แบงก์กสิกรไทย จับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีและรายย่อยเป็นหลักคาดปีหน้าสินเชื่อเอสเอ็มอีโต
5-6% จากปีนี้ที่โต 4% ระบุยังมีช่องทางขยายอีกมากเพราะธุรกิจของไทย 95%
เป็นเอสเอ็มอีและรัฐบาลสนับสนุน ด้านสินเชื่อรายย่อยจะเน้นบัตรเครดิตและเดบิต
ทวงความเป็น หนึ่งปีหน้าตั้งเป้าเพิ่มบัตรเครดิตเป็น 4 แสนใบมาเกตแชร์ 18%
จากเดิมมาร์เก็ตแชร์ 13% บัตรเดบิตเพิ่มอีก 3 แสนใบ
นายเดวิท เฮนเดร็ก รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า
แผนการขยายสินเชื่อรายย่อยใน ปีหน้า ธนาคารจะมุ่งเน้นไปที่สินเชื่อ ประเภทไม่มีหลักประกันโดยเฉพาะบัตรเครดิต
และบัตรเดบิตซึ่งถือเป็นแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง
ธนาคารตั้งเป้าขยายบัตรเครดิตในปีหน้าประมาณ 4 แสนบัตรจากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
3.5 แสนบัตร และบัตรเดบิตในปีหน้าขยายอีก 3 แสนบัตรจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ
3 แสนบัตร
ทั้งนี้ ธนาคารจะใช้วิธีให้ลูกค้าเงินฝากหันมาใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ทั้งบัตรเครดิต,
บัตรเดบิต และสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยคาดว่าภายใน 2-3 ปีจะมีส่วนแบ่งการตลาดในส่วนของบัตรเครดิตประมาณ
18% จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 13% หรืออยู่ในอันดับ 3
นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนที่จะปรับลดฐานเงินเดือนผู้ขอมีบัตรเครดิตต่ำกว่า
1 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ต้องให้ข้อมูลของศูนย์บัตรเครดิต หรือเครดิตบูโร
มีความน่าเชื่อถือรวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารมีระบบที่ดีมากยิ่งขึ้น
"ภายในปีหน้าการขยายสินเชื่อรายย่อยในส่วนของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ซึ่งทุกธนาคารจะมุ่งเน้นการขยายสินเชื่อบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เพราะจะทำให้ธนาคารมีรายได้ทั้งจากดอกเบี้ยและรายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น"
ขณะนี้ มีการปล่อยสินเชื่อคงค้างทั้งหมดประมาณ 4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี) โดยในปีนี้ธนาคารมีเป้าหมายของการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้ประมาณ
4% มั่นใจว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมายแน่นอน
เพราะขณะนี้ธนาคารสามารถ ปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีไปได้แล้ว กว่า 3% สำหรับในปีหน้า
ธนาคารจะคงเน้นให้ความสำคัญกับสินเชื่อ เอสเอ็มอีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อ
ดังกล่าวได้ขยายตัวในปีหน้า 5-6% สาเหตุที่ธนาคารให้ความสำคัญกับสินเชื่อเอสเอ็มอี
เนื่องจากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจหลักของประเทศ โดยคาดว่าสัดส่วน 95%
ของธุรกิจในประเทศไทยเป็นธุรกิจ ประเภทเอสเอ็มอี ดังนั้นเชื่อว่า จะมีความต้องการสินเชื่ออีกจำนวน
มาก
นอกจากนี้ ธุรกิจดังกล่าว ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย สำหรับสินเชื่อรายย่อยของธนาคารนั้น
คิดเป็นยอดคงค้างในขณะนี้ประมาณ 1.7 แสนล้านบาทจากสินเชื่อทั้งหมด 4 แสนล้าน
โดย ธนาคารจะมุ่งเน้นสินเชื่อประเภทบัตรเครดิตบัตรเดบิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคหรือสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งในปีหน้าธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนบัตรเดบิตอีกประมาณ
3 แสนใบ จากเดิมที่มีฐานบัตรอยู่แล้วประมาณ 1 แสนใบ
สำหรับบัตรเครดิตนั้น ธนา-คารมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนบัตรอีกประมาณ 3.5
แสนใบใน ปีหน้า จากเดิมที่มีฐานบัตรเครดิตประมาณ 4 แสนใบ ในปีหน้าธนาคารจะเริ่มกลับเข้ามาบุกตลาดบัตรเครดิตอีกครั้งหนึ่ง
จากเดิม ที่เคยเป็นหนึ่งทางด้านบัตรเครดิตและขณะนี้ธนาคารมีมาส่วนแบ่งตลาดของบัตรเครดิตประมาณ
13% หรือคิดเป็นอันดับ 3-4 ของระบบ
ชี้ผลดำเนินงาน Q3 ดีกว่าปีก่อนสินเชื่อเพิ่ม
นายธงชัย เจริญสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย
(TFB) กล่าวว่า ผลประกอบการของธนาคารในไตรมาส 3 คาดว่าจะดีกว่าไตรมาส เดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากการขยายสินเชื่อในช่วง 8 เดือนเริ่มเป็นบวก ประกอบกับหนี้เสียของธนาคาร
(เอ็นพีแอล) ลดลง
"ผลประกอบการในไตรมาส 3 ที่จะออกมาน่าจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน
เป็นผลจากการที่ธนาคารมีการขยายสินเชื่อที่เป็นบวก ซึ่งกิดจากมีพนักงานขายตรงที่เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
รวมทั้งอัตราการเพิ่มของ เอ็นพีแอลก็ลดลงด้วย"
ดังนั้น คาดว่าในปีหน้าจะสามารถเพิ่มมาร์เกตแชร์เป็น 18% ได้แน่นอนโดยส่วนใหญ่ธนาคารเน้นหาลูกค้าจากลูกค้าเงินฝากของ
ธนาคารที่มีอยู่จำนวนกว่า 5 ล้านบัญชี และจะใช้ลักษณะของการ ขายตรง ให้ทั้งพนักงานและเซลส์จากบริษัทอื่นๆ
ส่วนโครงการต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนบัตรของธนาคารจะมีอย่างต่อเนื่อง
และในปีหน้าธนาคารจะมีการทบทวนถึงเงื่อนไขของการทำบัตรเครดิตอีกครั้งหนึ่งอาจจะมีการปรับเงื่อนไขของเงินเดือน
ขั้นต่ำจากเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบันไม่ ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ลดลงเป็น
1 หมื่นบาท หรือจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องขอพิจารณาดูเครดิตบูโร ก่อนว่าจะมีระบบป้องกันความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนรวมทั้งระบบป้องกันความเสี่ยง
ภายในของธนาคารด้วย