|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ทริสยกย่องธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้นำด้านการกำกับดูแลกิจการที่สูงสุดในไทย ให้คะแนนสูงถึง 8.89 จากคะแนนเต็มสิบ เพิ่มจากปีก่อนที่ได้ 8.80 คะแนน ระบุสะท้อนให้เห็นเป็นองค์กรที่เข้มข้นเรื่อง ธรรมาภิบาล
บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK สำหรับปี 2548 โดยให้อันดับคะแนนของธนาคารที่ 8.89 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก เพิ่มจากปี 2547 ที่ได้ 8.80 นับเป็นองค์กรที่ได้ระดับคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการที่สูงที่สุดในประเทศไทยที่ทริสเป็นผู้จัดอันดับให้
สำหรับการพิจารณาให้คะแนนเพื่อจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของทริสแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสิทธิของผู้ถือหุ้น (จากน้ำหนักคะแนน 20%) ธนาคารกสิกรไทยได้ 8.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ด้านองค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการและคณะผู้บริหาร (40%) ได้ 8.39 คะแนน ด้านการเปิดเผยข้อมูล (25%) ได้ 9.43 คะแนน และในด้านวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการ (15%) ได้ 9.25 คะแนน
ทั้งนี้ ในด้านสิทธิของผู้ถือหุ้น โครงสร้างการถือหุ้นระหว่างธนาคาร บริษัทย่อย และบริษัทร่วม มีความชัดเจน ไม่มีการถือหุ้นไขว้กัน (Cross Holding) แต่มีการถือหุ้นในลักษณะที่มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน (Common Share) กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นมูลค่าการถือหุ้นที่ไม่มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับขนาดของกิจการและไม่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ
ประกอบกับธนาคารกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าการอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยพบว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ จริง นอกจากนี้ธนาคารยังมีกลไกเพื่อป้องกันและตรวจสอบการใช้ข้อมูลภายในและรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์อีกด้วย
ด้านองค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหาร มีองค์ประกอบที่ดี มีจำนวนที่พอเหมาะกับขนาดของธนาคาร มีความหลากหลายและล้วนเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน คณะกรรมการมีการถ่วงดุลเป็นอย่างดี เนื่องจากมีกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร และกรรมการอิสระเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ บทบาทและอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการแยกจากกันอย่างชัดเจน
ส่วนด้านการเปิดเผยข้อมูล ธนาคารยังคงรักษาคุณภาพของบทรายงานและวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (MD&A) ไว้ได้อย่างดี มีรายละเอียดค่อนข้างมากแต่ก็จัดหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน จึงเข้าใจง่าย นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน (Non-Financial) ธนาคารก็มีการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน
ขณะที่ด้านวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการ ธนาคารมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยเป็นจำนวนมาก และไม่ปรากฏว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสิทธิในการออกเสียงมากจนสามารถควบคุมการบริหารงานของธนาคารได้ เป็นผลให้บรรยากาศการกำกับดูแลกิจการในระดับผู้ถือหุ้นอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนบรรยากาศภายในองค์กรนั้น ทริสพบว่าส่วนใหญ่พนักงานและผู้บริหารเข้าใจหลักการการกำกับดูแลกิจการและปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริหารมีความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติในการซื้อขายหลักทรัพย์ของธนาคารและลูกค้าของธนาคาร
"จากคะแนนที่ธนาคารได้รับสะท้อนให้เห็นว่าธนาคารสามารถรักษาวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีภายในธนาคารได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ปรับปรุงและพัฒนาการปฎิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงกลไกการติดตาม ตรวจสอบ ถ่วงดุลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและการอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งพนักงานและผู้บริหารก็มีความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการต่างๆ เป็นอย่างดี"
|
|
 |
|
|