เป็น 2.00% และเงินฝากประจำ 24 เดือน ปรับจาก 2.00% เป็น 2.50%
ตั้งเป้าธนาคารหมู่บ้านปีนี้ 101 แห่ง
นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารได้พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 0.25 - 0.50% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประมาณ 0.50% เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของทางการที่ต้องการให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เพื่อส่งเสริมการออมภาคประชาชน โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วานนี้ (15 ก.ย.)
"สาเหตุที่ธนาคารออมสินปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เป็นการปรับตามธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นที่ได้ทยอยปรับดอกเบี้ยไปบ้างแล้ว และธนาคารต้องการที่จะรักษาฐานลูกค้าเดิมของธนาคารเอาไว้ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น"
นายกรพจน์ กล่าวเพิ่มเติมถึงนโยบายการสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งพัฒนาเป็นธนาคารหมู่บ้าน ว่า ในปี 2548 นี้ ธนาคารออมสินมีเป้าหมายจะพัฒนาให้เป็นธนาคารหมู่บ้านจำนวน 101 แห่ง และจะเป็นอีก 1,000 แห่งในปี 2549 โดยให้ธนาคารหมู่บ้านทั้ง 101 แห่งเป็นแบบอย่างให้แก่กองทุนหมู่บ้านต่าง ๆ ได้มาศึกษาดูงาน
|
|
|
|
|